Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Feasible Estate
•
ติดตาม
15 ก.พ. 2021 เวลา 08:06 • อสังหาริมทรัพย์
Bones of NeoCity
Content ที่ 24
Series : Sustainable City
S4 EP1.2 : MassTransit is the Bones of NeoCity
หลังจากที่ได้เปิดประเด็น ในเรื่อง Location = Transporation ไปในตอนก่อน
S3 EP3.1 ทำให้เราเห็นความสำคัญของระบบการเดินทางในรูปแบบต่างๆ
ที่ทำให้แต่ละทำเลมีความแตกต่างกันแล้ว วันนี้เราจะมาเจาะลึกเพิ่มกันอีกสักหน่อย ว่าอนาคต เมือง/แต่ละ location จะมีทิศทางการพัฒนาในรูปแบบไหน
ก่อนจะเข้าสู่เนื้อเรื่องหลัก ขอเกริ่นก่อนว่าในปัจจุบัน กำลังเกิดสิ่งที่เรียกว่า Urbanization หรือ การกลายเป็นเมือง ที่เพิ่มขึ้น หมายถึงว่า พื้นที่ชนบทจะลดลง พื้นที่เมืองจะขยายใหญ่ขึ้น ทั้งเมืองเล็กและเมืองใหญ่ โดยที่เมืองใหญ่จะมีโอกาสในการโตมากกว่า และสิ่งมาตามมาคู่กัน คือ การย้ายถิ่นฐานของประชากร ที่วิ่งเข้าสู่เมืองเพิ่มขึ้นพร้อมๆกับการขยายตัวของเมือง (เราจะมาพูดถึงในเรื่องนี้ในภายหลัง)
กลับมาที่การเดินทางในอนาคต ในเมื่อเมืองขยายตัวขึ้น ขอบเขตของเมืองใหญ่ขึ้น ประชากรเยอะขึ้น แต่ถนนมีเท่าเดิม ทำให้เกิดรถติด โดยเฉพาะใจกลางตัวเมือง
การขยายโครงสร้างพื้นฐานอย่างถนน เริ่มทำได้ลำบากขึ้นโดยเฉพาะในบริเวณที่มีการพัฒนาที่ดินไปแล้ว (มีอาคาร มีระบบสาธารณูปโภคอื่นๆ) ทั้งยังติดปัญหาเรื่อง
งบประมาณในการเวนคืนที่ดินซึ่งใช้สูงกว่าบริเวณที่ยังไม่ได้พัฒนามากนัก
ประกอบกับ ความสามารถในการขนผู้โดยสาร หากเทียบรถยนต์ส่วนตัวกับระบบขนส่งสาธารณะอื่นแล้ว ต้องบอกว่าเปลืองพื้นที่อย่างมาก ลองมาดูคร่าวๆกัน
Capacity of each transportation system
จะเห็นว่า รถไฟ และ รถไฟฟ้า มีประสิทธิภาพมากกว่าระบบขนส่งอื่นๆ อย่างมาก แต่ในแง่ความเหมาะสมแล้ว ระบบ MRT (Mass Rapdi Transit) นั้นเหมาะที่จะเป็นการขนส่งคนในปริมาณมากๆ ซึ่งต้องอาศัย Demand จำนวนมหาศาล ซึ่งเส้นทางที่มีปริมาณการสัญจรสูงมักจะเป็นเส้นทางที่มุ่งเข้าสู่ใจกลางเมือง หรือ เส้นทางหลัก(ถนนขนาดใหญ่ เชื่อมหลายศูนย์กลางเข้าด้วยกัน)
ส่วนในพื้นที่ที่มีระยะการเดินทางใกล้กว่านี้ หรือ ปริมาณการขนส่งน้อยกว่านี้ (ประชากรไม่หนาแน่น และมีการสัญจรต่ำ) ควรใช้ระบบรอง อย่าง LRT, BRT, เข้ามาเสริมเป็น feeder ระบบรอง เพื่อป้อนคนเข้าสู่ MRT กรณีต้องการเดินทางระยะไกล
และ กรณีที่ระยะการเดินทางไกลมาก เช่น เส้นทางเชื่อมระหว่าง จังหวัดและภูมิภาค ก็เหมาะที่จะใช้ระบบรถไฟ Heavey Rail หรือ Commuter Train และ รถไฟฟ้าฟ้าความเร็วสูง (ในอนาคต)
และในพื้นที่ย่อยในแต่ละบริเวณ ควรส่งเสริมให้มีการ สัญจรทางเท้า ทั้ง ทางเดิน ทางจักรยาน เพื่อให้สะดวกต่อคนในชุมชน อีกทั้งควรออกแบบให้ในพื้นที่เหล่านั้นสามารถตอบสนองให้แก่คนทุกกลุ่มได้ เช่น ช่องทางสำหรับคนตาบอด ทางลาดสำหรับผู้พิการ พื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ สวนสาธารณะชุมชน เพื่อความยั่งยืนของเมือง
แล้วระบบการขนส่งแบบไหนละที่เหมาะสมกับประเทศไทย ??
คงตอบยาก (ยากในที่นี้คือ มันเป็นเหตุการณ์ที่ผ่านมาแล้ว จะกลับไป edit แผนการพัฒนาหรือโครงการในอดีตด็เป็นไปไม่ได้) ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทางสภาพเศรษฐกิจ ณ เวลานั้นๆ รูปแบบความเคยชินของการเดินทางในอดีต แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในอดีต การส่งเสริมการลงทุน และ หมวดอุตสาหกรรมที่ได้รับการสนับสนุนหรือได้รับมาตรการช่วยเหลือทางภาษี และรวมถึงนโยบายทางการเมืองด้วย
ขอเจาะลึกไปที่กรุงเทพมหานคร เลยแล้วกัน
ยิ่งกรุงเทพมหานคร มีความเจริญเติบโตแบบ เมืองโตเดี่ยวหรือเมืองเอกนคร (Primate City) มากเท่าไหร่ ยิ่งสร้างความเหลื่อมล้ำ ทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ที่ภาครัฐมุ่งพัฒนาเมืองหลักมากขึ้นเท่านั้น ผลของการเติบโตของเมืองเอกนครส่งผลต่อพื้นที่รอบข้างและเมืองรองอื่นๆอย่างมาก เพราะทำให้เกิดการกระจุกตัวของประชากรและมีความหนาแน่นทางประชากรสูงจากการเคลื่อนย้ายเข้าสู่เขตเมืองมากขึ้น
เมื่อเกิดปัญหาความไม่สมดุลของพัฒนาสาธารณูปโภค การกระจายตัวของประชากร และการขาดการจัดการที่ดี ทำให้เกิดปัญหาในเมืองตามมา ทั้งด้านที่อยู่อาศัย ระบบสาธารณูปโภคที่ไม่เพียงพอ ระบบการขนส่งและการจราจรที่หนาแน่น
ด้วยความที่ โครงสร้างพื้นฐานในการเดินทางในยุคก่อน คือ ถนน กำลังเติบโต โครงข่ายถนนทางบก ยังไม่ครอบคลุมทั่วประเทศ ประกอบกับ อุตสาหกรรมรถยนต์ อุตสาหกรรมน้ำมัน กำลังบูม เนื่องจากได้รับการลงทุนทั้งจาก ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ที่ต้องการให้เป็นฐานการผลิตรถยนต์และสร้างความต้องการให้กับธุรกิจน้ำมันไปในตัว ทำให้แผนการพัฒนาโครงข่ายคมนาคม จึงเป็น ถนนสำหรับรถยนต์ ที่เป็นพระเอก
ทางด่วนและทางพิเศษต่างๆ จึงเป็น คำตอบที่รัฐบาลแต่ละยุค เสนอ(นโยบายและความฝัน) สนอง(นายทุน) และมอบให้(ประชาชน)
ทั้งๆที่ หากมองไปยังอนาคต อาจจะมีระบบขนส่งอื่นที่สามารถแก้ไขปัญหาได้มากกว่า เช่น รถไฟฟ้า ซึ่งในอดีตก็เคยมีโครงการที่จะพัฒนาเช่นกัน อย่างเช่น "รถไฟฟ้าลาวาลิน" (รถไฟฟ้าสายแรกที่คนกรุงไม่เคยมีโอกาสได้นั่ง) แต่ฝันก็ต้องสลายลงจากปัญหาทางด้านการเงิน ทั้งต้นทุนในการพัฒนาโครงการ ที่ค่าก่อสร้างเพิ่มขึ้น ปัญหาในการเวนคืนที่ดิน ขาดเงินทุนสนับสนุน และอาจรวมถึงนโยบายที่เปลี่ยนไปจากนักการเมืองในยุคนั้น
เส้นทางรถไฟฟ้า"ลาวาลิน"
แล้วสังเกตุนะครับ เส้นทางรถไฟฟ้าฟ้า "ลาวาลิน" คล้ายกับอะไรเอ่ย
เส้นทางด่วนและทางพิเศษ
ใช่แล้วครับ มันคือ ทางด่วน ทางพิเศษ มอเตอร์เวย์ ในปัจจุบันนั่นเอง
เส้นทางที่แทบจะลอกกันมา เมื่อโครงการรถไฟฟ้าล่ม การทางพิเศษจึงต้องเปลี่ยนมาเป็นทางด่วนแทน (ในภาพนี้ไม่มี โทรล์เวย์)
นี่ยังไม่รวมเส้นทางที่ล้มเหลว อย่างเช่น โครงการโฮปเวลล์ นะครับ
โครงการ โฮปเวลล์
โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆเหล่านี้ ถูกพลักดันและพัฒนาเรื่อยๆมา จนถึงปัจจุบัน ซึ่งก็มีทั้ง ส่วนที่สร้างเสร็จเปิดให้บริการแล้ว ส่วนที่ก่อสร้างเสร็จแล้วแต่ยังไม่เปิดให้บริการ ส่วนที่กำลังก่อสร้าง ส่วนที่อยู่ระหว่างประมูล ส่วนที่อยู่ระหว่างจัดทำรายละเอียดโครงการเพิ่มเติม
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ตอนนี้เป็นอีกเมืองที่กำลังเต็มไปด้วยอภิมหาโปรเจ็ค รถไฟฟ้า 11+2 สาย ระยะทางประมาณ 495 กม. ติด Top5 ของโลก (หากสร้างเสร็จครบ)
Bangkok Metro Map (Development Plan)
ก่อนที่จะไปดูว่า 13 สาย นั้น เป็นเส้นทางไหนบ้าง อย่างละเอียดใน EP ถัดไป นั้น
มาวิเคราะห์อย่างคร่าวๆกันก่อนเลยว่า สภาพเมืองในอนาคตจะเปลี่ยนไปแน่นอน
และที่สำคัญ เส้นทางรถไฟฟ้าทั้ง 12+1 สายนี้ จะเป็นโครงกระดูกของเมือง ที่มีหน้าที่กำหนดแนวทางการพัฒนาเมืองในอนาคตอย่างแน่นอน
"อสังหาฯ เป็นไปได้" กับ Feasible Estate
#FeasibleEstate #Feasible #RealEstate #Feasibility #Study #Property
#Management #Economics #Marketing #Finance #Location #Law #Physical #Architecture #Design #Construction #Engineering
#อสังหาฯเป็นไปได้ #ศึกษาความเป็นไปได้ #อสังหาริมทรัพย์ #การลงทุน
#การตลาด #การเงิน #กฎหมาย #เศรษฐศาสตร์ #สถาปัตยกรรม #วิศวกรรม #งานออกแบบ #ก่อสร้าง #การจัดการ #วิจัย #Research
Reference
https://www.terrabkk.com/articles/177427/urbanization-ปรากฎการณ์ยืนยัน-เมืองต่างจังหวัดโตขึ้นแน่นอน?language=https://www.terrabkk.com/en
https://www.terrabkk.com/news/150381/เมกะเทรนด์-urbanization
https://www.terrabkk.com/news/192567/รถไฟฟ้า-11-สาย-ติดท็อปไฟว์โลก-?language=https://www.terrabkk.com/en
https://thestandard.co/news-thailand-lavalin-skytrain/
https://www.home.co.th/news/topic-8571
1 บันทึก
2
2
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Transportation is the Bones of City which define Location
1
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย