Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
มังกรกินหมี่podcast
•
ติดตาม
11 มี.ค. 2021 เวลา 01:00 • ประวัติศาสตร์
ไต้หวันและจีนในความขัดแย้ง ความคลุมเครือ ของสถานะความเป็นประเทศ
ตอนที่2
ในช่วงทศวรรษที่ 1950-60 รัฐบาลจีนคณะชาติสูญเสียดินแดนจนเหลือเพียงแต่เกาะไต้หวัน และเกาะเล็กๆนอกชายฝั่งมณฑลฝูเจี้ยน ฝ่ายคอมมิวนิสต์ในขณะนั้นก็ประสบปัญหาความล้มเหลวจากแผนการก้าวกระโดคครั้งใหญ่ (ปี 1958-1960) ทำให้มีผู้เสียชีวิตจากความอดอยากเป็นจำนวนประมาณ 20-30 ล้านคน ความล้มเหลวในครั้งนี้ทำให้ฝ่ายจีนคณะชาติบนเกาะไต้หวันเริ่มร่างแผนกอบกู้ชาติจีนขึ้นมา โดยจะบุกขึ้นฝั่งผ่านทางชายฝั่งมณฑลฝูเจี้ยน โดยมีความหวังว่าประชาชนจีนบนแผ่นดินใหญ่จะช่วยทหารจีนคณะชาติต่อต้านและล้มล้างพรรคคอมมิวนิสต์
แต่อย่างไรก็ตามแผนการนี้ก็ไม่ได้ถูกนำมาใช้จริง เนื่องจากหลายๆปัจจัย เช่นความสำเร็จในการทดสอบระเบิดนิวเคลียร์ลูกแรกสำเร็จในปี ค.ศ.1964 ทำให้แผนการนี้ถูกพับเก็บไปในที่สุด ภายหลังรัฐบาลยุคหลังจึงเน้นไปที่การป้องกันตนเองมากกว่า โดยหวังว่าวันหนึ่งรัฐบาลจีนคอมมิวนิสต์จะล่มสลายไปเองและรวมชาติกับไต้หวันอีกครั้งภายใต้รัฐบาลจีนประชาธิปไตย
หลังการปฏิวัติวัฒนธรรมจบลงในปี 1976 ประเทศจีนเริ่มมุ่งหน้าสู่การปฏิรูปทั้งทางด้านเศรษฐกิจและการเมือง ทั้งในด้านการปรับเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจไปเป็นแบบทุนนิยมอย่างค่อยเป็นค่อยไป และที่เห็นได้ชัดก็คือการไม่สนับสนุนลัทธิบูชาบุคคลซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการปฏิวัติวัฒนธรรม ทางด้านฝั่งไต้หวันซึ่งในขณะนั้นก็ถูกปกครองพรรคก๊กมินตั๋ง ที่มีเจียงจิงกั๋ว ลูกชายของเจียงไคเช็กเป็นประธานาธิบดี ก็เริ่มสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงประเทศไปในทางที่เสรีมากขึ้น
จนในท้ายที่สุด กฎอัยการศึกซึ่งถูกใช้มาเป็นเวลานานถึง 39 ปี (1949-1988) ก็ถูกยกเลิก ต่อจากนี้ไต้หวันก็จะเปลี่ยนแปลงไปสู่ประชาธิปไตยที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการเลือกตั้งโดยตรง
https://theme.udn.com/theme/story/6773/2732769
หลังจากการเลือกตั้ง ในช่วงทศวรรษที่ 90 รัฐบาลไต้หวันซึ่งในขณะนั้นนายหลี่เติงฮุยเป็นประธานาธิบดีก็เริ่มเปลี่ยนแปลง ความคิดและทัศนคติที่มีต่อไต้หวัน จากที่มองว่าเป็นเพียงฐานลี้ภัยของรัฐบาลก๊กมินตั๋ง เป็นการมองว่าไต้หวันก็มีความเป็นประเทศและความเป็นอธิปไตย นโยบายต่างๆจึงเริ่มอิงไต้หวันเป็นศูนย์กลางมากกว่าที่จะต้องคิดถึงจีนแผ่นดินใหญ่ด้วย
การศึกษาก็เริ่มเปลี่ยนไปศึกษาประวัติศาสตร์ของไต้หวันมากขึ้นแทนที่จะศึกษาแต่ประวัติศาสตร์จีนเป็นส่วนใหญ่ ภาษาถิ่นเช่นภาษาจีนฮกเกี้ยน และจีนแคะ ก็ถูกส่งเสริมให้มีการพูดในที่สาธารณะมากขึ้นจากที่ถูกรัฐบาลต่อต้านในช่วงสงครามเย็น ตลอดเวลาตั้งแต่ทศวรรษที่ 50 ที่รัฐบาลจีนคณะชาติย้ายมาตั้งหลักที่ไต้หวัน คนไต้หวันในสมัยนั้นถูกปลูกฝังให้มีความคิดว่าตัวเองเป็นคนจีน ซึ่งต่างจากปัจจุบันที่คนส่วนใหญ่ในไต้หวันที่คิดว่าตนเองไม่ใช่คนจีนอีกแล้ว แต่เป็นคนไต้หวัน ซึ่งเป็นเอกเทศและแตกต่างจากคนจีนซึ่งอยู่บนแผ่นดินใหญ่
ในปัจจุบันไต้หวันก็ยังคงถูกปกครองโดยรัฐบาลจีนที่ลี้ภัยจากจีนแผ่นดินใหญ่ในปี 1949 ในสังคมไต้หวันปัจจุบันก็เริ่มมีคนปฏิเสธความเป็นจีนของตนเองมากขึ้น จากที่จากเดิมคนส่วนใหญ่คิดว่าตัวเองเป็นคนจีน คนไต้หวันส่วนใหญ่ที่ยังคงถือว่าตัวเองเป็นคนจีนจะเป็นผู้สูงอายุ หรือผู้ที่สนับสนุนพรรคก๊กมินตั๋ง
https://cn.nytimes.com/asia-pacific/20181029/taiwan-name-republic-of-china/
ประชาชนชาวไต้หวันออกมาสนับสนุนเอกราชของไต้หวัน
" คนไต้หวันส่วนใหญ่จะถือว่าไต้หวันเป็นประเทศ "
ถ้าเป็นคนที่อยู่ฝั่งก๊กมินตั๋งก็จะบอกว่าไต้หวันเป็นแค่ส่วนหนึ่งของจีน
แต่ถึงอย่างนั้นพวกเขาก็ไม่ยอมรับรัฐบาลจีนคอมมิวนิสต์บนแผ่นดินใหญ่เช่นกัน
ผลการสำรวจจากมหาวิทยาลัยเจิ้งจื้อ ไต้หวัน ตัวเลือกมี 4 แบบ คือ บอกว่าตัวเองเป็นคนไต้หวัน เป็นคนไต้หวันและจีนในเวลาเดียวกัน เป็นคนจีนอย่างเดียว หรือ ไม่ให้คำตอบ
ถ้าดูจากกราฟแล้วก็จะพบว่าคนไต้หวันส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะปฏิเสธความเป็นจีนมากขึ้น โดยเฉพาะในคนรุ่นใหม่ ในอนาคตไต้หวันก็อาจจะเป็นเอกราชได้ แต่ก็ยังคงติดปัญหาอยู่ที่จีนที่เคยประกาศกร้าวไว้ว่าไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งที่แบ่งแยกไม่ได้ของจีน และจะไม่ละทิ้งความพยายามในการรวมชาติโดยใช้กำลังทางทหาร
Reference:
https://theme.udn.com/theme/story/6773/2732769
https://cn.nytimes.com/asia-pacific/20181029/taiwan-name-republic-of-china/
https://www.youtube.com/watch?v=ZYZtu_PNv3E&ab_channel=TaiwanBar
https://digital-commons.usnwc.edu/cgi/viewcontent.cgi?article=1044&context=newport-papers
https://228memorialmuseum.gov.taipei/cp.aspx?n=5FD2DBAFF988BC0B
บันทึก
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ไต้หวันและจีนในความขัดแย้ง ความคลุมเครือ ของสถานะความเป็นประเทศ
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย