5 ก.พ. 2021 เวลา 00:13 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ประวัติของหัวไชเท้า
หัวไชเท้าหรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Daikon เป็นพืชชนิดเดียวกันกับแรดิช (Radish) นั่นคือ ชนิดพันธุ์ [Raphanus raphanistrum subsp. sativus] คล้ายกันกับแคร์รอทคือ รากของพืชชนิดนี้สะสมอาหารและขยายตัวขึ้นมา ทำให้สามารถนำมากินเป็นอาหารได้
คำว่าไชเท้าในภาษาไทย มาจากภาษาจีนฮกเกี้ยนหรือแต้จิ๋วที่เรียกพืชชนิดนี้ว่า chai tow หรือ chai tau (菜头)
(ภาพดัดแปลงมาจาก By Takuma Kimura from okayama, Japan - PhoTones Works #4270, CC BY-SA 2.0, https://commons.wikimedia.org/w/index.php?curid=42539454)
หัวไชเท้าหรือ แรดิช (Radish) มีการกินเป็นอาหารอยู่ทั่วทั้งโลก แต่ต่างจากพืชประเภทอื่นๆ คือ เราไม่สามารถพบร่องรอยของหัวไชเท้าที่เป็นหลักฐานทางโบราณคดีคดีได้เลย ทำให้เราไม่แน่ใจว่าการนำหัวไชเท้ามาใช้ประโยชน์นั้นเกิดขึ้นที่ใด แต่มีความเป็นไปได้ว่าหัวไชเท้านั้นน่าจะมีจุดกำเนิดในแถบเอเชีย และแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของเอเชียเช่น ในประเทศจีน อินเดีย และเอเชียกลาง หัวไชเท้าเริ่มถูกบันทึกในเอกสารต่างๆ ในช่วงเวลาประมาณ 2,300 ปีก่อน และในช่วงประมาณ 2,000 ปีก่อน มีการพบการบันทึกถึง Radish ในเอกสารของกรีกและโรมัน
หัวแรดิชสีต่างๆ (ที่มา By Self, en:User:Jengod - Own work, CC BY-SA 3.0, https://commons.wikimedia.org/w/index.php?curid=6292330)
หัวแรดิชสีขาว แดงและดำ (ที่มา By Le grand Cricri - Own work, CC BY-SA 3.0, https://commons.wikimedia.org/w/index.php?curid=22439514)
ในขณะที่หัวไชเท้าและแรดิชสามารถกินได้ทั้งแบบดิบและสุก ในการกินแบบดิบอาจจะมีรสชาติเผ็ดคล้ายพริกไทย เนื่องจากในรากของหัวไชเท้ามี สาร Glucosinolates และเอนไซม์ Myrosinase โดยสาร Glucosinolates จะถูกเก็บไว้ในถุงในเซลล์ที่เรียกว่า Vaccuole และเมื่อถูกกัดหรือ เคี้ยวจะทำให้แตกออกมาเจอกับเอนไซม์ที่ชื่อว่า Myrosinase และเปลี่ยนเป็นสาร allyl isothiocyanates ที่มีรสเผ็ดฉุน เหมือนกับที่พบในพืชชนิดอื่นๆ ที่มีความใกล้เคียงกับหัวไชเท้า ได้แก่ มัสตาร์ด วาซาบิ และ Horse radish
โดยหัวไชเท้าเป็นพืชในวงศ์ผักกาด หรือ Family Brassicaceae โดยญาติสนิทของหัวไชเท้าที่พบแพร่กระจายในธรรมชาติคือ แรดิชป่า (Wild radish) [Raphanus raphanistrum] ซึ่งพบแพร่กระจายในธรรมชาติในยุโรป เอเชียตะวันตก และแอฟริกาเหนือ แรดิชป่าจะเป็นพืชอายุสั้นประมาณ 1-2 ปี และมีรากคล้ายกับหัวไชเท้า แต่ไม่ขยายใหญ่เหมือนกับสายพันธุ์ที่นำมาใช้เป็นอาหาร และส่วนใหญ่จะมีความแข็งเกินกว่าที่จะกินได้ ส่วนใบ และดอกสามารถกินได้ แต่อาจจะมีรสเผ็ด หรือรสติดปากได้
แรดิชป่า (ที่มา By Mysubarum - Own work, CC BY-SA 4.0, https://commons.wikimedia.org/w/index.php?curid=76234546)
ญาติห่างๆ ของหัวไชเท้าคือ วาซาบิ ไปดูกันครับว่าทำไมวาซาบิถึงเผ็ด
เอกสารอ้างอิง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา