Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Introverted investor
•
ติดตาม
30 ม.ค. 2021 เวลา 06:08 • หุ้น & เศรษฐกิจ
วิธีการเลือกหุ้นสำหรับวัยทำงานและวัยเกษียณ โดย สถาพร งามเรืองพงศ์
สถาพร งามเรืองพงศ์ หรือ "เซียนฮง" ที่นักลงทุนหุ้นชาวไทยรู้จักกันดี ปัจจุบันอายุ 35 ปี และเป็นเจ้าของพอร์ตหุ้นส่วนตัวที่มีมูลค่ากว่า 6,000 ล้านบาท!!! คุณฮงเป็นนักลงทุนในหุ้นไทยที่เหล่านักลงทุนวีไอและนักลงทุนสายเทคนิคต่างให้การยอมรับในความสามารถ ทั้งในด้านวิธีคิดวิเคราะห์เชิงคุณภาพและเชิงปริมาณเพื่อใช้สำหรับการซื้อ-ขายหุ้นอย่างมีหลักการ ปัจจุบันคุณฮงไม่ค่อยออกสื่อเท่าไรนัก เน้นการใช้ชีวิตโดยให้เวลาส่วนใหญ่กับการพัฒนาตนเองในด้านต่างๆที่นอกเหนือไปจากการลงทุน แต่แน่นอนว่าหากคุณผู้อ่านยังพอจะติดตามข่าวคราววงการตลาดหุ้นอยู่บ้าง ก็จะทราบว่าเขาไม่เคยหายไปไหน ยังคงมีการเคลื่อนไหวอยู่เนืองๆ การเคลื่อนไหวแต่ละครั้งก็จะมีประเด็นที่ทำให้นักลงทุนไทยได้คิดวิเคราะห์คาดการณ์กันไปต่างๆนาๆเพื่อลับคมทางปัญญา
1
cr. Money Chat Thailand
เกียรติศัพท์ความหมกมุ่นหลงใหลอย่างเอาจริงเอาจังต่อการลงทุนในตลาดหุ้นของคุณฮงคงไม่มีใครกล้ามาทัดเทียม แน่นอนว่าความหลงใหลเหล่านั้นได้ย้อนกลับมาออกดอกผลสร้างผลตอบแทนย้อนกลับสู่ตัวคุณฮงเองในปัจจุบันจนมีอิสรภาพทางการเงินอย่างแท้จริง และอิสรภาพทางการเงินนั้นยังสามารถเผื่อแผ่ขยายอาณาเขตครอบคลุมไปถึงครอบครัวของเขาได้ระดับที่ "เหลือกินเหลือใช้" อยู่อย่างสบายๆมีอิสระไปตลอดชีวิตโดยไม่ต้องกังวลเฉกเช่นมนุษย์เงินเดือนทั่วไป (พอร์ตระดับนี้คงสามารถเผื่อแผ่ส่งต่อไปสู่ทายาทรุ่นหลังได้อีกนานล่ะครับ)
2
คงยากนักที่ความหมกมุ่นหลงใหลเรื่องการลงทุนในระดับสูงปรี๊ดแบบคุณฮงจะถูกผ่องถ่ายต่อไปยังเหล่ามนุษย์เงินเดือนหรือเหล่านักลงทุนมือใหม่อย่างเราๆ ด้วยข้อจำกัดต่างๆมากมายทั้งเรื่องของเวลา ประสบการณ์ และความรู้ แต่มีอยู่ครั้งหนึ่งที่เขาได้เคยให้คำแนะนำเรื่องการลงทุนหุ้นสำหรับ "คนทั่วไป" หรือมือใหม่เอาไว้อย่างน่าสนใจ
พอร์ตหุ้น "เซียนฮง" เมื่อต้นปี ค.ศ.2020 cr.ไชยรัตน์ ศรีสุข บรรณาธิการหุ้นและการลงทุน Wealthythai.com
ผู้เขียนคิดว่าคำแนะนำดังกล่าวนี้ค่อนข้างเห็นผลและปฏิบัติตามได้จริง (หากมีวินัย) ซึ่งอย่างน้อยที่สุดมันช่วยให้เรามีความมั่นคงในด้านการเงินมากขึ้นกว่าการมุ่งมั่นทำงานประจำเพื่อสร้างรายได้เพียงทางเดียว และแน่นอนว่าเมื่อเราปฏิบัติอย่างต่อเนื่องจนมีความมั่นคงแล้วนั้น การที่จะต่อยอดจากความมั่นคงไปสู่อิสรภาพอย่างแท้จริงก็คงไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้หรือไกลเกินฝันแล้วล่ะ จากประเด็นเรื่องการลงทุนในหุ้นสำหรับวัยรุ่นหรือวัยทำงานและวัยเกษียณอายุนั้นก็มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญดังนี้
