19 ก.พ. 2021 เวลา 05:46 • หุ้น & เศรษฐกิจ
พีระมิดทางการเงิน คืออะไร ?
1
เคยไหมเวลาพูดเรื่องวางแผนการเงินกับใคร มักจะมีบทสนทนาว่า
อยากลงทุนทำอย่างไร ?
1
มีเงินเท่านี้ ลงทุนอะไรดี ?
1
ตอนนี้ลงทุนในหุ้นดีไหม ? ควรซื้อทองไหม ?
1
ซึ่ง การจะกล่าวแบบนั้นก็จะบอกว่าเป็นการตีความ การวางแผนการเงินที่ค่อนข้างแคบเกินไป
วันนี้ผมจะขอ นำหลักสากลทั่วไปเกี่ยวกับการวางแผนทางการเงินมาสรุปให้ฟังนะครับ
2
โครงสร้างพื้นฐานทางการเงินแบบพีระมิด
การวางแผนทางการเงินแบบเข้าใจง่าย ๆ ก็คือ
การจัดการทรัพย์สินทุกอย่างๆที่เรามีอยู่แล้ว
และรวมไปถึงการจัดสรรรายรับรายจ่ายของเรา
เพื่อที่จะสามารถทำให้เราบรรลุเป้าหมายทางการเงินที่ต้องการได้. แม้ว่าอาจจะไม่ได้ครบทุกเป้าหมายที่ต้องการทั้งหมด แต่ก็ควรต้องบรรลุเป้าหมายในส่วนที่สำคัญๆก่อนเสมอ (ซึ่งแต่ละคนก็คงมีเป้าหมายหลากหลาย
แต่ก็คงว่ากันไปตามงบประมาณที่มีแล้วกันใช่มั้ยครับ)
4
หากดูจากรูปเราจะแบ่งโครงสร้างพื้นฐานของพีระมิดออกเป็น 3 ชั้นหลัก ๆ จากฐานขึ้นไป
1
ชั้นที่ 1 จะแบ่งออกเป็นสองเรื่องคือ ความต้องการขั้นพื้นฐาน และ การจัดการความเสี่ยง
1
ประการแรก เราควรจัดการเงินสำรองฉุกเฉินขั้นต่ำ 6 เดือน ถึง 1 ปี หรือ จากวิกฤตโควิตที่ผ่านมาอาจจะพบว่า 1 ปี
นั้นอาจจะไม่เพียงพอแล้วก็ได้ ตรงนี้ก็ต้องมีอยู่ในปริมาณที่เพียงพอไม่มากไปหรือน้อยไปครับ เช่น
2
ถ้าหากเรามีค่าใช้จ่ายต่อเดือนอยู่ที่ 15000 บาท หากเราต้องการสำรองที่ 1 ปี แปลว่าเราต้องมีเงินสำรองอยู่ที่ 180,000 บาท
1
ประการที่สอง การจัดการความเสี่ยง
เรื่องนี้มักจะเป็นจุดตาย หรือ จุดที่เรามองข้ามอย่างมาก
เคยได้ยินไหม
1
เราสามารถทำประกันรถยนต์ปีละ 10000-20000 บาทได้
1
เราสามารถซื้อประกัน เพิ่มให้มือถือได้ เพื่อยืดอายุการใช้งาน
เรายอมทำประกันอัคคีภัยให้กับบ้านได้
หรือแม้กระทั่ง ซื้อ เครื่องใช้ไฟฟ้าเรายังต้องเลือกที่มีประกันยาว ๆ
แต่.....การทำประกันชีวิต หรือ การทำประกันสุขภาพ เรามักมองข้าม หรือ มองว่าเป็นเรื่องไม่จำเป็น
2
ตรงส่วนนี้ผมอยากจะชี้ให้เห็นเพิ่มเติมให้ชัดเจนขึ้นในเรื่องที่มาของรายได้ และ การทำประกัน ยกตัวอย่างเช่น
หากคุณเป็นแหล่งรายได้เพียงช่องทางเดียวของครอบครัว หรือ ตัวคนเดียว และมีรายได้จากงานประจำอย่างเดียว
ถ้าวันใดวันนึง เกิดเจ็บป่วย หรือ ประสบอุบัติเหตุ
และขาดรายได้ คุณไม่ต้องไปนึกถึง
พีระมิดขั้นที่ 2 หรือ 3 ต่อไปเลย
เพราะการเงินคุณจะมีความเสี่ยงทันที
หากไม่ได้จัดการความเสี่ยงในส่วนนี้
2
ผมขอยกตัวอย่างคร่าว ๆ สำหรับการทำประกันชีวิตเพื่อหาทุนประกันตามความเหมาะสมว่าต้องทำประกันที่ทุนเท่าไร
ทุนประกันที่เหมาะสมกรณีเน้นคุ้มครองชีวิต = [ค่าใช้จ่ายต่อปีที่เราจ่ายเพื่อเลี้ยงดูคนอื่น x จำนวนปีที่เราต้องเลี้ยงดู] + ภาระหนี้สินที่เหลืออยู่ทั้งหมด]
Ex.นาย ก. อายุ 35 ปี มีลูก 1 คน อายุ 5 ขวบ จ่ายเงินค่าเลี้ยงดูลูก (ค่าอาหาร / ขนม / เสื้อผ้า / อื่นๆ) เฉลี่ยเดือนละ 6,000 บาท
และจ่ายค่าเล่าเรียนลูก เทอมละ 20,000 บาท ภาระหนี้สินคงค้างมี หนี้บ้าน 2,000,000 บาท
1
ทุนประกันคือ = [{(6,000 x 12) + (20,000 x 2)} x (22-5)] + 2,000,000 = 3,400,000 บาท
ทั้งนี้รายละเอียดเชิงลึกผมมีเพจแนะนำ สามารถติดตามเรื่องราวและการวางแผนประกันที่ดีได้ที่เพจ ของพี่ตา กูรูประกัน
ที่ Link นี้ได้เลยนะครับ
1
ขั้นที่ 2 การเก็บสะสมความมั่งคั่ง
หรือ ออมทรัพย์และวางแผนเกษียณอายุ
แน่นอนเป็นเป้าหมายของทุกคน
คงไม่มีใครอยากทำงานจนวาระสุดท้าย
ของชีวิตจริงไหมครับ ?
1
แต่ว่าแต่ละคนก็มี ภาระที่แตกต่างกันออกไป อาจจะต้องวางแผนควบคู่ไปกับการเลี้ยงดูครอบครัว
หรือ การศึกษาของลูกไปด้วย สำหรับคนที่มีลูก
1
ตรงส่วนนี้หากโฟกัสในเรื่องของการวางแผนหากเป็นพนักงานประจำ ก็อาจจะต้องให้ความสนใจ Provident Fund หรือ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ อาจจะเลือกดู RMF ควบคู่กันไปด้วยก็ได้ครับ
1
ขั้นที่ 3 การลงทุน เห็นมั้ยครับ การลงทุนอยุ่ท้ายสุดเลย ที่จริงขั้น 2 กับ 3 บางคนอาจจะเลือกทำไปพร้อม ๆ กันได้นะครับ ตรงนี้เราจะสามารถยืดหยุ่นได้เลยไม่ได้มีแผนตายตัว
1
ซึ่งผมขอแชร์ในส่วนของผมที่ใช้ก็คือ ผมจะมองการขั้นที่ 2 และ 3 คือ เรื่องเดียวกันแต่จะเปลี่ยนวิธีคิดนิดหน่อยให้เหมาะสมกับสไตล์ตัวเอง
โดยผมจะมองเป็นการเก็บสะสมความมั่งคั่งโดยอิงตามแกนเวลาแทน เช่น
✅ระยะสั้น ได้แก่ การเก็บออมในบัญชีเงินฝาก , ตราสารหนี้ ที่มีสภาพคล่องสูง โดยเงินส่วนนี้จะมีความจำเป็นในการใช้จ่ายในระยะ 0-3 ปี (คนละส่วนกับการสำรองฉุกเฉินนะครับ)
1
✅ระยะกลาง ได้แก่ 5-15 ปี จะเน้นแบ่งลงทุนในหุ้น กองทุนรวมหุ้น เป็นต้น
1
✅ระยะยาว ได้แก่ RMF , Provident Fund คือการเก็บ แล้วไปเจอกันอีกทีตอนอายุ 55 ปีเลยครับ ไม่เอาออกมาใช้
1
ทั้งนี้สัดส่วนของแต่ละคนก็ปรับกันตามความเหมาะสม
ของรายได้ครับ
นอกจากนี้จะเห็นว่า ตลอดของการวางแผนการเงินของเรานั้นจะมีส่วนนึงที่เกี่ยวข้องกับเราตลอดทุกขั้นตอน
นั่นก็คือ ภาษีครับ
📌ส่วนนี้เป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ ซึ่งในการลงทุน หรือ เก็บออมเราก็ควรมองหาเครื่องมือเหล่านี้ร่วมได้ เช่น PVD , RMF , SFF รวมไปถึงการทำประกันทั้งประกันชีวิตและประกันสุขภาพครับ
1
จะเห็นว่าในแต่ละช่วงนั้นจะมีการเกี่ยวข้องที่จะต้องวางแผนเจาะจงลงไปอีกดังนั้น หากเพื่อน ๆ จะไปหานักวางแผนการเงิน จะต้องเตรียมตัวและข้อมูลของเราให้ชัดเจนนะครับ
ว่าเราจะวางแผนส่วนไหนบ้าง และ สัดส่วนพื้นฐานในการใช้จ่ายของเราเป็นอย่างไร
1
ทั้งนี้เราก็จะได้ไม่ต้องเจอกับปัญหา เช่น
แบกรับค่าใช้จ่ายเบี้ยประกันสูงไป หรือ ทำประกันน้อยไป , เงินฉุกเฉินไม่พอ ไปอยู่ในหุ้นหมดแล้ว ปัญหาเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอนครับ
1
หวังว่าบทความนี้จะมอบประโยชน์
ให้แก่ผู้อ่านได้ไม่มากก็น้อยนะครับ
สำหรับวันนี้คงพอเท่านี้ก่อน
แล้วพบกันใหม่คราวต่อไปครับ 🙏❤️
เรียบเรียงโดย
ปั้นเงินออม
19 กุมภาพันธ์ 2564
Reference :
โฆษณา