1 ก.พ. 2021 เวลา 05:41 • สุขภาพ
วิตามิน A กับบทบาทในระบบภูมิคุ้มกัน
…........................................................
4
เป็นอีกวิตามินที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างภูมิต้านทานให้แก่ร่างกาย
โดยบทบาทสำคัญของวิตามิน A ได้แก่
วิตามิน A ทำให้เซลล์แข็งแรง ยากต่อการเข้ามาทำลายของเชื้อโรค โดย เพิ่มประสิทธิภาพของผนังเซลล์ให้แข็งแรง ทำให้เชื้อโรคเจาะเข้าไปในเซลล์ยาก
วิตามิน A ทำหน้าที่เสริมสร้างความแข็งแรงให้เม็ดเลือดขาว ให้เติบโตแข็งแรงเต็มที่พร้อมที่จะไปกำจัดเชื้อโรค กระบวนการสร้างเม็ดเลือดขาวจะเกิดที่ไขกระดูก หลังจากนั้นทารกเม็ดเลือดขาวจะถูกนำสั่งไปเลี้ยงดูให้เติบโตแข็งแรงที่ต่อม ไทมัส ซึ่งเปรียบเสมือนศูนย์ฝึกฝนทารกน้อยของเม็ดเลือดขาวให้เติบโตอย่างแข็งแรงและสมบูรณ์ โดยวิตามิน A มีบทบาทสำคัญในการควบคุมการทำงานในต่อไทมัสนี้มากๆ
วิตามิน A จะเสริมความแข็งแรงของภูมิต้านทาน ป้องกันไวรัส ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายเราจะแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนแรกคือ เม็ดเลือดขาว จะมีบทบาทในการทำลายเชื้อโรคเกือบทุกชนิด ในขณะที่อีกส่วนภูมิต้านทาน หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งคือ แอนติบอดี้ หรือภูมิคุ้มกันไวรัส เกิดจากการที่เมื่อมีไวรัสเข้ามาในร่างกาย เชลล์เม็ดเลือดขาวชนิด B Cell มีหน้าที่จดจำคัดลอกสำเนาเจ้าไวรัสวายร้ายแล้วไปสร้างภูมิคุ้มกันไวรัสวายร้ายชนิดนั้นออกมาในรูปแบบของ แอนติบอดี้ เมื่อมีไวรัสชนิดนี้เข้ามาอีก เจ้าแอนติบอดี้ตัวนี้จะทำลายไวรัสได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งมันคือหลักการของการฉีดวัคซีน วัคซีนที่ฉีดเข้าร่างกายไปคือ ส่วนของไวรัส เพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันมาต่อต้านไวรัสชนิดนั้น ภูมิคุ้มกันนั้นเราเรียกว่า แอนติบอดี้ วิตามิน A มีบทบาทสำคัญในการสร้างภูมิต้านทานไวรัสผ่านการสร้าง B Cell อย่างมีประสิทธิภาพ
เราจะเห็นว่า วิตามิน A มีบทบาทในทั้งการสร้างภูมิคุ้นกันทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นระบบเม็ดเลือดขาว และระบบของภูมิต้านทาน
ร่างกายควรได้รับวิตามิน A ในผู้ชายวันละ 700 ไมโครกรัม ผู้หญิงวันละ 600 ไมโครกรัม ถ้าตั้งครรภ์ด้วยควรจะไ้ดวันละ 800 ไมโครกรัม ส่วนผู้หญิงกำลังให้นมลูก ควรได้เยอะหน่อยวันละ 975 ไมโครกรัม
แหล่งวิตามิน A ที่มีมากที่สุดคือ
ตับ โดยตับ 30 กรัม (ราว 1 ออนซ์)​ จะให้วิตามิน A 2,200 ไมโครกรัม
รองลงมา ก็ มันเทศ​ 120 กรัม จะให้วิตามิน A 1,400 ไมโครกรัม
นม จะให้วิตามิน A 100-300 ไมโครกรัม
ผลไม้สีเหลือง ( 1 serve ของผลไม้เท่ากับ 150 กรัม) เช่น
1. มะม่วง (1,000 ไมโครกรัมต่อ 100 กรัม)
2.มะละกอ (1,000 ไมโครกรัมต่อ 100 กรัม)
3.แครอท (450 ไมโครกรัมต่อ 75 กรัม)
4. แคนตาลูป (135 ไมโครกรัม ต่อ 150 กรัม)
โฆษณา