1
วิธีการเลือกหุ้นสำหรับวัยทำงานที่อายุยังน้อย รับความเสี่ยงได้สูง และมีเวลาติดตามเรื่องการลงทุนมาก ควรเลือกลงทุนในบริษัทที่มีแนวโน้มเติบโตเร็ว
1
1. เลือกบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่กำลังเป็นขาขึ้น เติบโตอย่างรวดเร็ว คุณต้องติดตามข่าวเศรษฐกิจและตรวจสอบกระแสของพฤติกรรมผู้บริโภคอยู่เสมอว่ามีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
2. อุตสาหกรรมดังกล่าวนั้นจะต้องผลิตสินค้าหรือบริการที่มีความต้องการสูง และมีแนวโน้มที่ความต้องการนั้นจะสูงขึ้นไปอีกในอนาคต คุณควรเลือกอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการบริโภคของทั้งตลาดเยอะๆ จากนั้นก็ไปเลือกบริษัทที่มีส่วนแบ่งทางการตลาดอยู่ในอันดับต้นๆ
1
3. หากเลือกบริษัทที่เป็นผู้ผลิตสินค้า ควรเลือกบริษัทที่ยังมีกำลังการผลิตเหลืออยู่ ยังใช้ไม่เต็ม 100% เพราะจะพร้อมเติบโตอย่างรวดเร็วมากกว่า
2
4. เลือกบริษัทเติบโตที่ให้เงินปันผลสูง โดยวัดจากอัตราส่วนที่เรียกว่า "Payout Ratio" เพื่อลดความผันผวนอย่างรุนแรงด้านราคาหุ้น
5. เลือกบริษัทที่เพิ่งทำจุดสูงสุดใหม่ของกำไรสุทธิ และต้องประเมินต่อไปด้วยว่าไตรมาสที่เหลือในปีนั้นๆบริษัทควรสามารถรักษาระดับของกำไรเช่นนี้ต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง
6. เลือกบริษัทที่จ่ายเงินปันผลให้เรามากกว่า 6-7% ต่อปี เมื่อเทียบกับราคาหุ้น
3
7. บริษัทที่เราเลือกลงทุนควรมีค่า P/E ที่ต่ำกว่าค่า P/E ของกลุ่มอุตสาหกรรม
cr. Money Chat Thailand
วิธีการเลือกหุ้นสำหรับวัยเกษียณอายุ วัยชรา และผู้ที่สามารถรับความเสี่ยงได้ต่ำ
1. ลงทุนในบริษัทที่มีรายได้ค่อนข้างมั่นคงแน่นอน ไม่ผันผวน
เช่นบริษัทที่ประกอบกิจการเกี่ยวกับการค้าปลีก, โรงพยาบาล, โรงไฟฟ้า, ห้างสรรพสินค้าที่ให่เช่าพื้นที่, เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่
2. เลือกบริษัทที่จ่ายเงินปันผลให้เรามากกว่า 6-7% ต่อปี เมื่อเทียบกับราคาหุ้น
3. บริษัทมีส่วนแบ่งทางการตลาดอยู่ในอันดับต้นๆของกลุ่มอุตสาหกรรม
4. บริษัทประกอบธุรกิจที่มีความเสี่ยงเรื่องการแข่งขันด้านราคาสินค้าน้อยๆ
5. บริษัทมีกำไรสะสมตุนอยู่เยอะ
6. หากเป็นบริษัทที่ประกอบกิจการซึ่งมีการขอใบอนุญาต หรือ มีสัญญาโครงการต่างๆซึ่งมีนัยสำคัญที่จะกระทบต่อรายได่หลักของบริษัท คุณต้องประเมินด้วยว่าสัญญานั้นมั่นคงแค่ไหน และมีระยะเวลาเหลืออีกเท่าใด
นอกจากนี้คุณฮงยังเสริมอีกด้วยว่าเรายังมีสิ่งที่ต้องติดตามตรวจสอบเพิ่มเติมอีก ซึ่งสำคัญไม่แพ้กัน เพื่อสร้างกระบวนการลงทุนอย่างมีความมั่นคง และจำกัดความเสี่ยงให้เหลือน้อยที่สุด
1. คุณต้องขยันติดตามข่าวเศรษฐกิจบ้างว่าแนวโน้มความต้องการสินค้าต่างๆในปัจจุบันเป็นอย่างไร คนส่วนใหญ่คิดอะไรอยู่ อนาคตพวกเขาต้องการอะไร
2. ตรวจสอบความสามารถและความซื่อสัตย์จริงใจของผู้บริหารบริษัทนั้นๆ เราอาจตรวจสอบได้บางส่วนจากการสืบค้นหาข่าวการให้สัมภาษณ์ของผู้บริหารตามสื่อต่างๆย้อนหลังไปหลายๆปี การติดตามชมงานผู้บริหารพบปะผู้ถือหุ้นที่จัดโดยตลาดหลักทรัพย์ (Opportunity Day) เป็นประจำทุกไตรมาส และฟังย้อนหลังไปหลายๆไตรมาสยิ่งดี ท้ายที่สุดคือการนำชื่อ-นามสกุลของผู้บริหารไปสืบค้นทางช่องทางออนไลน์ว่าเคยมีข่าวคราวในทางไม่ดีหรือไม่ เช่น การฉ้อโกง การปั่นหุ้น
3. ประเมินมูลค่าหุ้นเพื่อหามูลค่าที่แท้จริง (Intrinsic Value) ใหม่ทุกไตรมาสเมื่อบริษัทมีการประกาศงบการเงินออกมา
4. ควรวิเคราะห์คาดการณ์งบการเงินที่จะออกมาในอีก 2-3 ไตรมาสข้างหน้า มากกว่าการหมกมุ่นอยู่กับงบการเงินไตรมาสปัจจุบัน
5. ควรขายหุ้นในช่วงเวลาที่ตลาดหุ้นพุ่งขึ้นสูงอย่างรวดเร็วด้วยแรงเก็งกำไรเพราะความโลภ ช่วงเวลาดังกล่าวนั้นราคาหุ้นส่วนใหญ่จะสูงเกินกว่ามูลค่าพื้นฐานไปมาก
6. นักลงทุนควรแยกแยะให้ออกว่าราคาหุ้นที่พุ่งขึ้นสูงนั้นเป็นเพราะพื้นฐานกิจการที่ดี หรือเพราะแรงเก็งกำไรแบบน่ามืดตามัว
7. หุ้นแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมมีวิธีการวิเคราะห์ที่แตกต่างกัน หากเป็นมือใหม่เพิ่งเริ่มเข้าสู่ตลาด ก็ควรเริ่มวิเคราะห์จากบริษัทในอุตสาหกรรมที่ไม่ซับซ้อนจนเกินไป เวลาเจอคำศัพท์ที่ยากจนเกินจะเข้าใจต้องจดบันทึกไว้เพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติม
2
8. ควรซื้อหุ้นถัวเฉลี่ยในขาขึ้น!!!
ขอบคุณ "เซียนฮง" สำหรับข้อคิดดีๆที่อ่านแล้วเข้าใจได้อย่างง่ายดาย เหลือแค่เพียงเหล่านักลงทุนมือใหม่ลงมือปฏิบัติอย่างมีวินัยเท่านั้น แล้วพบกันใหม่ ขอให้มีความสุขกับการลงทุนนะครับ :)
อ้างอิง
หนังสือ "รวยได้ด้วยหุ้น โดยเซียนหุ้นอัจฉริยะ"
สำนักพิมพ์ : I AM THE BEST, 2019
ผู้แต่ง : สถาพร งามเรืองพงศ์
หนังสือ "รวยหุ้นได้จริง โดยเซียนหุ้นอัจฉริยะ"
สำนักพิมพ์ : I AM THE BEST, 2020
ผู้แต่ง : สถาพร งามเรืองพงศ์
60 บันทึก
29
4
39
60
29
4
39
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย