Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Feasible Estate
•
ติดตาม
5 ก.พ. 2021 เวลา 11:24 • อสังหาริมทรัพย์
Location = Transportation
สวัสดีครับ แฟนเพจทุกท่าน ห่างหายกันไปนาน ขออภัยติดภาระกิจหลัก
กลับมาคราวนี้ พบกับ ประเด็นสำคัญที่จะเป็นปัจจัยในการพัฒนาเมือง ในอนาคต
Content ที่ 23
Series : Sustainable City
S4 EP1.1 : Transportation = Location Magnet
นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และ นักลงทุนในอสังหาฯ หลายๆท่าน คงจะคุ้นเคย
กับคำว่า Location Location และ Location เป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้
การพัฒนาโครงการอสังหาฯ หรือ การลงทุนั้นๆประสบความสำเร็จ
ถูกต้องเลยครับ
จะพัฒนาโครงการหมู่บ้านจัดสรร มาขาย หรือ จะพัฒนาอาคารชุด มาขาย
ปัจจัยนึงที่ลูกค้าก็ยังมองหา พิจารณา และตัดสินใจเลือกซื้อ ก็คือ location
1
จะลงทุนซื้อบ้าน หรือ ซื้อห้องชุด มาปล่อยเช่า ก็ต้องเลือกตำแหน่งแปลงที่ดิน
ตำแหน่งห้อง และตำแหน่งชั้น เพราะมีผลทั้งตุ้นทุนและอัตราค่าเช่า
กลุ่มผู้เช่าก็ยังคงเลือก ทิศ ขนาดบ้าน ขนาดห้อง ซึ่งก็เป็นองค์ประกอบของตำแหน่ง
และ ตำแหน่งภายในอาคารนี้ ก็คือ location ในนัยยะนึง
แต่ถ้ามองให้ลึกไปกว่านั้น
location ของที่ดินแต่ละแปลง แตกต่างกัน ทั้งที่อยู่ติดกัน หรืออยู่บริเวณใกล้เคียงกัน ก็ยังมีศักยภาพต่างกัน เป็นเพราะสาเหตุใด ?
1
เพราะ การคมนาคมคนส่ง หรือ Transportation นั่นเอง
Location = Transportation
ในอดีต ผู้คนเดินทางด้วยเรือ ที่ดินริมคลอง ริมตลิ่ง ทั้งวัด ตลาด พระราชวัง ต่างอยู่ติดแม่น้ำ ลำคลอง และมีท่าเรือส่วนตัว เพื่อใช้รองรับการสัญจรของผู้คนทางน้ำ
เกิดกิจกรรมต่างๆมากมาย โดยเฉพาะการค้าขาย และการอยู่อาศัย
เมืองจึงขยายตัวตามแนวแม่น้ำ เป็นหลัก ชุมชนใดใกล้แม่น้ำ ใกล้ปากอ่าว ก็พัฒนาเป็นเมือง เพราะประชากรหนาแน่นกว่าทำให้การค้าขายมีสูงกว่าบริเวณอื่น ที่ดินริมแม่น้ำจึงมีราคาสูงและเป็นที่ต้องการมากกว่า เพราะสะดวกในการขนส่งมากกว่า
การมาของรถยนต์ ทำให้เกิดการพัฒนาถนนหนทางมากมาย จนกลายเป็นโครงข่ายคมนาคมหลักในประเทศไทย ทิศทางการขยายตัวของเมืองจึงเปลี่ยนเป็น
การพัฒนาตามแนวถนนเป็นหลัก ถนนไปทางไหน เมืองอยู่ที่นั่น
ซึ่งในยุคแรก ก็ไม่ได้สร้างถนนโดยการตัดถนนให้มีระยะสั้นที่สุด จากจุด A ไป จุด D แต่อย่างใด แต่เป็นการตัดถนนโดยผ่ายชุมชน เป็นสำคัญ เช่น A ไป B ไป C ไป D
ทำให้ถนนหลายๆเส้นโค้งไปโค้งมา ไม่เหมาะกับสภาพการจรจรในปัจจุบันแล้ว
แต่ข้อดีคือ การเชื่อมโยงศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของแต่ละชมุชนเข้าด้วยกัน
ทำให้ ราคาที่ดินในตัวเมือง ที่ติดถนนใหญ่ ถนนหลัก ติดชุมชน แหล่งการค้า
กลายเป็นที่ดินที่มีมูลค่าสูงกว่าที่ดินแม่น้ำ (ยกเว้นที่ดินที่ติดทั้งแม่น้ำและถนน)
ถัดมา ระบบราง หรือ รถไฟ และ รถไฟฟ้า (ขอรวมไว้ในหมวดเดียวกัน)
แม้ว่าระบบรางในประเทศไทยจะมีมาก่อนโครงข่ายถนน (หัวรถจักรไอน้ำ)
แต่เส้นทางหลัก มีเพียงไม่กี่เส้นทาง ทำให้ความเจริญกระจุกตัวอยู่แค่บริเวณสถานี ของบางชุมชน บางจังหวัด มูลค่าที่ดินในบริเวณนั้นจึงสูงกว่าบริเวณอื่นอยู่พักหนึ่ง
(ก่อนที่โครงข่ายถนนจะเข้ามาแทนที่)
แต่ก็ไม่สามารถรักษาความได้เปรียบเอาไว้ เพราะโครงข่ายไม่ครบสมบูรณ์ ไม่กระจายไปทั่วชุมชน เป็นแค่ระบบที่เชื่อมการเดินทางจากเมืองใหญ่สู่เมืองใหญ่ แต่ไม่ได้เป็นการเชื่อมชุมชนภายในเมืองเข้าด้วยกัน อีกทั้งยังเป็นระบบรางเดี่ยว ซึ่งล่าช้าเพราะต้องรอรถสวน
ผิดกับรถไฟฟ้าในปัจจุบัน ที่เป็นระบบรางคู่ และวิ่งภายในเมืองเป็นหลัก
ทำหน้าที่เชื่อมโยงแต่ละชุมชนเข้าด้วยกัน อีกทั้งโครงข่ายกำลังสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
ประกอบกับสถานการณ์รถติด เพราะพื้นที่บนท้องถนนไม่เพียงต่อจำนวนรถยนต์ในเมืองกรุงเทพมหานคร จึงทำให้ไม่สามารถกะระยะเวลาในการเดินทางได้ ตรงกันข้ามกับรถไฟฟ้า ซึ่งเวลาเดินทางค่อนข้างเป๊ะ เป็นเวลา ไม่มีติดขัด ไม่ไร้ระเบียบแบบรถเมล์ จึงสะดวกสบายมากกว่า ทำให้ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น
1
อีกทั้งบริเวณรอบสถานีก็มีประชากรที่พลุกพล่านมากขึ้น การค้าขายที่เน้นขายความสะดวกก็สามารถขายได้ราคาสูงขึ้น สรุปโดยรวมทำให้ที่ดินรอบสถานีรถไฟฟ้า มีศักยภาพสูง ทำให้มีมูลค่าสูงตามไปด้วย
ในอนาคต หากระบบรถไฟรางคู่เสร็จสมบูรณ์ โครงข่ายการเดินทางจากจังหวัดสู่อีกจังหวัดหลากหลายขึ้น รถไฟสามารถเดินทางได้เร็วขึ้น ประชากรใช้รถไฟเพิ่มขึ้น
สถานีรถไฟเดิมก็จะกลับมามีชีวิตชีวามากขึ้น
1
มูลค่าที่ดินรอบๆสถานีก็จะสูงขึ้นตาม (แม้ว่าจะไม่ใช่บริเวณที่มีมูลค่าสูงสุดอีกต่อไป) และจะสูงยิ่งกว่าเดิม เมื่อมีรถไฟความเร็วสูงเพิ่มเข้ามา ทำให้การเดินทางสะดวกขึ้นกว่าเดิม โดยรถไฟความเร็วสูงจะเน้นขนคนในเส้นทางระยะไกลเป็นหลัก (อาจรวมถึงสินค้าที่เน่าเสียง่ายแต่มีมูลค่าสูง) ส่วนเส้นทางระยะใกล้รถไฟเดิมในระบบรางคู่จะเป็น feeder ในโครงข่ายรอบๆจังหวัดนั้นๆแทน รวมถึงเน้นขนส่งสินค้าด้วยเนื่องจากมีค่าสนส่งที่ต่ำกว่า
มากันที่ การเดินทางวิธีสุดท้าย วิถีแห่งอนาคต นั่นคือ ทางอากาศ หรือการเดินทางโดยเครื่องบิน ซึ่งในอดีตค่าใช้จ่ายสูงแต่ปัจจุบันค่าใช้จ่ายในการเดินทางต่ำลงมาก จนสามารถแข่งกับ การเดินทางทางบก(ทั้งรถเมล์และรถไฟ) ทำให้เส้นทางระยะไกล เครื่องบินได้เปรียบกว่าแล้ว และในอนาคตจะได้เปรียบยิ่งขึ้น การเดินทางในระดับภูมิภาค ระดับระหว่างประเทศจะสำคัญมากยิ่งขึ้น และตัวสนามบินก็ไม่ได้มีการกระจาย node มากนัก ทำให้เกิดความจำกัดในการเจริญเติบโต ในอนาคตมูลค่าที่ดินบริเวณรอบสนามบินจะมีราคาสูงขึ้นอย่างแน่นอน
Hightlight สังเกตุ จุดเชื่อมระบบขนส่ง ที่มีมากกว่า 2 ระบบขึ้นไป มักจะมีความเจริญเติบโตมากกว่าจุดอื่น เช่น สถานีตากสินที่เชื่อมรถไฟฟ้าและท่าเรือ สุวรรณภูมิที่มีทั้งสนามบินและรถไฟฟ้า เพลินจิตที่มีทั้งรถไฟฟ้าและทางด่วน หรือจุดตัดระหว่างรถไฟฟ้า2สายอย่างอโศก เองก็ตาม เพราะมีความได้เปรียบในการเดินทางมากกว่าจุดอื่น นี่แหละครับ ทำไม ทำเลแต่ละทำเลจึงมีมูลค่าไม่เท่ากัน
เพราะแต่ละทำเลจะมีความสะดวกในการคมนาคมที่แตกต่างกัน ตามพฤติกรรมของประชากรในแต่ละบริเวณซึ่งสัมพันธ์กับระดับรายได้อีกทางนึงด้วย
แล้วเราจะมาต่อกันใน S3 EP3.2
"อสังหาฯ เป็นไปได้" กับ Feasible Estate
#FeasibleEstate #Feasible #RealEstate #Feasibility #Study #Property
#Management #Economics #Marketing #Finance #Location #Law
#Physical #Architecture #Design #Construction #Engineering
#อสังหาฯเป็นไปได้ #ศึกษาความเป็นไปได้ #อสังหาริมทรัพย์ #การลงทุน
#การตลาด #การเงิน #กฎหมาย #เศรษฐศาสตร์ #สถาปัตยกรรม #วิศวกรรม
#งานออกแบบ #ก่อสร้าง #การจัดการ #วิจัย #Research
23 บันทึก
27
3
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Transportation is the Bones of City which define Location
23
27
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย