10 ก.พ. 2021 เวลา 05:00 • สุขภาพ
กระบวนการหายของแผลเฉียบพลัน
แผลที่เกิดจากของมีคม ขอบแผลเรียบ ไม่ลึกเกินครึ่งเซนติเมตร
ห้ามเลือดด้วยการใช้นิ้วมือกด ห้ามเลือด
หลังจากเลือดหยุด จะล้างแผลด้วยน้ำเกลือล้างแผล หรือไม่ต้องล้างแผลก็ได้
ใช้พลาสเตอร์ดึงขอบแผลให้มาชิดกัน
ปิดโดยไม่ต้องเปิดแผล 7-10 วัน อย่าให้แผลเปียกน้ำ แผลจะหายได้เอง
กระบวนการหายของแผล
ทันทีที่เกิดบาดแผล ทั้งภายนอก ภายในร่างกาย ภายในหลอดเลือดจะเกิดกระบวนการที่เรียกว่า
กระบวนการหายของแผลเฉียบพลัน
กระบวนการนี้จะเกิดขึ้นทันที ที่เนื้อเยื่อได้รับบาดเจ็บ จนถึงแผลปิดสนิทจนเกิดเป็นรอยแผลเป็นขึ้น กระบวนการหายของแผลมี 4 ขั้นตอน ที่เป็นกระบวนการที่ทับซ้อนกัน
หมายความว่ากระบวนห้ามเลือด กับกระบวนการอักเสบ การเพิ่มจำนวนเซลล์ จะเกิดขึ้น ตามมาอย่างรวดเร็ว กระบวนห้ามเลือดยังไม่เสร็จสิ้น กระบวนการอักเสบก็เริ่มทำงาน และในขณะที่สองกระบวนการดังกล่าวทำงาน
กระบวนการเพิ่มจำนวนเซลล์ก็จะทำงานไล่เรี่ยกัน จนถึงระยะที่เซลล์โตเต็มที่เกิดเนื้อเยื่อเกี่ยวพันขึ้นมา ที่เราจะมองเห็นว่าเกิดรอยแผลเป็นเกิดขึ้น
ระยะเวลาการหายของแผลเฉียบพลัน แบ่งเป็น 4 ระยะ
1. ระยะการห้ามเลือด เป็นการตอบสนองทันที ที่หลอดเลือดถูกทำลาย และเกิดบาดแผลขึ้น กลไกของร่างกายคือทำให้หลอดเลือดหดตัวในทันที
ดึงเกล็ดเลือดมาเกาะกลุ่มกันเพื่อห้ามเลือด เป็นกลไกที่ร่างกายช่วยชีวิตเราไม่ให้เราเสียเลือดไปมากและเป็นการป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย
กระบวนการที่ 1 จะเกิดขึ้นทันทีหลังเกิดบาดแผล
2. ระยะการอักเสบ
เป็นกระบวนการที่ร่างกาย เยียวยาตนเองและเป็นการปกป้องตนเองจากการติดเชื้อ โดยการทำให้หลอดเลือดรอบๆแผลขยายตัว
เกิดความร้อน เพื่อให้เม็ดเลือดขาว และเซลล์ที่เกี่ยวข้อง เข้ามาสู่บริเวณบาดแผลได้ง่ายขึ้น จะสังเกตเห็นรอบแผลบวมแดง ร้อน ซึ่งเป็น
กระบวนการทำงานตามปกติของร่างกาย
ดังนั้น ถ้าเราอดทนต่อความเจ็บปวดได้ ไม่แนะนำให้รับประทานยา พาราเซตามอล จะได้ไม่ไปรบกวนกระบวนการทำงานของร่างกาย หรือหายาแก้อักเสบมากิน ทันที
ร่างกายเราสามารถเยียวยาตนเองได้ แต่ถ้าไม่ได้นั่น บ่งบอกว่าภาวะสุขภาพของคุณ เริ่มเสื่อมโทรมลง
อาจเกิดไข้ต่ำๆ ประโยชน์ของไข้คือทำให้เม็ดเลือดขาว สามารถเคลื่อนที่ได้เร็วขึ้น การซ่อมแซมเซลล์ทำได้เร็วขึ้น
ระยะการอักเสบเกิดขึ้นใกล้เคียงกับระยะห้ามเลือด สิ้นสุดกระบวนการเมื่อร่างกายสามารถกำจัดเชื้อได้หมด กระบวนปวด บวม แดงร้อนจะค่อยๆลดลง ในกรณีที่เชื้อโรคมีปริมาณน้อย และเป็นเชื้อที่ไม่รุนแรง
แต่ถ้ากระบวนการอักเสบเกิดอย่างต่อเนื่องเกิน 1 วัน และดูแนวโน้มว่าจะไม่ลดลง เริ่มมีไข้สูงขึ้น เรื่อยๆ นั่นหมายความว่า เชื้อโรคที่ร่างกายได้รับอาจมีปริมาณที่มากเกินศักยภาพของร่างกาย
เช่นแผลที่มีขนาดใหญ่ แผลกระดูกหักที่โผล่ทะลุผิวหนังออกมา จำเป็นต้องได้รับการดูแลที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันการติดเชื้อที่กระดูกซ้ำๆ ซึ่งจะทำให้กระดูกพรุนและบางลง เกิดการอักเสบติดเชื้อตามมาเป็นระยะๆ เมื่อภูมิต้านทานเราตก เชื้อที่ฝังอยู่ในกระดูกก็จะให้เกิดการอักเสบขึ้น
การปล่อยให้เกิดการติดเชื้อซ้ำๆ และการดูแลที่ไม่ถูกต้องก็จะเกิดความพิการตามมา อวัยวะผิดรูป
3. ระยะของการเพิ่มจำนวนเซลล์
เป็นการสร้างเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ขึ้นมาแทนที่เนื้อเยื่อที่ถูกทำลายไปจากบาดแผล ร่างกายจะสังเคราะห์คอลลาเจน เพื่อเพิ่มความแข็งแรง และความยืดหยุ่นให้กับเซลล์ กระบวนการนี้ จำเป็นต้องการสารอาหาร ออกซิเจน
ระยะเวลาเริ่มตั้งแต่วันที่3 เป็นต้นมาจนถึง 21 วัน ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยของระยะเวลาของการหายของแผลเฉียบพลัน
4. ระยะของการเจริญเต็มที่ของเซลล์ ร่างกายจะสร้างความแข็งแรงของเนื้อเยื่อจนเกิดแผลเป็น เริ่มตั้งแต่วันที่ 20 เป็นต้นไป
ภาวะแทรกซ้อน ที่อาจเกิดขึ้นจากบาดแผลและมีกระดูกหักร่วมด้วย ถ้าดูแลไม่ถูกต้องก็จะเกิดข้อติด กล้ามเนื้อลีบ ติดเชื้อที่กระดูกซ้ำ
ขอบคุณเจ้าของภาพที่ร่วมกันสร้างคุณค่า
ขอบคุณเจ้าของภาพ
แผลเล็กๆ ติดพลาสเตอร์กันน้ำแล้วไม่ต้องเปิดทำแผล จนแผลหายได้ ปิดไว้ 10 วันค่อยเปิด ถ้าไม่เปียกน้ำ แผลจะหายไวกว่า การดูแลแผลแบบไปรบกวนกระบวนการหายของแผล
ขอขอบคุณผู้รับบริการทุกท่านที่อนุเคราะห์ อนุญาตให้นำรูปมาสอนเป็นวิทยาทาน

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา