Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
แจงรวิภา แป้นแก้ว
•
ติดตาม
4 มี.ค. 2021 เวลา 11:40 • สุขภาพ
แผลไหม้น้ำร้อนลวกความลึกของแผลระดับสอง จะเจาะถุงน้ำดีหรือไม่เจาะดีการดูแลแผลแบบไหนแผลหายไวกว่า
แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก ไม่ใช่แค่การปฐมพยาบาลเบื้องต้นแล้วก็จบหน้าที่พยาบาล ยังต้องดูผลงานด้วยว่าที่เราทำไปให้คนไข้ เขารู้สึกสุขสบายไหม แผลที่เราดูแลถูกต้องไหม
แล้วคนไข้ที่เราดูแล เขามีความเครียด ความกลัว ความวิตกกังวลอะไรไหม ที่สำคัญเขามีความรู้ความเชื่อในการดูแลสุขภาพตนเองเรื่องไฟไหม้ น้ำร้อนลวกอย่างไร
การดูแลแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวกถ้าดูแลไม่ถูกต้องตั้งแต่แรก จะทำให้เกิดความเสียหายต่อเซลล์ ทำให้เซลล์ตายเพิ่มขึ้น ทำให้แผลลงลึกกว่าเดิม ทำให้เกิดการติดเชื้อตามมา
ถ้าแผลที่มีความรุนแรงในระดับสองขึ้นไปและมีความกว้างของแผลคือบริเวณที่ถูกไฟไหม้กว้างเกิน 20 ฝ่ามือของคนไข้ขึ้นไป อันตรายตามมาอย่างรวดเร็ว คือการเข้าสู่ภาวะช็อก ส่งผลต่อร่างกายทั้งระบบ
ที่สำคัญอาจทิ้งร่องรอยความพิการ ความเสียหายที่เราไม่รู้ ได้ในทุกระบบ ตั้งแต่ระบบลำไส้ ฮอร์โมน ผิวหนัง มาเริ่มทำความเข้าใจเกี่ยวกับแผลไฟไหม้กัน
จะขอกล่าวถึง แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่มีความลึกของแผลระดับสอง และมีความกว้างเกิน 20ฝ่ามือของคนไข้ เพราะความเสียหายต่อร่างกายจะเกิดขึ้นทุกระบบ เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น และทำให้เห็นความสำคัญของแผลไหม้น้ำร้อนลวกกัน
ร่างกายคนเราเป็นชีวจักรกล ทันทีที่เกิดอันตรายต่อร่างกาย ร่างกายจะมีกลไกในการปกป้องตนเอง และกลไกในการฟื้นหาย ถ้าเราเข้าใจเราจะไม่ไปขัดขวางกระบวนการทำงานของร่างกาย แต่เราจะไปส่งเสริมกระบวนการเหล่านั้นให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทันทีที่ร่างกายถูกความร้อน ในบริเวณกว้างและความร้อนนั้นรุนแรง ทำลายเซลล์ จนทำให้เกิดเซลล์ตาย ร่างกายจะรีบตอบสนองในเสี้ยววินาทีสั่งให้เกิดกระบวนการอักเสบ คืออาการ ปวด บวม แดงร้อน
กระบวนการอักเสบของแผลไฟไหม้แตกต่างจากกระบวนการอักเสบของแผลเฉียบพลัน มีความซับซ้อนมากกว่า มีผลกระทบมากกว่า
กระบวนการอักเสบ ก็จะหลั่งสารของการอักเสบเช่น เม็ดเลือดขาว นูโทรฟิล แมคโคฟาจ มาศเซลล์ สารสำคัญที่ร่างกายหลั่งอีกตัวคือ
พรอสต้าแกรนดิน
เซลล์อักเสบหรือตายไป จะมีสภาพเป็นกรด มีชื่อว่า Arachidonic acid ร่างกายสังเคราะห์พรอสต้าแกรนดินจากกรดนี้ ซึ่งตัว พรอสต้าแกรนดิน จะมีผลต่อหลอดเลือดโดยตรง ทำให้หลอดเลือดหมดตัว
เพื่อที่จะไม่ให้ร่างกายสูญเสียน้ำและโปรตีน เพื่อเพิ่มความดันโลหิต เพราะว่าถ้าแผลไฟไหม้ที่มีระดับความลึกระดับสอง มีความกว้างเกิน 20ฝ่ามือของคนไข้
จะสูญเสียน้ำและโปรตีน ทันทีที่เซลล์เสียหาย เริ่มตั้งแต่ 5นาที จะเริ่มมากขึ้นเรื่อยไป ภายใน 30นาที และกระบวนการนี้จะยังคงอยู่จนถึง 24ชั่วโมง จะส่งผลต่อการบวมของเซลล์และเนื้อเยื่อ และเกิดภาวะช็อก
การบวมของเซลล์และเนื้อเยื่อจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ภายใน 30นาที ดังนั้นถ้าคนไข้ ใส่แหวน ใส่เครื่องประดับ ตรงบริเวณที่ถูกไฟไหม้น้ำร้อนลวกให้รีบถอดออก เพราะหลังจากนั้นจะถอดยากและเป็นอันตรายต่อเนื้อเยื่อ
การที่ร่างกายสูญเสียน้ำและโปรตีนในผู้ป่วยไฟไหม้ น้ำร้อนลวก เข้าสู่ภาวะช็อก ภาวะนี้จะไม่ตอบสนองด้วยสารน้ำทั่วไป เพราะร่างกายสูญเสียแรงดันออสโมติกจากการเสียโปรตีน
จะสังเกตว่าคนไข้จะปัสสาวะออกน้อย ซึ่งส่งผลเสียต่อร่างกายคือ ร่างกายไม่สามารถขับของเสียออกทางปัสสาวะได้ ทำให้เกิดของเสียคั่งในร่างกาย ร่างกาย ส่งผลต่อการทำงานของไตในอนาคต
ถ้าตรวจเลือดยืนยัน ก็จะพบว่าเลือดข้น ฮีมาโตคริทจะสูง ฮีโมโกลบินก็จะสูง ส่งผลต่อระบบการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกาย เซลล์ส่วนอื่นจะขาดออกซิเจน เพราะร่างกายต้องเก็บเลือดไว้เลี้ยงอวัยวะสำคัญๆ เช่นสมอง หัวใจ ไต ตับ
ที่สำคัญเซลล์เยื่อเมือกของลำไส้ เซลล์ของลำไส้ก็จะตายบางส่วนทำให้สารพิษหลุดเข้าเซลล์ ส่วนเซลล์เยื่อเมือกอ่อนแอลง แบคทีเรียก่อโรคในลำไส้ก็จะฉวยโอกาส เข้าสู่กระแสเลือดทันที
ทำให้เห็นว่าทำไมคนไข้กลุ่มนี้ถึงติดเชื้อเข้ากระแสเลือดได้ง่าย จากกระบวนการสูญเสียน้ำและโปรตีนของเซลล์ ร่างกายก็มีกลไกป้องกันตนเองโดยการปรับให้หลอดเลือดมีความต้านทานสูงขึ้น
ร่างกายผลิต สารสื่อกลางต่างไปจนถึงผลิตฮอร์โมนออกมา ที่มีผลต่อการหดตัวของหลอดเลือด มีดังนี้
พรอสต้าแกรนดิน อีทู และลิวโคไคเนส แอลบีโฟ และแอลดีโห เพื่อเพิ่มความต้านทานของหลอดเลือด
ที่จะไม่ยอมให้ร่างกายสูญเสียน้ำไปได้ง่ายๆ แต่สารกลุ่มนี้ยังมีฤทธิ์ขยายหลอดเลือดที่บริเวณแผลอักเสบเพื่อให้ เลือดและเม็ดเลือดขาวเข้าไปทำงานดีขึ้น ทำให้เราหายป่วยเร็วขึ้น
ร่างกายยังสังเคราะห์ ทรอมโบแซน เอทู และทรอมโบแซนบีทู จากเกล็ดเลือด ทำให้เกิดการหดตัวของหลอดเลือด เพื่อไม่ให้ร่างกายสูญเสียน้ำและโปรตีน
ร่างกายยังผลิต แคททีโคลามีน ทั้งอิพริเนฟริน และนอร์อิพริเนฟริน จะทำให้เส้นเลือดแดงฝอยหดตัว
ร่างกายยังผลิตซีโรโทนิน ทำให้เกิดการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบของเส้นเลือดแดงขนาดใหญ่
ยังมีฮอร์โมน แองจิโอแทนซิน ทู และวาโสเพรสซนี้ ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมปริมาณน้ำที่อยู่นอกเซลล์ โดยการควบคุมสมดุลของโซเดียม และแรงดันออสโมติด มีผลต่อการหดตัวของหลอดเลือดแดงส่วนปลาย
ซึ่งแองจิโอแทนซิน ทู มีผลทำให้เกิดการขาดเลือดไปเลี้ยงเซลล์เยื่อเมือกในลำไส้ ทำให้เซลล์ตายเชื้อโรคเข้ากระแสเลือดจากกลไปนี้
อ่านมาถึงตรงนี้คงจะพอมองเห็นภาพว่าเราจะดูแลแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกอย่างไร คำตอบที่ได้คือน้ำที่อยู่ในถุงน้ำ เป็นน้ำที่มีทั้งแร่ธาตุและโปรตีน ที่สำคัญยังมีเม็ดเลือดขาวที่คอยมาจับกินเชื่อโรค เป็นการส่งเสริมให้กระบวนการอักเสบภายในสิ้นสุดก่อน ก่อนที่จะเพิ่มปัจจัยเสี่ยงเข้าไป
ปัญหาในทางปฏิบัติ เราไม่สามารถรักษาถุงน้ำนี้ได้เกิน 8ชั่วโมง ถุงน้ำจะใหญ่มากและแตกเอง กรณีที่เซลล์ตายมาก
ถ้าสามารถเก็บถุงน้ำให้ร่างกายค่อยๆฟื้นหายและดึงน้ำกลับบางส่วนจะช่วยในการฟื้นกายของเซลล์ได้ดีและป้องกันการติดเชื้อจากภายนอกเข้าสู่แผลได้
เหลือการดูแลแผลว่าจะดูแลอย่างไรให้ถุงน้ำไม่แตก คนไข้สุขสบาย พบกันในตอนต่อไปค่ะ
อ้างอิง
ชัยรัตน์ บุรุษพัฒน์. (2557). พยาธิสรีรวิทยาของภาวะช็อกในผู้ป่วยไฟไหม้ น้ำร้อนลวก. เวชสารแพทย์ทหารบก. 6(64).pp 163-170.
บันทึก
1
2
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
การดูแลแผลด้วยตนเอง
1
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย