Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Wasabi
•
ติดตาม
22 ก.พ. 2021 เวลา 22:45 • ปรัชญา
ศิลปะแห่งการครองเรือน
3
ชีวิตคู่มันมีอะไรมากกว่าคำว่ารัก
1
การครองเรือน คืออะไร?
1
การครองเรือน หรือ ชีวิตสมรส คือการที่ชายและหญิงมีความพอใจในรสสัมผัสซึ่งกันและกัน ตกลงใจที่จะใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน จะเผชิญกับปัญหาร่วมกัน และมีความพยายามที่จะดำเนินชีวิตร่วมกันเพื่อความสุขในการครองเรือน
ความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย เริ่มง่าย ๆ... ที่ครอบครัว
เพียงมี 3 สัมพันธ์ และ 5 ภูมิคุ้มกัน ที่จะเชื่อมโยงให้คนในครอบครัวมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกันบนพื้นฐานความเสมอภาคหญิงชาย
3 สัมพันธ์
1
1. ให้เกียรติและห่วงใย
2. ใส่ใจในหน้าที่
3. สื่อสารอย่างสุนทรีย์
1
5 ภูมิคุ้มกัน
1
1. รู้สิทธิ และกฎหมาย
2. รู้เพศศึกษา
3. เข้าร่วมเครือข่าย
4. มีหลักประกันของครอบครัว
5. ดูสื่อให้สร้างสรรค์
ศิลปะแห่งการครองเรือน
อยากมีความรักยั่งยืน ควรทำอย่างไรดี?
การเป็นสามีภรรยากัน เป็นเรื่องที่จะว่ายากก็เหมือนง่าย แต่ครั้นจะว่าง่ายก็เหมือนยาก
คำถาม : "ทำอย่างไรสามีภรรยาจึงจะมีความรักยั่งยืนอยู่กินกันราบรื่น"
คำตอบ : ดวงชะตาคู่ธาตุ ต้องวางฤกษ์ วางลัคนาให้เหมาะ ๆ พรหมลิขิต แหวนหมั้นขันหมากเงินทุนให้มาก ๆ เข้าไว้ ความสุขในชีวิตสมรสจะมีเอง
1
คำตอบอื่น ๆ อีกมากมาย ถามใครก็ตอบไม่ซ้ำกันเลย
คู่สร้างคู่สม
1
พื้นฐานอันมั่นคงที่จะทําให้สามีภรรยาครองชีวิตกันยืนยาว มีความสุข คือ คู่สามีภรรยาต้องมี สมชีวธรรม ได้แก่
1
1. สมสัทธา มีศรัทธาเสมอกัน มีหลักการ มีความเชื่อมั่นในพระศาสนา มีเป้าหมายชีวิตเหมือนกัน
2. สมสีลา มีศีลเสมอกัน ความประพฤติศีลธรรมจรรยา กิริยามารยาทอบรมมาดีเสมอกัน
2
3. สมจาคา มีจาคะเสมอกัน มีนิสัยเสียสละชอบช่วยเหลือ ไม่เห็นแก่ตัว ใจกว้างเสมอกัน
4. สมปัญญา มีปัญญาเสมอกัน มีเหตุผล มีความคิดสร้างสรรค์ เข้าใจกัน เห็นอกเห็นใจกัน พูดกันรู้เรื่อง
1
ธรรมในการครองเรือน (ฆราวาสธรรม)
1
ฆราวาสธรรม แปลว่า ธรรมของผู้ครองเรือน หมายถึง หลักธรรมสำหรับคนธรรมดาสามัญทั่วไปที่เป็นเพศคฤหัสถ์ (ไม่ใช่สมณเพศ)
1. สัจจะ คือ ความซื่อสัตย์ หากมีความซื่อสัตย์ ก็จะเป็นครอบครัวที่อบอุ่น ตรงข้าม หากนอกใจกัน มีแต่ความเร่าร้อน มีแต่ความทุกข์ทอยู่ด้วยกันด้วยความระแวง
2. ทมะ คือการฝึกตนหรือความข่มใจ ให้เราฟังมากกว่าพูด อย่าเอาปากไปไว้ที่ใจ
3. ขันติ คือความอดทน เมื่อมีครอบครัว ความรับผิดชอบก็มากขึ้นตามไปด้วย ทำงานหนักขึ้น ความอดทนก็ต้องเพิ่มตาม
4. จาคะ คือความเสียสละ ต้องรู้จักแบ่งปันน้ำใจให้กันและกัน
หลักสังคหวัตถุ 4 เพื่อการยึดเหนี่ยวน้ำใจกัน
1
1. ทาน การแบ่งปั่นให้แก่กัน (Sharing) เฉลี่ยทุกข์ เฉลี่ยสุข
2. ปียวาจา พูดกันด้วยวาจาไพเราะ แม้การตักเตือนกัน ก็ต้องระมัดระวังคำพูด หากถือเป็นกันเองมากกินไป อาจจะเกิดทิฏฐิ ทำให้ครอบครัวไม่สงบสุข โดยถือหลักว่า ก่อนแต่งงานเคยพูดไพเราะอย่างไร หลังแต่งงานก็พูดให้ไพเราะอย่างนั้น
3. อัตถจริยา ฝึกฝนตนให้เป็นประโยชน์
4. สมานัตตตา วางตัวให้เหมาะสมกับที่ตัวเป็น
หน้าที่ของสามีต่อภรรยา
1. ยกย่องให้เกียรติ
2. อย่าดูหมิ่น ไม่เหยียบหยามว่าต่ำกว่าตน ไม่ดูถูกเรื่องตระกูล ทรัพย์ ความรู้ การแสดงความคิดเห็น ไม่กระทำเรื่องที่เกี่ยวกับครอบครัวโดยไม่ปรึกษา หารือ และห้ามทุบตีด่าทอเด็ดขาด
3. ไม่นอกใจ
4. มอบความเป็นใหญ่ให้ มอบให้เป็นผู้จัดการภาระทางบ้าน ไม่เข้าไปก้าวก่ายในเรื่องการครัว การปกครองภายใน นอกจากเรื่องใหญ่ ๆ ซึ่งภรรยาไม่อาจแก้ปัญหาได้
5. ให้เครื่องแต่งตัว
หน้าที่ของภรรยาต่อสามี
1. จัดการงานดี จัดบ้านให้สบายน่าอยู่ จัดอาหารให้ถูกปากและทันตามความต้องการ จัดเสื้อผ้าเครื่องใช่ให้สะอาดอยู่เสมอ ดูแลลูกเต้า ให้ความรักอบอุ่น ให้ลูกเติบโตขึ้นมาด้วยสุภาพแข็งแรงและเป็นคนดี
2. สงเคราะห์ญาติข้างสามี ด้วยการเอื้อเฟื้อ กล่าววาจาไพเราะ ให้ความช่วยเหลือตามฐานะที่จะทำได้
3. ไม่นอกใจ จงรักภักดี ชื่อสัตย์ต่อสามีเพียงผู้เดียว
4. รักษาทรัพย์ให้ดี ไม่ฟุ่มเฟือย แต่ก็ไม่ตระหนี่ รู้จักใช้ทรัพย์ไห้เป็น
5. ขยันทำงาน ขยันขันแข็งทำงานบ้าน ไม่เอาแต่กิน นอน เที่ยว หรือเล่นการพนัน
3 สัมพันธ์
1. ให้เกียรติและห่วงใย
ทำได้โดยลดอคติในการเลี้ยงดูลูกสาว ลูกชาย ยอมรับซึ่งกันและกัน เคารพในการตัดสินใจของกันและกัน มีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ร่วมแบ่งปันความทุกข์ และร่วมยินดีในความสุข
ให้เกียรติและห่วงใย
ทำไม สามี... ไม่ให้เกียรติภรรยา ?
เพราะความเชื่อผิดที่ว่า...
- ภรรยามีหน้าที่ดูแลสามีและลูก
- ภรรยามีหน้าที่ทำงานบ้าน
- ภรรยาอยู่ภายใต้การปกครองของสามี
ทำไม ภรรยา... ไม่ให้เกียรติสามี ?
เพราะความเชื่อผิดที่ว่า...
- ตัวเองเก่งกว่า มีความสามารถ มีตำแหน่งหรือมีอาชีพดีกว่า
- หากตัวเองไม่ข่มสามี ก็จะถูกสามีข่มเหง
- หากไม่ควบคุมสามีอย่างเข้มงวดสามีก็จะออกนอกลู่นอกทาง
ทำไม สามีและภรรยา จึงควรให้เกียรติกันและกัน?
เพราะความเชื่อที่ว่า...
หากคนในครอบครัวอยู่ด้วยความรักและความเข้าใจ ครอบครัวนั้นก็จะมีความสุข เพราะเราคือครอบครัวเดียวกัน เราจึงยอมรับ ช่วยเหลือ และไว้วางใจกันและกันนั้นทำให้เราเชื่อว่า...
- หน้าที่ในบ้านเป็นหน้าที่ของสมาชิกทุกคนในครอบครัว
- พ่อแม่ต้องรับฟังลูก และลูกต้องรับฟังเหตุผลของพ่อแม่
ครอบครัวจะเป็นอย่างไร ?
หากสมาชิกในครอบครัวห้เกียรติและห่วงใยกันและกัน
- สมาชิกในครอบครัวจะมีสัมพันธภาพที่ดีระหว่างกัน
- ปัญหาต่าง ๆ ในครอบครัวจะลดน้อยลง
- ครอบครัวจะสามารถหลีกเลี่ยงภาวะเสี่ยงต่าง ๆ เช่น ปัญหาพ่อไม่อยากกลับบ้าน แม่ขี้บ่น ลูกติดเกม
- ครอบครัวจะสามารถผ่านพ้นวิกฤติต่าง ๆ ได้ เพราะสมาชิกในครอบครัวจะมีความรักความสามัคคีกัน และร่วมแรงร่วมใจกันฟันฝ่าวิกฤติจนสำเร็จ
1
2. ใส่ใจในหน้าที่
ใส่ใจหน้าที่ ทำได้โดยความรับผิดชอบของสมาชิกในครอบครัว เช่น
- การแบ่งงานกันทำในครอบครัว
- การปรับเปลี่ยนบทบาทหน้าที่ตามสถานการณ์
- การตัดสินใจในครอบครัว และการรับผิดรับชอบร่วมกัน
3. สื่อสารอย่างสุนทรีย์
สื่อสารอย่างสุนทรีย์ ทำได้โดย
- การพูดอย่างสร้างสรรค์
- การรับฟังอย่างตั้งใจ
- การใช้เวลาร่วมกันอย่างมีคุณภาพ
- การแสดงความรักระหว่างสมาชิกในครอบครัว ทั้งกาย วาจา และใจ
ความสุขของผู้ครองเรือน
1. อัตถิสุข สุขเกิดจากความมีทรัพย์ คือมีทรัพย์ที่หามาได้ด้วยน้ำพักน้ำแรงของตน ที่หามาโดยสุจริต ชอบธรรม เมื่อมีทรัพย์แล้วก็ทําให้ภาคภูมิใจ เอิบอิ่มใจ ไม่เดือดร้อนใจ
2. โภคสุข สุขเกิดแต่การใช้จ่ายทรัพย์ที่หามาได้ คนที่มีทรัพย์ อยู่ในมือแล้วย่อมสบายใจ เอิบอิ่มใจ เมื่อเวลาที่ต้องการจะใช้ก็สามารถจะเอามาใช้ได้ไม่ขาดแคลน
3. อนณสุข สุขเกิดจากความไม่เป็นหนี้ พยายามใช้จ่ายให้พอเหมาะพอสมกับฐานะ
4. อนวัชชสุข สุขอันเกิดจากความประพฤติที่ไม่มีโทษ คือ ประพฤติสุจริตธรรม
#สาระจี๊ดจี๊ด
การที่เรามีคนรัก เป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นของความรักเท่านั้น ส่วนความรักจะยืนยาวแค่ไหน ขึ้นอยู่กับการใส่ใจ ห่วงใย ดูแลกัน ความสุขจากการครองเรือน เป็นความสุขที่มนุษย์แสวงหา และแทบจะกล่าวได้ว่าเป็นจุดมุ่งหมายของชีวิตทุกชีวิตที่ปรารถนาจะได้คู่ครองที่ดีมีความสุขจากการครองเรือน สุดท้ายแล้วมนุษย์ไม่ได้อยากมีแค่คนรักหรือคู่ครอง มนุษย์อยากมีความสุขจากความสัมพันธ์ ที่จะจับมือพากันไปจนแก่เฒ่าด้วยกัน
2
#Wasabi ขอเพียงมีส่วนเล็ก ๆ ที่ช่วยให้คุณ!
"เจริญเติบโต ก้าวหน้า สำเร็จ อย่างภาคภูมิใจ"
แหล่งที่มา / แหล่งอ้างอิง
https://cutt.ly/UlkrdLD
https://cutt.ly/slkJnUF
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต อันนนาถสูตร
#สาระจี๊ดจี๊ด #Wasabi #ความรู้ขึ้นสมอง
15 บันทึก
30
15
21
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Love Friendship Family Social
15
30
15
21
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย