9 ก.พ. 2021 เวลา 09:34 • การศึกษา
ไวยากรณ์ภาษาเกาหลี
안녕하세요. วันนี้จะพาเพื่อนๆมารู้จักกับไวยากรณ์ภาษาเกาหลีกันค่ะ
4
ความแตกต่างระหว่างโครงสร้างประโยคภาษาไทยกับภาษาเกาหลี
ภาษาไทย=ประธาน+กริยา+กรรม
ภาษาเกาหลี=ประธาน+กรรม+กริยา
นอกจากนี้แล้วภาษาเกาหลียังมีตัวบ่งชี้ประธาน กริยา กรรม สถานที่ เวลา สามารถสลับตำแหน่งกันได้ แต่ส่วนท้ายยังคงเป็นคำกริยา+รูปประโยค วิธีการแปลจึงต้องแปลจากต้นและท้ายประโยคก่อน จึงแปลส่วนที่เหลือ
1
"ประธาน+หน่วยบ่งชี้สรรพนาม+คำนาม+ตัวชี้สถานที่+ตัวเลขเวลา+หน่วยนับเวลา+ตัวชี้เวลา+กรรม+หน่วยคำบ่งชี้กรรม+กริยาที่ผันตามรูปประโยค"
ชนิดของคำ
แบ่งออกเป็น 9 ชนิด
1. คำนาม คำที่ใช้เรียกคน สัตว์ สิ่งของ แบ่งออกเป็น
1.1 คำสามานยนาม ใช้กับสิ่งที่ไม่เฉพาะเจาะจง เช่น
남자 (นัม-จา)=ผู้ชาย
연필 (ยอน-พิล)=ดินสอ
책 (แช่ก)=หนังสือ
1.2 คำวิสามานยนาม ใช้กับสิ่งที่เฉพาะเจาะจง เช่น
방콕 (พัง-ค่ก)=กรุงเทพ
서울 (ซอ-อุล)=โซล
9
คำนามที่ไม่อิสระ
1. 때 (แต)
โดยทั่วไปมี 2 ความหมายคือ
- ขี้ไคล
- ช่วงเวลา, ตอน
점심 때 친구와 밥을 먹거요. (จอม-ชิม-แต-ชิน-กู-วา-พา-บึล-มอ-กอ-โย)
=เมื่อกลางวันได้ทานข้าวกับเพื่อน
2. 것 (กอท)
คำกริยา+는 것 같다 (นึน-กอท-กัท-ทา) หมายถึง ดูเหมือนว่า กำลัง...อยู่
현아는 우유를 마시는 것 같아요. (ฮยอน-อา-นึน-อู-ยู-รึล-มา-ชี-นึน-กอท-กัท-ทา-โย)
=ดูเหมือนว่าฮยอนอากำลังดื่มนมอยู่
3. 수 (ซู)
คำกริยา+을/를 수 있다/수 없다 หมายถึง สามารถทำได้/ไม่สามารถทำได้
나는 중국어를 읽을 수 있어요. (นา-นึน-จุง-กุ-กอ-รึล-อิก-กึล-ซู-อิด-ซอ-โย)
=ฉันสามารถอ่านภาษาจีนได้
1
อาการนาม
คำนามที่มีคำว่า 기 (คี) ตามหลัง ทำให้หมายถึง "การ..."
เช่น
오다 (โอ-ดะ)=ไป 오기 (โอ-กี)=การไป
일하다 (อิล-ฮา-ดะ)=ทำงาน 일하기 (อิล-ฮา-กี)=การทำงาน
노래하다 (โน-แร-ฮา-ดะ)=ร้องเพลง 노래하기 (โน-แร-ฮา-กี)=การร้องเพลง
2. คำลักษณะนาม
แสดงการนับจำนวน
รูปแบบ: คำนาม+จำนวน+คำลักษณะนาม
เช่น 오렌지 1 개 (โอ-แรน-จี-ฮัน-แก)=ส้ม 1 ลูก
ตัวอย่าง
개 (แค)=ผล
살 (ซัล)=ขวบ
번 (บอน)=ครั้ง
병 (พยอง)=ขวด
시간 (ชี-กัน)=ชั่วโมง
시 (ชี)=ชั่วโมง
분 (บุน)=นาที/ท่าน
사람 (ซา-รัม)=คน
3. คำกริยา
คำที่ใช้แสดงถึงการกระทำ ส่วนใหญ่จะลงท้ายด้วย -다 แบ่งเป็น
1. คำกริยาที่ต้องการกรรม
เป็นคำกริยาที่ต้องการกรรมมารองรับเสมอ
ตัวอย่าง
먹다 (มอก-ตะ)=กิน
운동하다 (อุน-ดง-ฮา-ดะ)=ออกกำลังกาย
듣다 (ทึด-ตะ)=ฟัง
쓰다 (ซือ-ดะ)=เขียน
보다 (โบ-ดะ)=ดู
2. คำกริยาที่ไม่ต้องการกรรม
เป็นคำกริยาที่ไม่ต้องการกรรมมารองรับ
เช่น
자다 (ชา-ดะ)=นอน
서다 (ซอ-ดะ)=ยืน
뛰다 (ตวี-ดะ)=วิ่ง
4. คำอุทาน
เป็นคำที่แสดงอาการตกใจ ดีใจหรือเสียใจ
เช่น
오! (โอ้)=โอ้!
와우! (วา-อู)=ว้าว!
5. คำคุณศัพท์
บอกถึงลักษณะ ท่าทาง คุณภาพ สีสัน ความกว้าง ยาว สูง ของสิ่งต่างๆ
เช่น
예쁘다 (เย-ปือ-ดะ)=สวย
귀엽다 (ควี-ยอบ-ตะ)=น่ารัก
무겁다 (มู-กอบ-ตะ)=หนัก
6. คำวิเศษณ์
บอกถึงความถี่ จำนวนครั้งหรือลักษณะอื่นใด เช่น อย่างสวยงาม อย่างเก่งกล้า เป็นการเพิ่มเข้าในประโยค อยู่ตำแหน่งใดก็ได้ ไม่ต้องมีตัวชี้คำวิเศษณ์
เช่น
그냥 (คือ-นยัง)=ก็แค่
가끔 (คา-กึม)=บ่อย
너무 (นอ-มู)=มาก
또 (โต้)=อีก
다시 (ทา-ชี)=อีกครั้ง
ขอบคุณภาพจาก โรงเรียนขอนแก่นส่งเสริมอาชีพและภาษา
ครั้งต่อไปจะสอนคำสรรพนาม คำสันธาน คำแสดงหน้าที่

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา