25 ก.พ. 2021 เวลา 12:00 • การศึกษา
พหุนามเบื้องต้น (ตอนที่ 6) กำลังสองสมบูรณ์
คราวที่แล้วเราได้ยกตัวอย่างการดู พหุนามที่เป็นกำลังสองสมบูรณ์กันไปแล้ว
วันนี้เราจะมาคุยกันต่อในเรื่องของ กำลัง 2 และ รากที่ 2 (Squares, Square Roots) เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกัน
เราได้คุยเรื่องของจำนวนที่เป็นกำลัง 2 ในตอนที่ 3 ไปบ้างแล้ว ตอนนี้จะทบทวนกัน เล็กน้อยครับ
จำนวนที่เป็นเลขยกกำลังมองภาพเหมือน สี่เหลี่ยมจัตุรัส คือด้านทั้ง 4 ด้าน มีความ ยาวเท่ากัน
ถ้าเรามีจำนวน 3 ยกกำลัง 2 เราเรียก 2 ว่าเป็น”ตัวยกกำลัง” และ เรียก 3 ว่า “ฐาน”
ดังนั้น 3 x 3 = 9 เท่ากับ 3 ยกกำลัง 2
จำนวนลบก็ยกกำลังได้
ถ้าฐานเป็นจำนวนลบ เช่น (-3) x (-3) = 9
ดังนั้น (-3) ยกกำลัง 2 เท่ากับ 9 เช่นเดียวกัน
ถ้า 3 x 3 = 9 เท่ากับ 3 ยกกำลัง 2 และ (-3) x (-3) = 9 เท่ากับ -3 ยกกำลัง 2
ดังนั้น รากที่ 2 (Square Root) ของ 9 = ± 3 นั่นคือ รากที่ 2 คือการทำให้ผลลัพธ์ จากการยกกำลัง 2 กลับมาเป็นจำนวนเดิมก่อนการยกกำลัง ดูรูปด้านล่างครับ
ในบางกรณี การถอดรากที่ 2 มีค่าเป็นบวกเท่านั้นเช่น การหาพื้นที่ คือ กว้าง x ยาว ได้ผลลัพธ์เป็นตารางเมตร ถ้าเราทราบขนาดพื้นที่สี่เหลี่ยมจัตุรัส อยากทราบความ ยาวของด้าน เราต้องถอดรากที่ 2 ของพื้นที่ ผลลัพธ์ต้องเป็น “บวก” เท่านั้น
เพราะความยาวต้องไม่มีค่าเป็น “ลบ” ครับ
คราวหน้าเราจะมาคุยกันในเรื่องของพหุนามเบื้องต้น (ตอนที่ 7) กำลังสองสมบูรณ์ กันต่อ ในวันที่ 27 กุมพาพันธ์ 2564 เวลา 19.00 น. ครับ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา