2 ก.พ. 2021 เวลา 12:22 • ประวัติศาสตร์
“ชาร์ล โรเบิร์ต เจนกินส์ (Charles Robert Jenkins)” ชาวอเมริกันผู้หนีไปเกาหลีเหนือ และไม่สามารถกลับบ้านได้
3
สิบเอก “ชาร์ล เจนกินส์ (Charles Jenkins)” แห่งกองทัพอเมริกัน ผู้ซึ่งได้หนีทัพ เข้าไปในเกาหลีเหนือในช่วงยุค 60 (พ.ศ.2503-2512) และได้ถูกคุมขังในเปียงยางเป็นเวลานานกว่า 40 ปี ได้เสียชีวิตเมื่อปีค.ศ.2017 (พ.ศ.2560) ด้วยวัย 77 ปี
3
เรื่องราวของเขานั้นน่าสนใจอยู่ไม่น้อย
ในปีค.ศ.1965 (พ.ศ.2508) สหรัฐอเมริกากำลังอยู่ในช่วงของสงครามเวียดนาม และทหารอเมริกันที่ประจำอยู่ในเขตปลอดทหารที่ตั้งอยู่ระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ ต่างก็เกรงว่าตนจะถูกส่งไปเวียดนาม
3
ทหารอเมริกันสี่นายหวาดกลัวต่อการถูกส่งไปเวียดนามอย่างมาก พวกเขาจึงตัดสินใจข้ามไปเกาหลีเหนือ ก่อนจะไปขอความช่วยเหลือจากสถานทูตรัสเซีย โดยหวังว่าจะถูกส่งไปยังสหภาพโซเวียต และกลับถึงสหรัฐอเมริกาเมื่อมีการแลกเปลี่ยนนักโทษ
หนึ่งในทหารสี่นายนั้นมี “ชาร์ล เจนกินส์ (Charles Jenkins)” วัย 24 ปี
เจนกินส์ขณะเป็นทหาร
แต่ทุกอย่างกลับผิดแผน รัสเซียปฏิเสธที่จะช่วยให้ที่พักแก่ทหารทั้งสี่ และส่งทั้งสี่ไปให้เกาหลีเหนือ ซึ่งทั้งสี่ก็ถูกคุมตัวในฐานะนักโทษ และทั้งสี่ก็ต้องอาศัยอยู่ในห้องเล็กๆ ที่ไม่มีน้ำประปาเป็นเวลานานถึงเจ็ดปี
3
ทั้งสี่ถูกบังคับให้ศึกษาปรัชญาเกาหลีเหนือ และต้องจำคำสอนของท่านผู้นำ หากไม่ทำตามก็จะถูกซ้อม
3
ต่อมา ทั้งสี่ถูกแยกกันไปคนละทาง เจนกินส์นั้นถูกส่งไปมหาวิทยาลัยในเปียงยางเพื่อสอนภาษาอังกฤษ ซึ่งที่นี่เอง เขาก็ได้พบกับ “ฮิโตมิ โซกะ (Hitomi Soga)” นักศึกษาพยาบาลชาวญี่ปุ่นที่ถูกลักพาตัวมาจากญี่ปุ่น
4
เจนกินส์และโซกะ
โซกะถูกลักพาตัวมาเพื่อสอนภาษาญี่ปุ่นและวัฒนธรรมญี่ปุ่นแก่สายลับเกาหลี
1
ภายหลังจากพบกันเพียง 38 วัน โซกะก็ถูกส่งตัวให้เจนกินส์เป็นของขวัญ ซึ่งถึงแม้จะรู้จักกันไม่นาน แต่ทั้งคู่ก็ตกหลุมรักกัน ได้แต่งงานและมีลูกสาวด้วยกันสองคน
1
ในปีค.ศ.1982 (พ.ศ.2525) เจนกินส์ถูกบังคับให้ปรากฎตัวในภาพยนตร์โฆษณาชวนเชื่อของเกาหลีเหนือ และเป็นครั้งแรกที่ครอบครัวของเจนกินส์ได้ทราบว่าเขายังมีชีวิตอยู่
3
เจนกินส์กล่าวว่าเขามีชีวิตอย่างย่ำแย่ ผู้คุมมักจะทุบตีเขา และการเป็นนักโทษสงครามในเกาหลีเหนือก็นับว่าเลวร้ายมาก
2
ในปีค.ศ.2002 (พ.ศ.2545) ภายหลังจาก “คิมจ็องอิล (Kim Jong-il)” ผู้นำเกาหลีเหนือได้ยอมรับว่าเกาหลีเหนือได้ทำการลักพาตัวชาวญี่ปุ่นมาจริง รัฐบาลญี่ปุ่นจึงเรียกร้องให้ส่งชาวญี่ปุ่นกลับบ้าน โซกะจึงได้กลับไปญี่ปุ่น แต่เจนกินส์และลูกสาวทั้งสองยังคงต้องอยู่ในเกาหลีเหนือ
9
ในปีค.ศ.2004 (พ.ศ.2547) ครอบครัวเจนกินส์จึงได้กลับมาพบกันอีกครั้ง เมื่อเกาหลีเหนือปล่อยตัวเจนกินส์และลูกสาว ซึ่งทางญี่ปุ่นก็ได้ทำเรื่องขอนิรโทษกรรมให้เจนกินส์ หากแต่สหรัฐอเมริกาปฏิเสธ
4
เจนกินส์ถูกศาลอเมริกันตัดสินให้มีความผิดฐานหนีทัพและไปเข้ากับศัตรู ต้องจำคุกเป็นเวลา 30 วัน ซึ่งภายหลังจากพ้นโทษ เจนกินส์ก็ได้กลับไปอยู่กับภรรยาที่ญี่ปุ่น
3
เจนกินส์เสียชีวิตในฐานะของพลเมืองญี่ปุ่นในวันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ.2017 (พ.ศ.2560) ขณะมีอายุได้ 77 ปี
2
โฆษณา