15 ก.พ. 2021 เวลา 10:20 • ไลฟ์สไตล์
จะดีมั้ย ? ถ้าทุกครั้งที่ซื้อของแล้วพยายามไม่ให้ขาดทุน
หากทุกครั้งที่เราซื้อของ แล้วเรามองของชิ้นนั้นให้ถี่ถ้วน
และคำนึงถึงประโยชน์ที่จะได้รับ
แม้ในยามที่เราเดือดร้อน
สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้หรือไม่
ก็จะช่วยให้ทุกครั้งที่เราบริโภคสินค้า
แล้วมีโอกาสขาดทุนน้อยลงไปได้บ้าง
3
ซื้อของใช้ด้วยสติ อย่าให้อารมณ์นำ และเราจะได้ของที่คุ้มค่าและราคาที่ไม่แพง 😊
ก่อนหน้านี้ทุกครั้งที่ผมซื้อของใช้ส่วนตัว
หรือ ของที่อยากได้ก็มักจะซื้อตามใจเลย
ไม่ได้ศึกษาข้อมูลหรือ เปรียบเทียบจากหลาย ๆ แหล่ง
ไม่ได้สนใจมูลค่าของมัน พอเบื่อก็ทิ้ง หรือ บริจาคไป
หรือ บางทีก็พังก่อนจะถึงเวลาอันควร เรียกว่าใช้ไม่คุ้ม
แต่พอมาคิดทบทวนในหลาย ๆ ครั้ง
และได้ลองหาความคุ้มราคาของสินค้าที่ซื้อมาใช้
กับ ระยะเวลาแล้วก็พบว่า
บางอย่างเหมือนผมใช้ไม่ค่อยคุ้มค่าเลย หรือ จริง ๆ
เพิ่มเงินอีกนิดหน่อยอาจจะยืดอายุการใช้งานได้เป็นเท่าตัว
ตัวอย่างที่ (ที่ผมคิดว่าใกล้ตัวที่สุด)
👉ใกล้ตัวที่สุดคือ โทรศัพท์มือถือ
ทุกวันนี้แทบจะกลายเป็นอวัยวะที่ 33 ของเราไปแล้ว
1
ผมเคยซื้อมือถือในราคาเครื่องละไม่ถึง 10,000 บาท
แต่ด้วยการใช้งานไม่ว่าจะเป็น ใช้ทำงาน ประชุม
วางแผนงาน จัดการการเงินต่าง ๆ
ใช้เพื่อควาทบันเทิงดูหนัง และ เล่นเกมส์ หรือ อื่น ๆ
ไม่นาน ก็พบว่าโทรศัพท์เราไม่สามารถรองรับการทำงานนั้นได้อีก ก็จะต้องเปลี่ยนเครื่องใหม่
ปัญหาคือ เครื่องเก่ามันจะกลายเป็นซาก
และ แทบจะให้ใครอีกไม่ได้เพราะมูลค่าแทบไม่เหลือแล้ว
จะนำไปขายก็ไม่ได้ราคา หรือ ไม่มีคนรับซื้อด้วยซ้ำ
1
5-6 ปีหลังนี้ ผมเปลี่ยนวิธีคิดใหม่ คือ
ทุกครั้งที่ผมจะซื้อโทรศัพท์
ผมจะมองหารุ่นที่จะต้องใช้ได้อย่างน้อย 3 ปี
และ หลังจากนั้นผมจะต้องขายมันได้
ด้วยราคามากกว่า 50-70%
ของราคาเครื่องที่เคยซื้อมา
หรือ ต้องสามารถเปลี่ยนเป็นส่วนลดเพื่อซื้อเครื่องใหม่ได้ในราคาที่ถูกลงมาก ๆ
หรือ ถ้าเกิดเดือดร้อนผมจะต้องทำเงินจากมันได้ตลอด
“ขายได้ทันที”
“จำนำได้” 😂😂
หลักวิธีคิดง่าย ๆ ในการตัดสินใจซื้อคือ
ให้ลองคิดว่าหากเราซื้อของแล้วเดินออกจากร้านทันที
จากนั้นเดินไปร้านมือสอง เราจะต้องขายได้มากกว่า 70-80%
จะถือว่าของชิ้นนั้นคุ้มค่าที่จะซื้อครับ
1
แต่หากเราซื้อแล้วหันกลับไปร้านมือ 2
แล้วถามราคาหากได้ไม่ถึง 50%
เรารอเก็บเงิน เพื่อเพิ่มความคุ้มค่าอีกสักนิดจะดีกว่ามั้ย ?
เพื่อลดโอกาสขาดทุน และ
ทำให้การบริโภคของเราเกิดประโยชน์สูงสุด
น่าจะดีกว่านะครับ
2
การเป็นคนคิดเยอะแบบนี้แล้วได้ประโยชน์อะไร ?
1. จะทำให้เราเป็นคนเลือกซื้อของที่มองถึงคุณภาพเป็นหลัก
มีความคิดถี่ถ้วน และไตร่ตรองก่อนตัดสินใจซื้อเสมอ
ลดการซื้อซ้ำ หรือ ซื้อของชนิดเดิมบ่อย ๆ
1
2. เราจะได้ของที่มีคุณภาพและ สามารถใช้งานได้นาน
รวมทั้งในยามที่เราเดือดร้อน
ของชิ้นนั้นอาจจะช่วยเหลือคุณได้
1
3. คุณจะมีเงินเหลือเก็บเพิ่มมากขึ้นอย่างน่าตกใจ
1
เช่น
โทรศัพท์มือถือ 1 เครื่องรุ่นเรือธงหลาย ๆ เจ้าจะอยู่ที่ราคา
1
22,000++ หากเราใช้งานได้ 3 ปี
1
หากใช้ครบแล้วนำไปขายได้เงินมา 14,000 บาท
1
จะเท่ากับว่า 22,000-14,000 = 8000 บาท
นั่นแปลว่า คุณใช้โทรศัพท์ 3 ปีที่ราคา 8,000 บาท
แต่ถ้าคุณซื้อโทรศัพท์ 8,000 -12,000 บาท
ใช้งาน 3 ปี (น่าจะถึงล่ะ)
คุณแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะขายต่อได้ ****
1
ทั้งนี้ในแง่ของการลงทุนด้านเทคโนโลยี และ การใช้งานยังไม่ถูกนำมาคิดด้วย แต่ทั้งหมดทั้งมวล เพื่อป้องกันการเข้าใจเจตนาของบทความนี้ผิดประเด็น
ผมแค่ต้องการชี้ให้เห็นว่า ในกรณีที่เราจำเป็นต้องใช้ประโยชน์จากมันมากอยู่แล้ว ก็ถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า
แต่หากเป็นเพียงแฟชั่น หรือ ใช้งานผิดวัตถุประสงค์แบบนี้
แค่คิดจะซื้อก็ถือว่า
เป็นรายจ่าย หรือ ทางออกของเงิน ที่เรียกว่า “การผลาญ”
ไม่นับเป็นการบริโภคนะครับ
ก็หวังว่าจะพอเห็นภาพ ของ การลองเปรียบเทียบ เผื่อใครที่กำลังวางแผนจะซื้อของเพื่อใช้ประโยชน์จะได้ไอเดียไปนะครับ
ผมชอบคำพูดนึงของ Warren Buffet ที่บอกว่า
1
“ถ้าเราซื้อของที่ไม่คุ้มค่า และ ไม่จำเป็น
1
ไม่นานเราจะต้องขายของที่จำเป็นทิ้งไป”
1
ขอบคุณที่อ่านมาถึงตรงนี้นะครับ 🙏❤️
1
ปั้นเงินออม
15 กุมภาพันธ์ 2564
โฆษณา