Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ฟาฮัดเป็นนักกำหนดอาหาร
•
ติดตาม
23 ก.พ. 2021 เวลา 13:59 • สุขภาพ
อีกหนึ่งปัญหาที่ทำให้คนไข้มะเร็งไปต่อไม่ได้คือ ภาวะ cachexia
เมื่อพูดถึงมะเร็งก็มักมีภาพคนไข้ cachexia หรือ หนังหุ้มกระดูก ผุดขึ้นมาในหัว ผู้ป่วยที่มีภาวะ cancer cachexia มักเกิดจากปัจจัย 2 อย่างคือ การกินอาหารได้น้อยลงมากๆ และการเปลี่ยนแปลงของเมทาบอลิซึมในร่างกายของผู้ป่วยเอง ซึ่งฟาฮัดในฐานะนักกำหนดอาหารอยากบอกว่า “ภาวะทุพโภชนาการในผู้ป่วยมะเร็ง” มันไม่ใช่เรื่องเล่นๆ เพราะมันจะทำให้แพทย์ไม่สามารถดำเนินการรักษาในขั้นตอนต่อๆ ไป จนอาจทำให้คนไข้และญาติไม่ได้ไปถึงฝันที่ตั้งไว้...
คนไข้มะเร็งส่วนใหญ่ร้อยทั้งร้อยจะรับประทานอาหารได้น้อยลงอยู่แล้ว ซึ่งเกิดจากปัจจัยหลายๆ อย่าง เช่น ความอยากอาหารลดลง กลืนอาหารลำบาก คลื่นไส้อาเจียน คนไข้บางคนอาจมีการรับรสอาหารเปลี่ยนแปลงไป ทำให้ไม่ชอบทานอาหารที่เคยชอบ หรือจะเป็นปัญหาที่มาจากสภาพจิตใจอย่าง การหมดกำลังใจ ความท้อแท้ ซึมเศร้า ฯลฯ นอกจากนี้ มะเร็งบางชนิดอาจทำให้ท้องไส้ปั่นป่วน อึดอัดแน่นท้อง ท้องผูก ยาแก้ปวดบางชนิดที่ใช้ในโรคมะเร็ง ก็อาจมีผลกระทบต่อความอยากอาหารของคนไข้ได้
เรามักพบภาวะ Cachexia และ Anorexia ได้มากขึ้นเมื่อผู้ป่วยอยู่ในช่วงท้ายของโรค ซึ่งคำสองคำนี้มีเส้นบางๆ คั่นอยู่นั่นคือ 👇🏻
📌Anorexia: ผู้ป่วยมีอาการเบื่ออาหารร่วมกับมีการลดลงของ Caloric intake
📌Cachexia: ผู้ป่วยน้ำหนักลดมากกว่าร้อยละ 10 ร่วมกับมีภาวะลดลงของกล้ามเนื้อและไขมัน
ซึ่งแม้ทั้ง 2 ภาวะนี้จะพบร่วมกันได้บ่อย แต่ก็พบได้เช่นกันว่าผู้ป่วยมีภาวะ Cachexia มานานก่อนที่จะมีภาวะ Anorexia หรืออาจจะไม่พบร่วมกันเลยก็ได้
กลไกของอาการเบื่ออาหารในผู้ป่วยมะเร็งคืออะไร? 🤔
ในผู้ป่วยมะเร็ง ร่างกายจะมีการผลิต Interleukin 1B และ Leptin มากขึ้น
👉🏻 Interleukin 1B เป็น Cytokine หลักที่ออกฤทธิ์ไปยัง Vagus nerve แล้วส่งผ่านการรับความรู้สึกไปยัง Brain stem และ Hypothalamus ส่วนที่กำหนดความอยากอาหาร
👉🏻 Vagus nerve เองเป็นตัวกำหนดความรู้สึกอิ่มในทางเดินอาหารและเกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนโดยตรง
👉🏻 Leptin เป็นฮอร์โมนความอิ่มที่ผลิตจาก Adipocyte cell แล้วถูกขนส่งผ่านเข้าไปใน Blood Brain Barrier ทำให้เกิดอาการอิ่ม
การประเมินอาการเบื่ออาหารทำได้อย่างไร? 🤔
👉🏻 ถามจากผู้ป่วยโดยตรง (Subjective feeling) อาจใช้คำถามเปิดเช่นภาวะความอยากอาหารมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้างตั้งแต่ได้รับการวินิจฉัยโรคหรือตั้งแต่ได้รับการรักษา
👉🏻 ใช้แบบสอบถาม ESAS ในหัวข้อเรื่องความอยากอาหารโดยประเมินเป็นคะแนน ตั้งแต่ 0-10 โดย 0 คือ อยากอาหารมากที่สุด และ 10 คือไม่มีความอยากอาหารเลย
👉🏻 ประเมินปริมาณอาหารและแคลอรี่ที่ผู้ป่วยได้รับใน 24ชั่วโมง
บทบาทของนักกำหนดอาหารกับการป้องกันภาวะ cachexia 🙋🏻♂️
นักกำหนดอาหารควรกำหนดโปรตีนให้กับผู้ป่วย 1.2-1.5 g/kg/d ให้กับผู้ป่วยมะเร็ง ตั้งแต่แรกเริ่มการรักษา เพื่อเตรียมพร้อมสู่การรักษา และควรให้คำแนะนำที่ถูกต้องว่า อะไรกินได้ อะไรกินไม่ได้ เพราะคนไข้มะเร็งมักมีความกังวลในเรื่องการกินมาก รวมถึงต้องนัด follow up น้ำหนักตัว และมวลกล้ามเนื้ออยู่เสมอ
สุดท้ายนี้ไม่รู้ว่าโพสต์นี้จะไปถึงมือใครบ้าง แต่ส่งเสียงไปถึงทุกคนไม่ว่าจะเป็นเหล่า clinician และญาติ ให้ใส่ใจภาวะโภชนาการของผู้ป่วยมะเร็งมากยิ่งขึ้น เพราะนี่คือกุญแจสำคัญที่จำไขประตูไปสู่การรักษาในขั้นต่อไปและหากพระเจ้าประสงค์ คนไข้จะดีขึ้นจนสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุขครับ 😊
#หวังว่ามันจะมีประโยชน์นะครับ
#ฟาฮัดเป็นนักกำหนดอาหาร
[อ้างอิง]
https://med.mahidol.ac.th/fammed/th/postgrad/doctorpalliative15th
บันทึก
1
1
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย