26 ก.พ. 2021 เวลา 03:30 • หนังสือ
สตีฟ จ็อบส์ EP5 : เลิกเรียนกลางคัน (Turn on, tune in...)
.
นักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จหลายๆคน ยอมเลิกเรียนกลางคันแล้วเดินทางตามความฝันของตัวเอง แต่เส้นทางเหล่านั้นไม่ได้สวยหรูเสมอไป และไม่ใช่ทุกคนที่เลิกเรียนกลางคันแล้วจะประสบความสำเร็จ ใครจะรู้กันล่ะครับว่าคนเหล่านี้เขาผ่านอะไรมากันบ้าง หลังจากเลิกเรียนกลางคันจนกระทั่งประสบความสำเร็จ ในบทความนี้ผมจะนำเสนอหนึ่งในบุคคลที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในโลก “สตีฟ จ็อบส์”
17 ปีก่อนหน้านั้นพ่อแม่จ็อบส์ได้สัญยาไว้ในตอนที่รับเขามาเลี้ยงว่าจะส่งให้เรียนจนจบมหาลัย พวกเขาทำงานหนักเพื่อเก็บเงินไว้เป็นทุนการศึกษาให้แก่จ็อบส์ แต่จ็อบส์ยิ่งโตแล้วยิ่งหัวแข็ง เขาทำเป็นว่าจะไม่เรียน ในใจของเขาไม่สนใจมหาลัยรัฐอย่าง ม.แคลิฟอร์เนีย อย่างที่วอซเนียกเรียนอยู่ แต่เขาก็ไม่สนใจม.สแตนฟอร์ดเหมือนกัน ทั้งที่ไม่ไกลจากบ้าน
.
เขายืนยันจะเรียนที่มหาวิทยาลัยรี้ดเท่านั้น ซึ่งในคณะด้านศิลปศาสตร์ที่จ็อบส์จะเข้านั้นมีค่าเทอมแพงที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศ และแน่นอนว่าค่าเทอมแพงกว่าที่พ่อแม่ของเขาจะจ่ายไหว แต่เขากลับบอกว่าถ้าไม่ได้เรียนที่รี้ด ก็จะไม่เรียนเลย
Reed college
“Turn on, tune in, drop out” นักศึกษาที่มหาวิทยาลัยรี้ดยึดมั่นในวลีนี้อย่างเคร่งคัด และอัตราส่วนของนักศึกษาที่เลิกเรียนในทศวรรษ 1970 สูงกว่าหนึ่งในสาม
.
ปลายปี ค.ศ.1972 ตอนที่จ็อบส์เข้ามหาวิทยาลัยรี้ด นักศึกษาที่จับกลุ่มสนมนาในหอพักกลางดึกมักคุยกันเรื่องหนทางไปสู่ความปรารถนาของตน จ็อบส์เองก็ได้รับอิทธิพลอย่างลึกซึ้งจากหนังสือหลายเล่มที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับจิตวิญยาณและการหยั่งรู้
เพื่อนสนิทคนหนึ่งในมหาวิทยาลัยชื่อแดเนียล ค็อตเค เขาสนใจเรื่องนิกายเซน บ็อบ ดีแลน และสูบกัญชาเหมือนกัน จ็อบส์เริ่มไปห้องสมุด และเอาหนังสือเกี่ยวกับนิกายเซนให้ค็อตเคอ่าน พวกเขาทำห้องเล็กใต้หลังคาเป็นห้องนั่งสมาธิ แขวนรูปภาพจากอินเดีย มีพรมอินเดีย จุดธูปเทียน และเบาะสำหรับนั่งสมาธิ เขาสนใจนิกายเซน และปฏิบัติตามอย่างจริงจัง ซึมซับจนเป็นบุคลิกภาพประจำตัว อย่างไรก็ตาม ความที่เขาเป็นคนจริงจัง ไม่ปล่อยวาง วิถีรับรุ้แบบเซนไม่ได้ทำให้เขาเป็นคนสุขุมลุ่มลึก มีจิตสงบหรือนุ่มนวลเลย
Daniel Kottke
หนังสือเล่มหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อจ็อบส์อย่างลึกซึ้งก็คือ Diet for a small planet เขียนโดยฟรานซิส ทัวร์ แลปเป ที่ยกย่องประโยชน์ของอาหารมังสวิรัติที่มีต่อตัวผู้บริโภคและต่อโลก หนังสือเล่มนี้ยังทำให้จ็อบส์มีแนวโน้มเป็นคนเคร่งเรื่องอาหารการกินมากขึ้นด้วย เช่น การกินอาหารแค่อย่างสองอย่าง (แครอตกับแอปเปิล) เป็นอาทิตย์
Diet for a small planet
มีอยู่วันหนึ่งจ็อบส์อยากได้เงิน เขาเลยตัดสินใจขายเครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้า เขาเดินไปห้องพักเพื่อนคนที่เคยบอกว่าอยากซื้อ ซึ่งก็คือโรเบิร์ต ไฟรด์แลนด์ จ็อบส์รับเอาลักษณะนิสัยที่มีสเน่ห์หลายอย่างของไฟรด์แลนด์มา และนับถือเป็นกูรูอยู่หลายปี จนกระทั่งเริ่มเห็นว่าเขาเป็นศิลปินขี้ฉ้อและอวดรู้
.
ในความคิดเห็นของค็อตเค จ็อบส์ได้รับนิสัยบางอย่างจากไฟรด์แลนด์ และติดมาใช้เวลาทำงานด้วย เขาบรรยายว่า “ไฟรด์แลนด์เป็นคนสอนให้สตีฟรู้จัก สนามความจริงที่ถูกบิดเบือน (reality distortion field) ‘ในที่นี้หมายถึง ความสามารถในการชักจูง โน้มน้าวให้คนเห็นคล้อยตาม’ ไฟร์ดแลนด์เป็นคนมีเสน่ห์เวลาพูด เจ้าเล่ห์นิดๆ สามารถพูดเบี่ยงเบนให้สถานการณ์เป็นไปตามที่เขาต้องการ เขาหัวไว และมั่นใจในตัวเอง เผด็จการหน่อยๆ ซึ่งสตีฟชอบ และเริ่มมีนิสัยแบบนั้นเมื่อคบกับเขา” นอกจากนี้จ็อบส์ยังซึมซับวิธีทำให้ตัวเองเป็นศูนย์กลางความสนใจจากไฟรด์แลนด์อีกด้วย ซึ่งเขาไม่ได้เป็นอย่างนั้นตอนเข้ามหาวิทยาลัยใหม่ๆ
Robert Friedland
ไม่นานจ็อบส์ก็เบื่อเรียนในมหาวิทยาลัย เขาชอบชีวิตในนั้นแต่ไม่อยากเรียนวิชาบังคับ ซึ่งเขาก็อดแปลกใจไม่ได้ที่รี้ดมีบรรยากาศแบบฮิปปี้ แต่ดันมีวิชาบังคับเข้มงวดให้เขาต้องอ่านมากมาย ที่จริงเขาไม่ได้อยากลาออกจากมหาวิทยาลัย เขาแค่ไม่อยากจ่ายค่าเล่าเรียน และไม่อยากเรียนวิชาที่ตัวเองไม่ได้สนใจ
.
แจ็ค ดั๊ดแมน คณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาเล่าว่า “จ็อบส์มีคุณสมบัติอย่างหนึ่งที่สนใจมาก เขาเป็นคนช่างซักถาม เขาไม่ยอมรับข้อเท็จจริงที่มีคนป้อนให้ เขาอยากสำรวจเรียนรู้ด้วยตัวเอง” ดั๊ดแมนอนุญาติให้จ็อบส์สามารถเรียนแบบไม่มีหน่วยกิตในวิชาที่เขาต้องการ อยู่ในหอพักนักศึกษาต่อไป แม้จะเลิกจ่ายค่าเล่าเรียนแล้วก็ตาม
หนึ่งในวิชาที่เขาเลือกเรียนคือวิชาออกแบบตัวอักษร (Calligraphy) เพราะเขาเห็นโปสเตอร์ในมหาวิทยาลัยเขียนอย่างสวยงาม และนี่เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่า เขากำหนดตัวเองอยู่กึ่งกลางระหว่างศิลปะ และเทคโนโลยี เขาเล่าว่า “ถ้าไม่ได้เรียนวิชานั้น Mac ก็คงไม่มีแบบตัวอักษรที่สวยงามให้เลือกหลายแบบ จัดเรียงช่องไฟอย่างได้สัดส่วน Windows เองก็เลียนแบบเรื่องนี้ไปจาก Mac ไม่อย่างนั้นพีซีที่เราใช้กันทุกวันนี้ก็คงไม่มีแบบตัวอักษรพวกนี้ให้ใช้”
ลาออกในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าเราเบื่อการเรียนแล้ว แต่มันหมายถึงเรามีความตั้งใจแน่วแน่ อยากทำในสิ่งที่เรารักจริงๆ ซึ่งมันไม่ใช่ทุกคนที่มีความคิดจริงจังแบบนี้ อาจจะเป็นเพราะเหตุผลส่วนตัว หรือบุคลิกนิสัยของเรา นั่นเลยเป็นเหตุผลให้คนที่เลิกเรียนกลางคัน และประสบความสำเร็จมีน้อยมากนั่นเองครับ..
ที่มา
หนังสือ : สตีฟ จ็อบส์
ผู้เขียน : วอลเตอร์ ไอแซคสัน

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา