8 พ.ค. 2021 เวลา 05:18 • สุขภาพ
เครียดโดยไม่รู้ตัว อันตรายกว่าที่
คิด อาจติดโควิทง่ายขึ้นเพราะระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ลดลง
บทความที่ 0040/1000 ความท้าทาย
เครียดแบบไม่รู้ตัวว่าเครียด 😞😞😞อาจตายได้ ถ้าใครมาทักเราว่าช่วงนี้ดูเครียด ๆ นะ เชื่อว่าหลายคนจะรีบปฏิเสธเสียงสูงทันที
ไม่ ไม่ ไม่ ฉันไม่เครียด ฉันไม่ได้มีเรื่องเครียดอะไรในชีวิต ชีวิตฉันดี๊ดี
สาเหตุความเครียด มีมากมาย แม้แต่อาหารที่กินก็กระตุ้นความเครียดได้ นิสัยเราเองนี่แหละ สำคัญ ที่ทำให้เราเครียด
ถ้าเราเป็นคนที่ไม่ยืดหยุ่น มีทัศนคติไม่ดีต่อตัวเองและคนอื่นก็เป็นสาเหตุได้ คนที่ชอบแข่งขัน ท้าทาย ชิงดีชิงเด่น ชอบเอาชนะ
คนที่เข้มงวดกับทุกเรื่อง คนที่อารมณ์รุนแรง ใจร้อน เป็นนิสัยที่ทำให้เกิดความเครียดง่าย กว่าคนที่ยืดหยุ่นและมีทัศนคติดี คิดแต่เรื่องดี ๆ มองโลกตามความเป็นจริง
คนประเภทแรกจะเป็นคนที่มีกระบวนคิดที่เบี่ยงเบนและการใช้กลไกทางจิตที่ผิดปกติ จึงเป็นสาเหตุให้เกิดความเครียดได้ง่าย
สาเหตุจากสภาพแวดล้อม เช่น อากาศร้อน ฝุ่นละออง มลภาวะ ฯสภาพเศรษฐกิจก็เป็นสาเหตุได้ยิ่งช่วงโควิทระบาดมาเป็นปี หลาย ๆ คนมีปัญหาทั้งเรื่องงาน เรื่องเงิน
การที่เราเครียดแล้วเราก็ยังไม่รู้ว่าตัวเองเครียด ถ้าปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ จนร่างกายเกิดการตอบสนองระยะยาวที่เราเรียกว่าระยะต่อต้าน
จะส่งผลให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล หรือเรารู้จักกันว่าเป็นฮอร์โมนความเครียด
ร่างกายจะสลายโปรตีนและไขมันให้เป็นน้ำตาลกลูโคส ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ทำให้ความเข้มข้นในเลือดสูงขึ้น
อธิบายง่าย ๆ คือเลือดหนืดขึ้น ทำให้ภูมิคุ้มกันทำงานได้ไม่ดีหรือจะพูดว่าเป็นการยับยั้งการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันก็ว่าได้
น้ำตาลในเลือดที่สูงขึ้นก็ไปทำปฏิกริยากับโปรตีนในหลอดเลือด เม็ดเลือด ทุกส่วนที่สัมผัสกับน้ำตาลก็จะเกิดกระบวนการไกลเคชั่น
หลอดเลือดเกิดการเสื่อมสภาพ ทำให้เสียความยืดหยุ่นซึ่งหลอดเลือดที่ดีต้องมีความยืดหยุ่นสูงเพื่อทนแรงดันเลือดได้
หลอดเลือดเสียความยืดหยุน คือมีการตีบแข็ง ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นเพื่อปรับให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ได้อย่างเพียงพอขึ้น เซลล์ส่วนปลายไม่ตายเพราะขาดอาหารและออกซิเจน
อาการที่ชวนให้สงสัยว่าเราเครียด เรื้อรัง
เริ่มจากพฤติกรรมการกินเปลี่ยนไป อยากกินของหวานมากขึ้น
เบื่ออาหาร กินอะไรก็ไม่อร่อย
นอนไม่หลับ หรือรู้สึกง่วงนอนตลอดเวลา
ปวดศีรษะบ่อย ๆ ความดันโลหิตสูงขึ้น ปวดตึงกล้ามเนื้อ ปวดคอบ่าไหล่ ปวดหลัง ปวดเอว
เครียด วิตกกังวลแบบไม่รู้ตัวว่าตัวเองกำลังเครียด หรือกำลังกังวลเรื่องอะไรหาสาเหตุไม่ได้
อาจแสดงออกว่า รู้สึกหงุดหงิดง่าย ใจร้อน ไม่มีสมาธิ เหงา รู้สึกโดดเดี่ยว ขี้หลงขี้ลืม ท้องผูกจำไม่ได้ว่าถ่ายอุจจาระครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่
เบื่อจนต้องหาอะไรทำเพื่อให้เพลิดเพลิน สังเกตว่าช่วงนี้ดูหนังมากขึ้น ดูซีรีย์เกาหลี ซีรีย์จีนมากขึ้นทั้ง ๆ ที่ต้องทำงานที่สำคัญ ๆ
แต่เราก็ปล่อยวางงานสำคัญ ๆ ลง เพียงเพื่อมาแก้เบื่อด้วยการดูหนัง ฟังเพลง การตัดสินใจแย่ลง
อันตรายที่สุดคือการตัดสินใจ แย่ลงอาจทำให้ตายได้ ยกตัวอย่างเช่น น้ำมันรถเกือบหมดถัง บอกว่าเดี๋ยวค่อยเติมแล้วเราก็ลืมไปเลย มาเจออีกทีตอนไฟเตือนกระพริบนั่นล่ะ
จนต้องมาลุ้นว่าจะขับรถไปถึง ปั๊มน้ำมันข้างหน้าไหม ลมยางอ่อนเราก็จับสัญญาณไม่ได้ว่าต้องเติมลมแล้ว
อันตรายสุด ๆ ตอนขับรถแล้วเผลอไปปาดหน้าคนอื่น หรือเลี้ยวรถกระทันหัน ถ้าเราไม่รีบแก้เรื่องความเครียด จนส่งผลต่อการนอนทำให้นอนไม่หลับ อันตรายบนท้องถนนก็จะเพิ่มสูงขึ้น เพราะมีโอกาสตัดสินใจผิดพลาดสูง
ตัวอย่าง เรื่องการใช้รถ เป็นเรื่องที่อันตรายที่สุดที่เป็นรูปธรรม เพราะเป็นสัญญาณที่ตัวเองละเลย เป็นประสบการณ์ตรงที่อยากแบ่งปัน
ไม่ใช่ว่าคนที่รู้เรื่องความเครียดเป็นอย่างดี จะไม่เครียด ทุกคนมีสิทธิ์เครียดได้เพียงแต่ใครรู้ทันได้เร็วและแก้ไขได้ทันมากกว่ากันก็เท่านั้นเอง
ช่วงเหตุการณ์โควิท คิดว่าความเครียดมาเยือนกันทุกคน ความกลัวเรื่องการติดเชื้อ การทำงานที่มีความเสี่ยง ภาวะเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อรายได้ เราอยู่กับความเครียดมายาวนานเป็นปี
ร่างกายปรับคืนสู่สมดุลได้ยาก ดังนั้นการตระหนักรู้
วิธีแก้ไขที่ง่ายที่สุด คือจับอาการหรือสัญญาณเตือน แล้วรีเซ็ตระบบฮอร์โมนในร่างกายด้วยการหายใจเข้าออกลึก ๆ ช้า ๆ ทำต่อเนื่อง 20 ครั้ง
การลดปัจจัยกระตุ้นจากอาหาร ให้รับประทานอาหารให้ได้สารอาหารให้ครบ น้ำเพียงพอ พักผ่อน ที่สำคัญอีกอย่างคือการออกกำลังกายเพื่อลดระดับฮอร์โมนทั้งอินซูลินและคอร์ติซอล
ปรับแก้นิสัยที่ไม่ยืดหยุ่น ชอบแข่งขัน ชอบเอาชนะ
ปรับทัศนคติด้านลบลง แค่นี้ก็อาจจะเพียงพอที่ทำให้ความเครียดลดลง
อย่าปล่อยให้ถึงขั้นที่กลไกทางจิตผิดปกติ ขั้นนี้ต้องบำบัดกับผู้เชี่ยวชาญ
สรุปเรื่องความเครียด เกิดขึ้นได้ทุกวัน สาเหตุกระตุ้นมีมาก ระดับความเครียดเล็กน้อยถึงปานกลาง อาจไม่เกิดอันตรายกับร่างกายแต่ถ้าปล่อยให้เกิดความเครียดอย่างต่อเนื่องยาวนาน
จนระบบต่าง ๆ ในร่างกายได้รับผลกระทบแล้ว การแก้ไขฟื้นฟูต้องใช้เวลา ดังนั้นการจับสัญญาณความเครียด และการแก้ไขตลอดเวลาจะช่วยให้ร่างกายคืนสู่สมดุลได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น จะเป็นการบำบัดภาวะสุขภาพได้ แบบยั่งยืน ทำให้มีสุขภาพดีในระยะยาว
แจง รวิภา ผู้เขียน
ผู้ที่ออกแบบชีวิต บำบัดสุขภาพด้วยธรรมชาติบำบัด บำบัดความคิด อารมณ์ พฤติกรรมด้วยเทคนิค CBT and IPT and NLP
ลิงค์ไลน์ https://line.me/ti/p/gA2H95GJ7A
ภาพจากผู้เขียน

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา