19 ก.พ. 2021 เวลา 23:00 • ไลฟ์สไตล์
การแต่งงาน... คืออะไร?
2
การแต่งงาน... คืออะไร?
คำว่า "ครอบครัว" เป็นคำที่มีความหมายมาก คือ หมายถึง "ความรักความอบอุ่น"
"การแต่งงาน" กัน ไม่ใช่จุดจบดังในละคร แต่อย่างใด
แต่!
นี่คือจุดเริ่มต้นที่ 2 ชีวิตจะต้องเรียนรู้เพื่อการอยู่รอดร่วมกันในทุกเรื่อง โดยมีหลักธรรมะนำทางการปฏิบัติ
การแต่งงาน หรือ งานมงคลสมรส หมายถึงอะไร?
คำนี้ ต้องแยกเป็น 2 งาน คือ งานมงคล กับ งานสมรส
งานมงคล แน่นอน ย่อมเป็นสิริมงคลกับชีวิต
งานสมรส หมายถึง "นำรสแห่งธรรมของทั้งสองฝ่าย คือของเจ้าบ่าวและเจ้าสาว มารวมกัน" อาจรวมถึงปู่ย่าตายาย ด้วยก็ได้
ดังนั้น...
งานมงคลสมรส ย่อมเป็นสิริมงคลด้วยการนำรสแห่งธรรม (คุณงามความดี) ของทั้งสองฝ่ายมารวมกันเป็นครอบครัวให้บังเกิดขึ้น
ครอบครัว จึงหมายถึง "ความรักความอบอุ่น"
และจะมีคำพูดอีกคำที่หนีไม่ได้คือ "การเกี่ยวดองกัน" หมายถึง "ญาติของทั้งสองฝ่ายนั้น ต่างเกี่ยวดองกันโดยทันทีเช่นกัน"
#สาระจี๊ดจี๊ด
มีคำโบราณเปรียบเทียบได้กล่าวว่า "การดองนั้น ถ้าไม่ดี ก็เปรี้ยวเกินไป เค็มเกินไป ต้องดองให้ได้รสพอดี ๆ กัน จึงจะอร่อย" หมายความว่า "ต้องมีศิลปะการอยู่ร่วมกัน การนำหลักธรรมมาปฏิบัติต่อหมู่ญาติทั้งสองฝ่ายให้พอดีกันนั่นเอง"
ขั้นตอนการแต่งงานของไทย
1. การสู่ขอ
ซึ่งฝ่ายชายก็จะให้ญาติผู้ใหญ่ที่ตนให้ความเคารพ ไปสู่ขอผู้หญิงกับพ่อแม่ของฝ่ายหญิง
2. การหมั้น
หลังจากที่มีการสู่ขอแล้ว ขั้นต่อไป ฝ่ายชายก็จะจัดขบวนขันหมากไปที่บ้านของฝ่ายหญิง
3. พิธีแต่งงาน
ตอนเช้าจะทำบุญตักบาตรเลี้ยงพระ รดน้ำสังข์เพื่อให้ญาติผู้ใหญ่ ที่นับถือได้เป็นสักขีพยานในการแต่งงาน จากนั้นก็มักจะมีการกินเลี้ยงกัน
4. ชุดวิวาห์
ชุด ที่ใส่ในพิธีแต่งงานโดยชุดดังกล่าวนั้นจะสวมใส่เฉพาะฝ่ายหญิงหรือสตรีผู้ เป็นเจ้าสาวเรียกว่าชุดวิวาห์ ซึ่งมีหลากหลายสีตามชนชาติ และวัฒนธรรมของชาตินั้น ๆ แต่ส่วนมากจะเป็นสี ขาว ครีม งาช้าง ชมพู แดง ทอง ล้วนแต่เป็นสีมงคลที่จะนำมาสวมใส่ ไม่นิยมสวมใส่สีที่ไม่เป็นมงคล เช่น สีดำ สีม่วง
การแต่งงาน 3 ประเภท
1. วิวาหมงคล
คือ ประเพณีแต่งงานที่นิยมทำกัน ณ บ้านฝ่ายหญิง หรืออาจไม่ใช่บ้านฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่เป็นการแต่งงานที่ฝ่ายชายเป็นผู้สู่ขอฝ่ายหญิง และต้องเข้าพิธีกรรมทางศาสนา โดยฝ่ายชายจะเดินทางเข้าพิธี ณ บ้านฝ่ายหญิงหรือที่ใดที่หนึ่งที่จัดขึ้น ซึ่งก่อนเข้าบ้านฝ่ายหญิงหรือสถานที่ทำพิธีก็จะต้องผ่านประตูเงิน ประตูทอง เพื่อให้ญาติฝ่ายเจ้าสาวยินยอมก่อน หลังจากนั้น ค่อยเข้าสู่พิธีกรรมต่อไป จนถึงแล้วเสร็จพิธี และหลังจากแต่งงานแล้วเสร็จ ฝ่ายชายจะพักอาศัยที่บ้านจ้าวสาวร่วมกับบิดามารดาของฝ่ายจ้าวสาวโดยตลอดหรือแยกพักกับเจ้าสาวเพียงลำพัง
การแต่งงานประเภทนี้ ได้แก่ การแต่งงานตามประเพณีไทย ส่วนการแต่งงานตามประเพณีของชาวคริสต์ ก็ต้องทำพิธีเหมือนกัน คือ ทำการแต่งงานโดยมีบาทหลวงเป็นผู้ทำพิธี ซึ่งนิยมทำพิธีที่โบสถ์หรืออารมในคริสต์ศาสนา ซึ่งก็จัดเป็นวิวาหมงคล เหมือนกับการแต่งงานตามประเพณีไทย
2. อาวาหมงคล
คือ ประเพณีแต่งงานที่นิยมทำกัน ณ บ้านฝ่ายชาย โดยฝ่ายหญิงจะเดินทางเข้าพิธี ณ บ้านฝ่ายชาย ซึ่งก่อนเข้าบ้านฝ่ายหญิงต้องผ่านประตูเงิน และเมื่อแต่งงานแล้วเสร็จ ฝ่ายหญิงจะพักอาศัยที่บ้านฝ่ายชายร่วมกับบิดามารดาของฝ่ายชายหรือแยกพักกับเจ้าสาวเพียงลำพัง ลักษณะการแต่งงานประเภทนี้ จะพบได้ในบางประเทศ เช่น ประเทศอินเดีย และประเทศจีน เป็นต้น
2
3. วิวาห์เหาะ
คือ การแต่งงานที่ไม่ได้เข้าขั้นตอนกี่ทำพิธีแต่งงาน และไม่ได้ทำ ณ บ้านฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง โดยฝ่ายชาย และหญิงอาจแต่งงานกันเพียงจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายเท่านั้น หรือการให้คำมั่นสัญญาที่จะใช้ชีวิตคู่ด้วยกันเท่านั้น จนสร้างครอบครัวเป็นหลักแหล่งได้
#สาระจี๊ดจี๊ด
คำว่า "วิวาห์เหาะ" นั้นเริ่มใช้คำเรียกนี้ สันนิษฐานว่าน่าจะมาจากประเทศอินเดียในสมัยก่อน ธรรมเนียมนี้มักนิยมใช้ในวรรณกษัตริย์ หากเราหาอ่านบทละครสมัยโบราณหลาย ๆ เรื่องมักจะเจอธรรมเนียมอย่างนี้
เงื่อนไขการแต่งงาน การแต่งงานจะต้องมีกฎเกณฑ์ดังต่อไปนี้
1. การแต่งงานจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุครบ 17 ปี บริบูรณ์แล้ว แต่ในกรณีที่มีเหตุสมควร ศาลอาจอนุญาตให้ทำการแต่งงานก่อนนั้นได้ (ป.พ.พ.ม. 1448)
2. การแต่งงานจะกระทำมิได้ถ้าชายหรือหญิงเป็นบุคคลวิกลจริต หรือเป็นบุคคล ซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ (ม.1449)
3. ชายหญิงซึ่งเป็นญาติสายโลหิตโดยตรงขึ้นไปหรือลงมาก็ดี เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาหรือร่วมแต่บิดาหรือมารดาก็ดีจะแต่งงานกันไม่ได้ โดยให้ถือความเป็นญาติตามสายโลหิต ไม่คำนึงว่าจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
4. ผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรมจะแต่งกันกันไม่ได้ (ม. 1451)
5. ชายหรือหญิงจะทำการแต่งงานในขณะที่ตนมีคู่แต่งงานอยู่ไม่ได้ (ม. 1452)
2
6. หญิงที่สามีตายหรือที่การแต่งงานสิ้นสุดลงด้วยประการอื่น จะทำการแต่งงานใหม่ได้ต่อเมื่อการสิ้นสุดแห่งการแต่งงานได้ผ่านพ้นไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน หรือคลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น หรือแต่งงานกับคู่คนเดิม หรือได้มีใบรับรองของแพทย์ประกาศนียบัตร หรือปริญญาบัตรระบุไว้ว่าไม่มีครรภ์ตลอดจนมีคำสั่งของศาลให้ทำการแต่งงานได้
7. เงื่อนไขเกี่ยวกับความยินยอมของบิดามารดาหรือผู้ปกครอง (ตาม ม. 1436) มาตรา 1455 การให้ความยินยอมให้ทำการแต่งงานกระทำได้ แต่จะต้องมีการลงลายมือชื่อในทะเบียนขณะจดทะเบียนสมรส และผู้ปกครองจะต้องทำเป็นหนังสือแสดงความยินยอม โดยระบุชื่อผู้แต่งงานและผู้ปกครองทั้งสองฝ่ายและลงลายมือชื่อของผู้ให้ความยินยอมด้วย สุดท้ายถ้าหากมีเหตุที่จำเป็น จะให้ความยินยอมด้วยวาจาต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คนก็ได้ ความยินยอมนั้นเมื่อเซ็นให้แล้วถอนไม่ได้
8. การแต่งงานตามประมวลกฎหมายนี้ จะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียนแต่งงานแล้วเท่านั้น
#สาระจี๊ดจี๊ด
การแต่งงาน เป็นวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีที่ถือปฎิบัติกันมาอย่างยาวนานแทบจะทุก ประเทศทุกภาษา และมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปบ้างตามความเหมาะสมของยุคสมัย เป็นงานพิธีที่เป็นมงคล จึงมักจะมีพิธีกรรมทางศาสนาร่วมอยู่ด้วย
#Wasabi ขอเพียงมีส่วนเล็ก ๆ ที่ช่วยให้คุณ!
"เจริญเติบโต ก้าวหน้า สำเร็จ อย่างภาคภูมิใจ"
แหล่งที่มา / แหล่งอ้างอิง
#สาระจี๊ดจี๊ด #Wasabi #ความรู้ขึ้นสมอง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา