10 พ.ค. 2021 เวลา 03:20 • สุขภาพ
แผลถูกเหล็กบาด แผลเปิด ยาวประมาณ 1.5 เซ็นติเมตรลึก 0.2 มิลลิเมตร ต้องฉีดยาป้องกันบาดทะยักหรือไม่
บทความที่ 0041/1000 ความท้าทาย
EP 01/ 10 การดูแลแผลด้วยตนเอง
บาดทะยักเป็นโรคที่มีความรุนแรง เกิดจาก สารพิษ(Toxin) ของเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า Clostridium tetani เป็นเชื้อแบคทีเรียชนิดแกรมบวก
เจริญเติบโตได้ดีในที่ ที่ไม่มีออกซิเจน จากสภาพแผลเปิดแผลตื้น ก็จะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้น้อยกว่า แผลเล็ก ๆ ที่ปากแผลปิดสนิท อย่างแผลถูกตะปูตำ หรือหนามตำ
เนื่องจากเขื้อมีความรุนแรง และยังพบผู้ติดเชื้อบาดทะยักอยู่ เพื่อความไม่ประมาท ถ้าไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกัน มาเป็นเวลาไม่เกิน 10 ปี ควรมีการฉีดกระตุ้น 1 เข็ม
ปกติเราจะได้วัคซีนป้องกันโรคบาดทะยักตั้งแต่วัยเด็ก เมื่อตอนอายุ 2 เดือน 4 เดือน 6 เดือน 18 เดือน 4 ปี หลังจากนั้น ควรฉีดกระตุ้นทุก 10 ปี ถ้าใครที่ไม่อยู่ในเงื่อนไขนี้ ควรฉีดกระตุ้น
แต่ถ้า ไม่เคยฉีดมาเลย ควรฉีดให้ครบ 3 เข็ม เข็มแรก ฉีดทันทีที่เกิดแผล หรืออาจล่าช้าได้นานถึง 3 วัน เพราะระยะฟักตัวของเชื้อเฉลี่ย 3-21 วัน
เข็มที่ 2 ห่างจากเข็มแรก 1 เดือน เข็มที่ 3 ห่างจากเข็มแรก 6 เดือน มีภูมิคุ้มกันไปถึง 10 ปี หลังจากนั้นควรฉีดกระตุ้นทุก 10 ปี
การฉีดวัคซีนทุกชนิดควรบันทึกไว้ในสมุดสุขภาพ และควรเก็บไว้บนออนไลน์เพื่อสะดวกในการสืบค้น
แจง รวิภา ผู้เขียน
จากกล้องมือถือ realme 7 pro

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา