Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Mind InPsych
•
ติดตาม
15 ก.พ. 2021 เวลา 04:00 • การศึกษา
บังเอิญพลาดพลั้ง หรือ จงใจที่จะพลั้งพลาด ???
5
อะไรคือ ความพลาดพลั้งที่เกิดจากความบังเอิญ
และอะไรคือ การจงใจที่จะพลั้งพลาด
ยกตัวอย่างเช่น เด็กน้อยคนนึงถูกฟ้าผ่าขณะเกิดฝนฟ้าคะนอง สิ่งนี้คือ ความพลาดพลั้งที่เกิดจากความบังเอิญ เนื่องจาก เด็กน้อยคนนี้ยังไม่มีความรู้ เกี่ยวกับไฟฟ้า จึงไม่รู้วิธีเอาตัวเองออกจากความเสี่ยงในการถูกฟ้าผ่าได้
อีกตัวอย่าง วิศวะไฟฟ้าถูกฟ้าผ่าใต้ต้นไม้ขณะเกิดฝนฟ้าคะนอง ในมุมมองทั่วๆไปอาจมองว่า นี่คือความประมาทของวิศวะไฟฟ้าคนนี้ ทั้งที่ตัวเองมีความรู้เรื่องไฟฟ้า แต่กลับนำพาตัวเองไปอยู่ในที่เสี่ยงต่อการถูกฟ้าผ่า
1
แต่สำหรับมุมของจิตวิเคราะห์มองว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ เกิดจากกระบวนการบางอย่างภายในจิตใจ ทำให้วิศวะคนนี้จงใจที่จะประมาท และเลือกไปอยู่ใต้ต้นไม้ขณะฝนตก เพื่อให้ถูกฟ้าผ่า สิ่งนี้คือ ความจงใจที่จะพลั้งพลาด (Parapraxis)
ก่อนที่เราจะมาทำความเข้าใจถึงกระบวนการ การเกิด Parapraxis ผู้เขียนขออธิบายแนวคิดคร่าวๆ เกี่ยวกับจิตวิเคราะห์ สำหรับผู้ที่ยังไม่มีพื้นฐานในเรื่องนี้
สมติฐานหลัก ของ จิตวิเคราะห์ประกอบไปด้วย 2 ข้อหลักๆ คือ
1. ทุกอย่างที่เกิดขึ้นมีที่มาที่ไป ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ
2. ทุกความคิด ความรู้สึก พฤติกรรม เกิดจากการทำงานของ Unconscious Mind
แนวคิดสำคัญต่างๆของ จิตวิเคราะห์
Levels of Consciousness (ระดับของจิต) ประกอบไปด้วย 3 ระดับคือ
1. Conscious Mind (จิตสำนึก) เป็นสภาวะที่เราสามารถรับรู้ได้ อยู่ในสภาวะรู้ตัว เป็นเหตุเป็นผล
2. Preconscious/ Subconscious Mind (จิตก่อนสำนึก หรือจิตใต้สำนึก อาจมีการใช้คำแตกต่างกันแล้วแต่ตำรา) เป็นส่วนที่อยู่ระหว่างรู้ตัว และไม่รู้ตัว มีความเรือนลาง ถ้ามีสมาธิตั้งใจก็สามารถระลึกได้
3. Unconscious Mind (จิตไร้สำนึก บางตำราอาจใช้คำว่าจิตใต้สำนึก) เป็นส่วนที่เก็บสัญชาตญาณ ประสบการณ์ต่าง ความรู้สึกต่างๆ เช่น ความเกลียด ความกลัว และเป็นส่วนที่ทำให้พฤติกรรมต่างๆที่ไม่รู้ตัว
The Structure of Personality(โครงสร้างของจิต) ประกอบไปด้วย 3 ตัวคือ
1. ID เป็นจิตใจส่วนที่มีความปรารถนา แรงกระตุ้น แรงขับสัญชาตญาณ ต่างๆ
2. EGO เป็นจิตใจส่วนที่มีเหตุมีผล คอยควบคุม ความต้องการของ ID และ SUPEREGO ให้เหมาะสมทั้ง 2 ฝ่าย
3. SUPEREGO เป็นจิตใจส่วน ศีลธรรม มโนธรรม คอยตัดสินว่าสิ่งไหนถูก สิ่งไหนผิด
Instinct (สัญชาตญาณ) ประกอบไปด้วย 2 ส่วนคือ
1. Life Instinct สัญชาตญาณแห่งชีวิต คือความปรารถนาในการมีชีวิต แรงขับทางเพศ(Sex Drive) ฟรอยด์เรียกพลังงานพื้นฐานนี้ว่า Libido
2. Death Instinct สัญชาตญาณแห่งความตาย เป็นความปรารถนาในการทำลายล้าง แรงขับของความก้าวร้าว(Aggression Drive) ฟรอยด์ เรียกพลังงานนี้ว่า Thanatos
Defense Mechanism (กลไกป้องกันทางจิต)
ในที่นี้ผู้เขียนจะขออธิบายแค่ ตัวเดียวคือ
- Repression (การเก็บกด) เป็นการเก็บความกลัว ความเกลียด ความปรารถนา เหตุการณ์ต่างๆไว้ใน unconscious mind ทำให้ลืมเหตุการณ์ ความรู้สึกนั้นๆ เช่น มีเหยื่อคนนึงถูกข่มขืน แต่กลับจำไม่ได้ว่าตัวเองนั้นถูกข่มขืน แม้จะพยายามนึกเท่าไหร่ ก็ไม่สามารถจำเหตุการณ์นั้นได้เลย
ปล. แนวคิดอื่นๆ ผู้เขียนจะขอยังไม่อธิบายในตอนนี้ ขออธิบายเฉพาะ แนวคิดที่ทำให้เกิดกระบวนการ Parapraxis นี้เท่านั้น
แล้ว Parapraxis(การพลั้งพลาด) เกิดขึ้นได้อย่างไร ?
ในมุมมองของจิตวิเคราะห์ มองว่าสิ่งนี้เกิดจาก การทำงานของ Repression ที่อ่อนแอลง จึงทำให้สิ่งที่ถูกเก็บกดใน Unconscious Mind หลุดออกมากสู่ Conscious Mind ซึ่งสิ่งที่หลุดออกมาอาจเป็นผลมาจาก ID หรือ SUPEREGO ก็ได้
Parapraxis ที่เป็นผลมาจาก ID ส่วนใหญ่มักเกิดในรูปแบบ การพลั้งปาก (Slip of the Tongue) หรืออีกชื่อเรียกคือ (Freudian Slip) (แต่บางครั้งก็เกิดในรูปแบบของพฤติกรรมได้เช่นกัน) ซึ่งเกิดจาก ความปรารถนา หรือ แรงขับที่ถูก เก็บกด ได้รับการปลดปล่อยออกมาเนื่องจาก การทำงานที่อ่อนแอลงของ กลไก Repression
ตัวอย่างเช่น คนบางคนเวลาตกใจ หรือเกิดเหตุการณ์บางอย่าง แล้วอุทานออกมาเป็นศัพท์เกียวกับเรื่องเพศเช่น -ีคว่ำ ,เ-็ดแม่ ,เ-็ดเข้ เป็นต้น ในมุมมองจิตวิเคราะห์ มองว่า คนเหล่านี้มี แรงขับทางเพศ ที่ถูกเก็บไว้ เนื่องด้วยเหตุผลต่างๆ ทางสังคมที่ทำให้ไม่สามารถแสดงออกถึงแรงขับทางเพศนี้ได้อย่างเปิดเผยมากนัก เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่มำให้ กลไก Repression อ่อนแอลง ความปรารถนา แรงขับทางทางเพศ หรือปม Odipus Complex ที่ถูกเก็บไว้ จึงหลุดออกมาในรูปแบบการพลั้งปาก
ปล. ปม Odipus Complex เป็นความปราถนาของเด็กชายที่อยากจะครอบครองแม่ ในช่วง Phallic Stage ซึ้งผู้เขียนจะขอยังไม่ลงรายละเอียดเกี่ยวกับประเด็นนี้
1
ส่วน Parapraxis ที่เป็นผลมาจาก SUPEREGO มักเกิดในรูปแบบของ อุบัติเหตุที่เหมือนเป็นเหตุบังเอิญ(Accidents) เนื่องจาก SUPEREGO เป็นจิตใจส่วนมโนธรรม เมื่อเราทำอะไรบางอย่างที่ผิดต่อมโนธรรม จะทำให้เกิด ความรู้สึกผิดขึ้นภายในจิตใจ และเพื่อที่จะจัดการต่อความรู้สึกผิดนี้ จิตใจของเราก็ได้มีการใช้กลไกทางจิตต่างๆเพื่อจัดการต่อความรู้สึกผิดนี้ หนึ่งในนั่นคือ กลไก Repression ในข้างต้น ที่เมื่อใช้แล้วจะทำให้ลืมความรู้สึกผิดนี้ไป
เมื่อใดก็ตามที่ กลไก Repression อ่อนแอลง แต่ความรู้สึกผิดยังคงอยู่ SUPEREGO ที่รู้สึกผิดจึงได้สร้างพฤติกรรม ที่เหมือนเป็นความพลั้งพลาดให้เป็นอุบัติเหตุเพื่อลงโทษกับความผิดที่อยู่ในจิตใจ
ตัวอย่างเช่น ชายคนนึงขับรถชนประตูบ้านตัวเอง หลังจากกลับจากงานศพพ่อ ทั้งที่ชายหนุ่มคนนี้ขับรถเข้าบ้านตัวเองเป็นประจำ ซึ่งเบื้องหลังเหตุการณ์นี้เกิดจาก ภายในใจของชายคนนี้ ดีใจที่พ่อของตนเสียชีวิต ซึ่งขัดกับจิตใจด้าน SUPEREGO ที่ถูกสั่งสอนมาว่า ไม่ควรคิดร้ายกับบุพการี SUPEREGO จึงสร้างพฤติกรรมพลาดพลั้งให้ชายหนุ่มคนนี้ขับรถชนประตูบ้านตัวเอง เพื่อลงโทษกับความรู้สึกเหล่านี้ภายในจิตใจ
หลายคนอาจมองว่า ความพลาดพลั้งมันเกิดจากความอ่อนเพลีย จึงทำให้เราไม่ได้ระวังตัวเต็มที่และทำให้เกิดอุบัติเหตุ
แต่สำหรับฟรอยด์แล้ว ฟรอยด์กลับมองว่า ความอ่อนเพลียเป็นแค่เครื่องช่วยที่ทำให้ความพลาดพลั้งที่เกิดจากจิตใจ มันเกิดง่ายขึ้นเท่านั้น
เปรียบเทียบว่า การถูกโจรปล้นตอนกลางคืน คือการพลาดพลั้ง
โจร = การทำงานของจิตใจ ที่ทำให้เกิดการพลาดพลั้ง
กลางคืน = ความอ่อนเพลีย
จะเห็นว่า ช่วงเวลากลางคืนไม่ได้ทำให้เราถูกปล้น แต่ช่วงเวลากลางคืน ทำให้โจรปล้นเราได้ง่ายขึ้น
เช่นเดียวกับการพลาดพลั้ง มันเกิดจากการทำงานของจิตใจ แต่ความอ่อนเพลียเป็นตัวช่วยเสริมที่ทำให้เกิดความพลาดพลั้งได้ง่ายขึ้น
16 บันทึก
13
4
5
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
มองผ่านจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis Perspective)
16
13
4
5
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย