24 ก.พ. 2021 เวลา 23:00 • ปรัชญา
ง้อได้ ง้อ (แบบนี้สิ) ดี! 💚
2
เริ่มง่าย ๆ ตามนี้ลองทำดู!
ง้อได้ ง้อ (แบบนี้สิ) ดี! 💚
"การเริ่มต้นใหม่กับใครสักคนต้องใช้ทั้งเวลา และความพยายาม"
ฉะนั้น...
หากคู่ของคุณยังมีความมุ่งมั่นในการฝ่าฟันวิกฤตนี้ไปด้วยกัน (รวมทั้งความรู้สึกที่ดีต่อกันอยู่) การคืนดีเพื่อเริ่มกันใหม่แบบที่ดูคูลก็ไม่ใช่เรื่องที่ยาก เมื่อคุณเริ่มอย่างถูกวิธี
โดยจะแบ่งขั้นตอนออกเป็น 2 ช่วง ดังนี้
1. การเตรียมตัวขอคืนดี
2. เดินหน้าง้อ
ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมตัวขอคืนดี
1.1 จงจำไว้ว่าการให้อภัยกับการสงบศึกเป็นคนละเรื่องกัน!
1
คนส่วนใหญ่มักจะสับสนในเรื่องนี้ การให้อภัยเป็นสิ่งที่เกิดได้จากความรู้สึกของตัวเองเพียงฝ่ายเดียว แต่การสมานฉันท์นั้นเกิดจากความต้องการปรองดองและตกลงกันของทั้งคู่ หากมีใครคนใดคนหนึ่งที่ไม่เต็มใจหรือพร้อมที่จะทำ การคืนดีนี้ก็จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลย...
ซึ่งเวลานี้อาจจะแค่ยังไม่เหมาะ คงต้องรอไปก่อนอีกสักระยะ
- อย่าขอร้องหรืออ้อนวอนคู่ของคุณจนดูคร่ำครวญมากเกินเหตุ ควบคุมสติและการกระทำของตัวเองให้ดี
- หากคู่ของคุณยังไม่พร้อมที่จะเริ่มต้นพูดคุยกันเกี่ยวกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ควรให้เวลาและระยะห่างแก่คนรักของคุณ
1.2 ตั้งผลลัพธ์ที่เป็นไปได้จริง
เพราะการคืนดีนี้ไม่อาจจะคาดหวังให้ทุกอย่างที่เกิดขึ้นกลับไปเป็นปกติเพียงแค่เริ่มพูดคุยกันเพียงแค่ครั้งเดียวได้ ควรมุ่งเน้นเป็นชัยชนะเล็ก ๆ ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะถึงหลักชัยสุดท้าย
โดยเวลาจะช่วยในการเยียวยาและรักษาความสัมพันธ์ของคุณไปด้วย
1
ตัวอย่างชัยชนะเล็ก ๆ อาจเป็นการมีบทสนทนาที่ดีต่อกัน สามารถพูดคุยเกี่ยวกับปัญหาโดยไม่ขึ้นเสียงใส่กันได้
1.3 ทิ้งอัตตาของตัวเองไปซะ
1
การคืนดีต้องใช้ความซื่อสัตย์ ไม่ว่าคุณหรือคู่ของคุณที่เป็นฝ่ายผิด ควรเตรียมใจในการรับฟังเรื่องต่าง ๆ ของตัวเองที่คุณอาจจะไม่ชอบหรือเต็มใจที่จะคิดว่าตัวเองเป็นคนที่ผิด คุณอาจจะต้องเตรียมรับความรู้สึกเจ็บปวด ผิดหวัง และความเห็นต่าง ๆ ในมุมมองของคนอื่นด้วย
- ความปรารถนาและความเต็มใจในการคืนดีของคุณจะแสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของคุณ
- อาจเป็นการดีถ้าคุณสามารถพูดคุยสะท้อนความรู้สึกต่าง ๆ กับตัวเองก่อนที่จะเริ่มสนทนากับคู่ของคุณ เพื่อตกตะกอนทางความคิดและคาดการณ์สถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้เพื่อเตรียมตัวรับมือ
1.4 ประเมินความเสียหายที่เกิดขึ้น
ควรใช้เวลาในการคิดทบทวนถึงความบาดหมางที่เกิดขึ้นในความสัมพันธ์ ระบุปัญหาอย่างเฉพาะเจาะจงเป็นเรื่อง ๆ ดูว่าตัวเองมีส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างไรในปัญหานี้ รวมทั้งคิดวิธีในการจัดการแก้ปัญหา
- วิธีนี้จะเป็นประโยชน์โดยช่วยให้คุณโฟกัสถึงต้นตอของปัญหา รวมทั้งแสดงให้คู่ของคุณเห็นว่าคุณพร้อมที่จะมีส่วนร่วมในการจัดการความสัมพันธ์นี้ไปด้วยกัน
1
- ขณะที่ระดมความคิดเกี่ยวกับวิธีที่จะใช้แก้ปัญหา ให้ระบุถึงปัญหาหรือเรื่องที่มีความชัดเจน เพื่อดูส่วนที่เกี่ยวข้องและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อคนอื่นด้วย ให้ตัดสินใจเลือกการกระทำโดยคำนึงถึงความรู้สึกของคุณทั้งคู่ และลองคิดในมุมกลับกันด้วยว่าการกระทำของฝ่ายตรงข้ามในแบบต่าง ๆ ทำให้ตัวเองรู้สึกอย่างไรบ้าง โดยวิธีแก้ปัญหาใดใดที่จะใช้ควรเป็นประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย
- นี่อาจเป็นเรื่องยาก เมื่อคุณยังรู้สึกโกรธหรือไม่พอใจต่อคู่ของคุณ แต่คุณควรตัดสินใจอย่างมีสติโดยคิดถึงจิตใจและความรู้สึกของคนอื่นด้วย
1
- ลองจินตนาการว่าหากคุณเป็นเขาจะรู้สึกอย่างไร? เช่น คู่ของคุณโกรธ เจ็บปวด หรือรังเกียจหรือไม่? ลองนึกว่าหากคุณมีอารมณ์ความคิดแบบเดียวกับเขาแล้วจะรู้สึกแบบไหน? เพื่อสร้างความเข้าอกเข้าใจ
3
ขั้นตอนที่ 2 เดินหน้าง้อ
2.1 แสดงถึงความตั้งใจที่ดีมุ่งผลเชิงบวก
เริ่มจากการบอกกล่าวความตั้งใจของคุณ เมื่อความเชื่อใจถูกทำลายไปมันอาจจะยากที่จะทำให้อีกฝ่ายเชื่อ แต่เป็นเรื่องสำคัญที่คุณต้องแสดงให้เห็นความตั้งใจในการจัดการความสัมพันธ์นี้ระหว่างคุณกับคู่อย่างจริงใจ
- คุณอาจจะเริ่มบทสนทนาโดยพูดว่า
“ก็รู้ว่า... ที่ผ่านมาระหว่างเราไม่ค่อยจะไปด้วยกันได้ดีสักเท่าไร แต่ก็อยากจะทำให้อะไร ๆ มันดีขึ้นจริง ๆ นะ”
1
2.2 ยอมรับความโกรธและความไม่พอใจที่มี
เมื่อคุณหรือคู่รู้สึกขุ่นมัวต่อกัน ไม่ควรแกล้งทำเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นและปล่อยให้มันผ่านไปเฉย ๆ คุณทั้งสองควรคุยกันถึงเรื่องที่เกิดขึ้นว่าอะไรคือสื่งที่ทำให้รู้สึกไม่พอใจ โดยรับฟังซึ่งกันและกัน
1
- อาจจะเป็นการดีกว่าถ้าคุณเขียนบรรยายถึงความรู้สึกที่เกิดขึ้นเพื่อทบทวนและลำดับความสำคัญของเรื่องราวก่อนที่จะพูดโดยคู่ของคุณสามารถทำแบบเดียวกัน ก่อนทำการแลกเปลี่ยนเพื่อเช้าใจถึงมุมมองของคุณทั้งสองที่มีต่อสิ่งที่เกิดขึ้น
1
- เมื่อคนใดคนหนึ่งแสดงความรู้สึกไม่พอใจ อย่าเพิ่งหลบเลี่ยง เช่นคำพูดที่ว่า “คุณไม่ควรรู้สึกแบบนั้น” หรือ “นั่นไม่เห็นจะมีเหตุผลเลย” ให้ลองพูดว่า “คุณมีสิทธิ์ที่จะรู้สึกแบบนั้น” หรือ “ฉันเข้าใจว่าทำไมคุณถึงรู้สีกแบบนี้”
2.3 รับฟังมุมมองของอีกฝ่าย
เปิดให้คู่ของคุณพูดคุยในเรื่องนี้ผ่านมุมมองของตัวเอง การทำความเข้าใจฝ่ายวิธีของทั้งสองฝ่ายจะทำให้เข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างถ่องแท้มากขึ้น ทำให้ไม่เกิดความผิดพลาดซ้ำเดิมอีกในอนาคต "คุณและคู่ต้องมีความเห็นอกเห็นใจต่อกัน" ซึ่งสิ่งนี้จะช่วยบรรเทาความรู้สึกไม่ดีที่เกิดขึ้นระหว่างกันได้
- ลองถามตัวเองว่าคุณจะทำอย่างไรหากคุณเป็นตัวเขาในสถานการณ์เดียวกัน ลองคาดการณ์ความรู้สึกและสิ่งที่คุณจะกระทำ
- ให้ความสนใจขณะคู่ของคุณกำลังพูด ไม่โต้กลับหรือพูดขัด รอจนฝ่ายตรงข้ามพูดเสร็จคุณค่อยแสดงความเห็นต่อไป
1
2.4 ยอมรับและขอโทษสำหรับเรื่องที่ทำผิด
หลังจากการพูดคุยปรับความเข้าใจระหว่างกันจบลง คุณควรขอโทษฝ่ายตรงข้ามสำหรับการกระทำใดใดของตัวเองที่อาจทำร้ายความรู้สึกและทำให้เจ็บปวด นี้เป็นการแสดงออกถึงการเคารพและความเห็นอกเห็นใจต่อคนอื่น
1
ในคำขอโทษควรระบุถึงการกระทำที่คุณเสียใจ รวมทั้งแสดงความรับผิดชอบในการยินดีที่จะทำบางอย่างเพื่อให้สถานการณ์นี้ดีขึ้น
1
- การขอโทษใครสักคนไม่ใช่เรื่องน่าอายหรือแสดงว่าคุณอ่อนแอ มันแสดงว่าคุณมีความกล้าหาญมากต่างหาก
1
- คุณอาจจะลองพูดขอโทษแบบนี้... “ขอโทษสำหรับความเจ็บปวดที่เกิดขึ้น ฉันไม่ควรทำมันเลย และมันจะไม่เกิดขึ้นซ้ำอีก” พยายามพูดเจาะจงให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้เกี่ยวกับเรื่องที่คุณต้องการขอโทษ คำขอโทษที่กว้างเกินไปหรือคลุมเครืออาจดูไม่จริงใจนัก
- เมื่อคุณยอมรับคำขอโทษ ให้ขอบคุณฝ่ายตรงข้ามและทราบถึงสิ่งที่ทำ โดยอาจพูดว่า “ฉันยอมรับคำขอโทษของคุณแล้ว” หรือ “ฉันรับคำขอโทษของคุณ และรู้ว่ามันเป็นเรื่องที่ยากสำหรับคุณเหมือนกัน”
2.5 ขอและ/หรือยอมรับการให้อภัย
เมื่อขอโทษสำหรับการกระทำผิดใด ๆ ที่แสดงถึงความเสียใจในสิ่งที่เกิดขึ้นไปแล้ว ก็ถึงเวลาที่จะก้าวไปข้างหน้าต่อ การให้อภัยนั้นเป็นมากกว่าแค่การยอมรับ
เมื่อการให้อภัยเกิดขึ้นมันจะช่วยให้คุณได้ปล่อยวางและปลดปล่อยความรู้สึกเชิงลบออกไป หากคุณเป็นคนที่ต้องการการให้อภัยให้แสดงความซื่อสัตย์และขอโทษอย่างจริงใจ ส่วนผู้ที่ต้องให้อภัยผู้อื่นไม่ได้แปลว่าคุณเป็นคนใจอ่อนหรือชอบโทษคนอื่น
- การให้อภัยนับเป็นทางเลือกหนึ่ง ในขณะที่คนทั้งคู่กำลังปลดปล่อยอารมณ์โกรธ ไม่พอใจ และว่ากล่าวกัน
- ไม่ควรยอมรับคำขอโทษหรือขอการให้อภัยหากไม่ได้รู้สึกแบบนั้นจริง ๆ ถ้าคุณยังไม่พร้อมที่จะให้อภัยคนอื่น คุณสามารถบอกได้ว่า “ฉันขอเวลาคิดทบทวนก่อน ได้โปรดรอหน่อย”
- หากอีกฝ่ายไม่เต็มใจที่จะให้อภัย คุณไม่จำเป็นต้องอ้อนวอนร้องขอเพื่อการนั้น สิ่งที่ควรทำคือพยายามอดทนรอ ซึ่งการทำแบบนี้จะช่วยรักษาศักดิ์ศรีของคุณไปพร้อมกันด้วย
- การให้อภัยทำให้เกิดความสมานฉันท์ได้ง่ายขึ้น แต่ไม่ได้เป็นข้อบังคับว่าคุณต้องทำ มันโอเคนะถ้าคุณทั้งคู่ยังไม่พร้อมที่จะให้อภัยกัน เพราะอย่างไรมันก็ยังเหลือความเป็นไปได้ในการคืนดีกันอยู่
2.6 โฟกัสที่ปัจจุบัน
เมื่อกล่าวถึงความเจ็บปวด การให้อภัยและขอโทษเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับไปยังขั้นตอนต่อไป การรื้อฟื้นเรื่องเก่าที่ผ่านมาไม่ใช่เรื่องน่าทำและไม่สร้างสรรค์ในการปรับความเข้าใจของกันและกกัน ควรมุ่งเน้นให้ความสนใจไปยังการสร้างและพัฒนาความสัมพันธ์ในตอนนี้ให้ดีจะดีกว่า
- ควรตกลงให้เห็นตรงกันในการปล่อยวางเรื่องในอดีต และช่วยกันแสดงความคิดแนวทางของความสัมพันธ์ที่จะมีร่วมกันต่อไปในอนาคตแทน
- ทำรายการกิจกรรมที่น่าทำร่วมกัน เช่น กำหนดเวลาโทรคุยกันในระหว่างสัปดาห์ หรือเลือกเมนูสำหรับมื้ออาหารต่าง ๆ ร่วมกันสองคน
2.7 เริ่มสร้างความไว้วางใจขึ้นมาอีกครั้ง
ความเชื่อใจกันและกันเป็นรากฐานของความสัมพันธ์ที่แข็งแรง เมื่อมันถูกทำลายไปการสร้างขึ้นมาใหม่ย่อมต้องใช้ทั้งเวลาและความพยายาม ทั้งคุณและคู่จะต้องสื่อสารอย่างเปิดเผยจริงใจตรงไปตรงมา
โดยให้สอดคล้องกับการกระทำของตัวเอง รวมทั้งมีความอดทนและรู้จักเสียสละในบางครั้ง
- คำพูดและการกระทำของคุณต้องเป็นไปในทางเดียวกัน ถ้าสัญญาว่าจะทำเรื่องใดก็ต้องทำได้ตามที่บอก
- หากรู้ตัวว่าได้เผลอทำร้ายความรู้สึกของฝ่ายตรงข้ามให้กล่าวขอโทษในทันที และแสดงให้เห็นว่าคุณรับรู้ถึงความรู้สึกของเขา
#สาระจี๊ดจี๊ด
การรักษาความสัมพันธ์ไม่ว่าจะในรูปแบบของมิตรภาพ ครอบครัว หรือคู่รักมักเป็นเรื่องที่ท้าทายเสมอ คนส่วนมากมักเจ็บปวดเกี่ยวกับเรื่องความสัมพันธ์ คิดแบบนี้สิดี "ถึงแม้ว่า... 'เวลา' ไม่สามารถย้อนกลับไปได้ แต่! 'เวลา' มีให้เริ่มใหม่เสมอ" ง้อได้ ง้อ...
2
#Wasabi ขอเพียงมีส่วนเล็ก ๆ ที่ช่วยให้คุณ!
"เจริญเติบโต ก้าวหน้า สำเร็จ อย่างภาคภูมิใจ"
แหล่งที่มา / แหล่งอ้างอิง
#สาระจี๊ดจี๊ด #Wasabi #ความรู้ขึ้นสมอง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา