6 ก.พ. 2021 เวลา 13:53 • สุขภาพ
โรคซึมเศร้า
จัดเป็นโรคอารมณ์แปรปรวน ที่พบได้บ่อยชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยจะมีความรู้ สึกซึมเศร้าหดหู่อย่างรุนแรงกว่าปกติ เรื้อรังนานเกิน 2 สัปดาห์ แลมักมีความคิดอยากตาย ส่งผลให้มีอาการ ผิดปกติทางกายใจ และพฤติกรรมต่างๆ กระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน และมีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย
โรคซึมเศร้าพบได้ในคนทุกวัย อายุเฉลี่ยเมื่อเริ่มมีอาการครั้งแรกประมาณ 40 ปี พบได้ประมาณร้อยละ 3 ของประชาการทั่วไป ณเวลาใดเวลาหนึ่ง (current prevalence) หรือร้อยละ 5-18 ของประชาการทั่วไปเมื่อติดตามไปชั่วชีวิต (lifetime prevalence) พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายประมาณ 2 เท่า
สาเหตุ โรคซึมเศร้า
ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า พบว่ามีความผิดปกติของระบบ การส่งผ่านประสาท (มีสารส่งผ่านประสาท เช่น นอร์เอพิเนฟรีน ซีโรโทนิน กรดแกมมาอะมิโนบูไทริกต่ำกว่าปกติ รวมทั้งมีความผิดปกติของตัวรับหรือรีเซปเตอร์ที่ เกี่ยวข้อง) และประสาทต่อมไร้ท่อ (เชื่อว่ามีความผิดปกติของเซลล์สมองส่วนที่ควบคุมความคิด อารมณ์ การเคลื่อนไหวของร่างกายและการหลั่งฮอร์โมนต่าง ๆ)
ความผิดปกติเหล่านี้อาจเกิดจากการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ รวมทั้งปัจจัยด้านจิตใจและสังคม
ด้านกรรมพันธุ์ พบว่าผู้ที่มีพ่อแม่พี่น้องเป็นโรคนี้ มีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าคนทั่วไป
ด้านจิตใจ พบว่าผู้ป่วยมักมีแนวคิดโน้มนำให้ตน เองซึมเศร้า เช่น มองโลกในแง่ร้าย มองตนเองในแง่ลบมองเห็นแต่ความบกพร่องของตนเอง เป็นต้น
ด้านสังคม เช่น การหย่าร้าง การสูญเสียคู่ชีวิตอาจเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดโรคซึมเศร้า การมีคนคอยดูแลช่วยเหลืออาจมีส่วนช่วยให้อาการของโรคนี้ทุเลา
อาการ โรคซึมเศร้า
ที่สำคัญ คือ ผู้ป่วยรู้สึกซึมเศร้าหดหู่ สะเทือนใจ และร้องไห้ง่าย บางครั้งอาจบอกว่ารู้สึกเบื่อหน่ายต่อสิ่ง ต่าง ๆ ไปหมด และจิตใจไม่รู้สึกสดชื่นเหมือนเดิม ความรู้สึกเหล่านี้จะเป็นอยู่เกือบทั้งวัน และติดต่อกันแทบทุกวัน เป็นเวลานานกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไป ผู้ป่วยมักมีอารมณ์ หงุดหงิด ทนเสียงดังหรือคนรบกวนไม่ได้ อยากอยู่เงียบ ๆ คนเดียว
ผู้ป่วยมักมีอาการนอนไม่หลับ หรือนอนมากกว่าปกติ อาการนอนไม่หลับมักจะเป็นแบบสะดุด กล่าวคือ ผู้ป่วยจะนอนหลับในช่วงแรก ๆ ที่เข้านอน แต่พอตื่นตอนกลางดึกจะนอนไม่หลับ บางรายก็อาจมีอาการนอน หลับยากตั้งแต่แรกที่เข้านอน มักมีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด แต่บางรายอาจ มีความรู้สึกอยากอาหารและน้ำหนักขึ้น
นอกจากนี้ ยังอาจพบอาการอ่อนเพลียตลอดทั้งวัน ทำอะไรเชื่องช้า เฉื่อยชาลง อยากอยู่เฉย ๆ นาน ๆ (แต่บางรายอาจมีอาการกระสับกระส่าย อยู่ไม่สุข นั่งได้ สักพักหนึ่งก็ต้องลุกขึ้นเดินไปมา) คิดนาน ขาดสมาธิ เหม่อลอย หลงลืมง่าย มีความลังเลในการตัดสินใจ ไม่มั่นใจตนเอง มองโลกในแง่ลบ รู้สึกว่าตนเองไร้คุณค่า หรือรู้สึกผิด กล่าวโทษหรือตำหนิตนเอง
กว่าร้อยละ 60 ของผู้ป่วยมีความคิดอยากตาย โดยช่วงแรกรู้สึกเบื่อชีวิตเมื่ออาการมากขึ้นจะรู้สึกอยากตาย คิดถึงการฆ่าตัวตาย ต่อมาถึงขั้นวางแผนและวิธีการฆ่าตัวตาย และในที่สุดลงมือกระทำการฆ่าตัวตาย (พบได้ประมาณร้อยละ 15 ของผู้ป่วย) ผู้ป่วยบางรายอาจไปปรึกษาแพทย์ด้วยอาการเจ็บป่วยทางกาย เช่น อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ผอมลงเวียน ศีรษะ ปวดตามส่วนต่าง ๆ (เช่น ศีรษะ หน้าอก หลังแขนขา) อย่างเรื้อรัง ประจำเดือนไม่มาไม่มีความรู้สึกทางเพศ เป็นต้น
การป้องกัน โรคซึมเศร้า
1.เมื่อพบผู้ป่วยมีภาวะซึมเศร้า (มีอารมณ์ซึมเศร้า) หดหู่ หรือรู้สึกเบื่อหน่ายต่อสิ่งต่าง ๆ ไปหมด) ควรชักถามประวัติและตรวจดูอาการอย่างละเอียดเพื่อแยกแยะส่าเหตุ บางครั้งอาจเกิดจากโรคทางกาย แอลกอฮอล์ สารเสพติดยา ความเครียด หรือปัญหาชีวิต หรือเป็น อาการของโรคอารมณ์สองขั้ว หรือโรคซึมเศร้าชนิดอ่อน บางรายอาจพบร่วมกับโรคกังวล ซึ่งมีวิธีการดูและรักษาแต่ต่างกันไป ส่วนโรคซึมเศร้า (โรคซึมเศร้าหลัก) จะวินิจฉัย เมื่อมีอาการครบถ้วนตามเกณฑ์การวินิจฉัย
2.โรคซึมเศร้าหากไม่ได้ให้ยารักษา มักมีอาการต่อเนื่องประมาณ 9 เดือน ซึ่งจะทุเลาไปเอง หากได้ยา รักษาจะมีอาการอยู่ประมาณ 3 เดือน บางรายอาจเป็น เพียงครั้งเดี่ยวแล้วไม่เป็นซ้ำอีก บางรายกำเริบซ้ำซาก หรือเรื้อรังตลอดชีวิต ควรแนะนำให้ผู้ป่วยปฏิบัติตัว ดังนี้
พบแพทย์เป็นประจำตามนัด และกินยาอย่างต่อเนื่อง อย่าปรับยาหรือหยุดยาเองจนกว่าแพทย์จะแนะนำ การรักษาด้วยยาอาจใช้เวลาหลายสัปดาห์ไปแล้วกว่า จะเห็นผล
สามารถดำเนินชีวิตตามปกติ อย่าแยกตัวออกจากผู้อื่น การมีญาติหรือเพื่อช่วยดูแลช่วยเหลือมี ส่วนช่วยให้อาการทุเลาได
ดูแลสุขภาพทั่วไปให้แข็งแรง ด้วยการกินอาหารที่มีประโยชน์ นอนหลับพักผ่อนให้ และออกกำลังกายเป็นประจำ
หลีกเลี่ยงการเสพเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และสารเสพติด
3. โรคนี้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมอง (สารส่งผ่านประสาม) และการทำหน้าที่ผิดปกติของสมองบางส่วน ซึ่งอาจถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ ผู้ป่วยบางรายจึงอาจมีอาการกำเริบโดยไม่มีปัญหาด้านจิตใจและสังคมเป็นเหตุกระตุ้นก็ได้คืออยู่ดี ๆ ก็มีอาการกำเริบขึ้นมาเอง ควรอธิบายให้ผู้ป่วยและญาติเข้าใจถึงธรรมชาติของโรคนี้ ยอมรับและหาทางดูแลรักษาอย่างจริงจังและต่อเนื่องซึ่งจะทำให้สามารถควบคุมอาการและดำเนิน ชีวิตเป็นปกติสุขได้
4. ญาติและคนใกล้ชิดควรให้การดูแลช่วยเหลือ และให้กำลังใจผู้ป่วยในการรักษาอย่างต่อเนื่อง และเฝ้า สังเกตอาการอย่างใกล้ชิด หากพบว่าผู้ป่วยมีอาการรุนแรงหรือมีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย ควรรีบพาผู้ป่วย ไปโรงพยาบาล หรือหาทางป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยฆ่าตัวตาย
5. ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าบางครั้งอาจมาปรึกษาแพทย์ด้วยอาการไม่สบายทางกาย เช่น เวียนศีรษะ อ่อนเพลียเหนื่อยง่าย ผอมลง ปวดศีรษะ ปวดหลัง ปวดข้อ หรือปวดเมื่อยตามตัวแบบเรื้อรัง เป็นต้น หากให้ยารักษาตามอาการระยะหนึ่งแล้วไม่ดีขึ้น ควรซักถามอาการของโรคซึมเศร้าอย่างละเอียดเมื่อวินิจฉัยว่าเป็นโรคซึมเศร้า และให้ยาแก้ซึมเศร้าอาการต่าง ๆ ก็จะทุเลาลงได้
การรักษา โรคซึมเศร้า
1.ถ้าผู้ป่วยมีอาการเข้าได้กับเกณฑ์การวินิจฉัยโรคนี้โดยไม่ได้เกิดจากสาเหตุอื่น และมั่นใจว่าไม่มีโรคทางกาย ก็ให้การรักษาด้วยยาแก้ซึมเศร้ากลุ่ม SSR2 ได้แก่ ฟลูออกซีทีน เริ่มด้วยขนาด 20 มก.วันละครั้งหลังอาหารเช้า
หากมีอาการวิตกกังวลหรือกระวายร่วมด้วยให้ไดอะซีแพม ครั้งละ 2 มก.วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็นร่วมด้วยในช่วง 2 สัปดาห์แรก หากมีอาการนอนไม่หลับ ให้ไดอะซีแพม 2-5มก.หรืออะมิทริปไทลีน10 มก.กินก่อนนอน
ถ้าอาการดีขึ้นไม่มาก ให้ค่อย ๆ เพิ่มฟลูออกซีทีนจนถึงขนาด 40-60 มก./วัน ถ้าอาการหายดีควรให้ยาต่อไปอีก 4-9 เดือน แล้วค่อย ๆ ลดขนาดยาลงทุก 2-3 สัปดาห์ จนหยุดการรักษา แต่ถ้าลดยาลงแล้วพบว่าผู้ป่วย อาการเริ่มกลับมาอีก ให้เพิ่มยาขึ้นจนกระทั่งอาการหาย แล้วคงขนาดยานั้นต่อไปประมาณ 2-3 เดือน แล้วลองละครั้งหลังอาหารเช้า
2.ถ้าให้ยานาน 4 สัปดาห์แล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรส่งปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
3.ควรส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาลที่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญถ้าพบผู้ป่วยมีอาการข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้
กระวนกระวายมาก หรือไม่กินอาหาร ผอมลงมาก
มีอาการโรคจิต เช่น หลงผิด ประสาทหลอน
มีความคิดฆ่าตัวตายบ่อย หรือมีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย หรือพยายามกระทำการฆ่าตัวตาย
มีอาการรุนแรง กระทบต่อกิจวัตรประจำวัน เช่น การแต่งตัว การกินอาหาร
มีประวัติเคยเป็นโรคอารมณ์สองขั้ว (bipolar disorder)
ในรายที่มีอาการรุนแรง หรือมีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย จำเป็นต้องรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาล และป้องกันไม่ให้มีการทำลายตัวเอง แพทย์จะพิจารณา ปรับเปลี่ยนยาให้เหมาะสม ในบางกรณีอาจจำเป็นต้องให้ยารักษาต่อเนื่องนานอย่างน้อย 2-3 ปี
ในรายที่ให้ยารักษาไม่ได้ผล หรือทนต่ออาการข้างเคียงของยาไม่ได้ หรือมีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายสูง แพทย์อาจทำการรักษาด้วยไฟฟ้า (electroconvulsive therapy/ECT) วิธีนี้เพียงแต่ช่วยให้อาการดีขึ้น ไม่ได้ป้องกันไม่ให้อาการกำเริบซ้ำดังนั้นจะต้องให้ยารักษาต่อเนื่องแม้หลังจากอาการดีขึ้นแล้ว
นอกจากนี้ อาจพิจารณาให้การรักษาด้วยวิธี อื่น ๆ เช่นจิตบำบัดซึ่งมีอยู่หลายวิธีแสงบำบัด (light therapy) ในผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้าตามฤดูกาล (seasonal affective disorder)
ผลการรักษา การใช้ยานับว่าได้ผลดีมากกว่าร้อยละ 80 ซึ่งจะลดระยะอาการลงเหลือประมาณ 3 เดือน ถ้าไม่รักษามักมีอาการประมาณ 9 เดือน ซึ่งจะทุเลาไปได้เอง แต่ก็จะกำเริบได้อีกในเวลา 6 เดือนต่อมา
หลังหยุดยา อาจมีอาการกำเริบได้ใหม่ประมาณร้อยละ 50 (สำหรับอาการป่วยครั้งแรก) ร้อยละ 70 (สำหรับอาการป่วยครั้งที่ 2) และร้อยละ 90 สำหรับอาการ ป่วยครั้งที่ 3)

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา