Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ปั้นเงินออม
•
ติดตาม
14 ก.พ. 2021 เวลา 11:28 • ไลฟ์สไตล์
จงระวัง “ทางออก” ของเงิน ให้มากกว่า “ทางเข้า”
1
ต่อให้หาเงินได้มากเท่าไร หากไม่สนใจรายจ่ายที่จ่ายออกไป สุดท้ายก็ไม่ต่างอะไรอยู่ดี 👍
ในชีวิตคนเรา ปกติแล้ว วงจรของกระแสเงินสดจะเป็น
รายได้ —> รายจ่าย วนไปแบบนี้ซ้ำ ๆ อยู่เสมอ
1
หากเราคิดว่าการจะเพิ่มรายได้
หรือ มีรายได้ให้เพิ่มขึ้นนั้น
จะทำให้เรามีเงินเก็บเพิ่มมากขึ้น
ก็มีส่วนจริงและเป็นธรรมดาอยู่แล้ว
แต่การจะมีรายได้เพิ่ม โดยการขึ้นเงินเดือน
หรือ ได้โบนัสเพิ่มขึ้นนั้น เป็นผลมาจากการมุมานะ
ขยันทำงาน ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในระยะยาว
และ เป็นปัจจัยที่เราควบคุมได้ยาก
1
เนื่องจากจะมีปัจจัยภายนอกที่เราไม่สามารถจัดการได้
อาทิเช่น สภาพเศรษฐกิจ การแข่งขันภายในบริษัท
หรือ ผลประกอบการ หรือ อาจจะพูดได้ว่า
“เราไม่สามารถควบคุมทางเข้า” ของเงินได้
1
แต่โดยหลักการแล้วสิ่งที่เราสามารถควบคุมได้ 100% คือ
“ทางออกของเงิน” หรือ รายจ่าย เพราะเงินไม่สามารถ
2
“ออกไปเองได้” การออกของเงิน
ขึ้นอยู่กับการควบคุมของตัวคุณเอง
1
กล่าวคือ สิ่งสำคัญในการที่เราจะเก็บเงิน คือ
การควบคุมรายจ่าย แทนที่เราจะมุ่งแต่จะหารายได้
ซึ่ง รายจ่ายในที่นี้จะแบ่งเป็น 3 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่
1
“การบริโภค” : เป็นการใช้เงินเพื่อตอบสนองขั้นพื้นฐานของการดำรงชีวิต ซึ่ง เป็นสิ่งจำเป็น
3
“การลงทุน” : เป็นการใช้จ่ายเงินเพื่อต่อยอดทำให้เงินงอกเงยในอนาคต
5
“การผลาญ” : เป็นการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นเพื่อตอบสนองความอยากได้ในช่วงเวลาใด เวลาหนึ่งเท่านั้น
3
เคยไหมที่เราเงินเดือนขึ้นทุกปี แต่กลับไม่ช่วยให้เงินเก็บของเราเพิ่มขึ้นเลย หรือ ยอดเงินที่เก็บก็ไม่สมดุลกับรายได้ที่เพิ่มขึ้น นั่นเพราะเราไม่ได้สนใจทางออกของเงินเลย
2
“หรือที่คนไทยเรามักจะพูดติดปากว่า มีมากใช้มาก”
2
ซึ่งหากเราพิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้ว
ถ้าคิดจะเริ่มต้นเก็บเงินจงมองย้อนกลับไปที่ทางออกของเงิน และจงพยายามควบคุมรายจ่าย
ที่ชื่อว่า “การผลาญ” เงินให้ได้มากที่สุด ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกัน
1
“รอยรั่ว ทางการเงิน” ของเรานั่นเอง
2
ปั้นเงินออม
14 กุมภาพันธ์ 2564
9 บันทึก
61
59
28
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
แนวคิด และ วิธีบริการจัดการเงินออม
แนวคิดสร้างแรงบันดาลใจใน การใช้ชีวิตและเงิน อย่างมีสติ
9
61
59
28
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย