1. กระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน ทําให้เกิดโรคกระดูกอ่อนในเด็ก เรียกว่า Rickets และในผู้ใหญ่เรียกว่า โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) มีปัญหาเกี่ยวกับการดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกาย การศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุที่เป็นโรคกระดูกพรุนมีระดับวิตามินดี ต่ำกว่าผู้ที่ไม่เป็นโรคกระดูกพรุน
2. คนที่ขาดวิตามินดีมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มากกว่าคนทั่วไป และการเสริมวิตามินดีช่วยให้ร่างกายเผาผลาญน้ำตาล (Glucose Metabolism) ได้ดีขึ้นอย่างมีนัยสําคัญ
3. หญิงตั้งครรภ์เกิดภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์และมีผลต่อการเจริญเติบโตของทารก เนื่องจากขาดกรดอะมิโนขณะตั้งครรภ์ ทําให้เกิดการแท้งแบบธรรมชาติ และพบว่าการที่วิตามินดีต่ำจะทําให้เกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ (Preeclampsia)
4. โรคหัวใจและความดันโลหิต ในกลุ่มผู้ที่มีความดันโลหิตสูง ผู้ที่มีระดับวิตามินดีต่ำกว่า15 นาโนกรัม/มิลลิลิตรจะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจเป็น 2 เท่า
5. การเจริญเติบโตในเด็ก การขาดวิตามินดีจะส่งให้รูปร่างไม่สมประกอบ น้ำหนักลด ฟันผุเติบโตช้า กระดูกสันหลังโก่ง ข้อมือ เข่า และกระดูกข้อเท้าโต ความต้านทานต่อโรคต่างๆ ลดน้อยลง
6. โรคมะเร็ง วิตามินดีมีบทบาทในการควบคุมการเจริญของเซลล์ พบว่าระดับวิตามินดีที่สัมพันธ์กับการเป็นมะเร็งลําไส้ใหญ่ (Colorectal carcinoma), มะเร็ง เต้านม (Breast cancer), มะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostate cancer) และมะเร็งรังไข่ (Ovarian cancer)
7. การขาดวิตามินดีมีความสัมพันธ์กับความรุนแรงของโรคโควิด-19 รวมถึงการเพิ่มการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และอัตราการเสียชีวิต