5 มี.ค. 2021 เวลา 06:09 • ปรัชญา
นิทานเรื่อง พระผู้เฒ่ากับคนแบกของ
พระเซนชรารูปหนึ่งในประเทศจีนซึ่งปฏิบัติภาวนาอยู่นานหลายปี ท่านมีจิตดีและกลายเป็นคนสงบเงียบมาก
แต่ก็ยังไม่เคยสัมผัสการสิ้นสุดแห่ง "ฉัน" และ "ผู้อื่น" ภายในใจได้อย่างแท้จริง ท่านไม่เคยบรรลุถึงต้นธารความนิ่งหรือศานติที่สมบูรณ์ซึ่งเป็นบ่อเกิดการเปลี่ยนแปลงอันลึกซึ้ง
ด้วยเหตุนี้ท่านจึงไปขออนุญาตอาจารย์ว่า
"ผมขอออกไปปฏิบัติบนเทือกเขาได้ไหมครับ ผมถือบวชและฝึกฝนมานานหลายปี ไม่ต้องการอื่นใดนอกจากการเข้าใจธรรมชาติแท้ของตนเองและโลก"
2
อาจารย์รู้ว่าจิตของพระรูปนี้สุกงอมแล้วจึงอนุญาตให้ไปได้ ท่านออกจากวัดโดยมีบาตรและบริขารเพียงเล็กน้อยติดตัว
ระหว่างทางได้เดินผ่านเมืองต่าง ๆ หลายเมือง ครั้นออกจากหมู่บ้านสุดท้ายก่อนขึ้นเขา ปรากฏว่ามีชายชราคนหนึ่งเดินสวนทางลงมา
2
ชายคนนั้นมีห่อใหญ่มากเป้ติดหลังมาด้วย (ชายชราผู้นี้แท้จริงแล้วคือพระมัญชุศรีโพธิสัตว์ ซึ่งพุทธศาสนิกชาวจีนเชื่อกันว่าจะมาปรากฏแก่คนที่มีจิตสุกงอมในจังหวะที่เขาจะบรรลุธรรม ภาพของพระมัญชุศรีที่มีการบรรยายไว้มาก มักเป็นภาพพระองค์ถือดาบแห่งปรีชาญาณคมกริบที่สามารถตัดความยึดมั่น มายาคติ และความรู้สึกแบ่งแยกได้หมดสิ้น)
3
ชายชราเอ่ยทักพระว่า
"สหาย ท่านกำลังจะไปไหนหรือ"
พระจึงเล่าเรื่องของตนว่า
"เราปฏิบัติมานานหลายปีแล้ว ตอนนี้สิ่งเดียวที่ต้องการคือการได้สัมผัสจุดศูนย์กลางนั้น คือการรู้สิ่งที่เป็นแก่นแท้แห่งชีวิต บอกเราเถิดผู้เฒ่า ท่านทราบอะไรเกี่ยวกับความรู้แจ้งนี้บ้างไหม"
1
จังหวะนั้นชายชราเพียงแต่ปลดของที่แบกมาปล่อยให้หล่นลงพื้น
1
แล้วพระก็บรรลุธรรมตามแบบฉบับนิทานเซนที่ดี
ความหมายก็คือ เราต้องรู้จักปล่อยวางความทะเยอทะยานและสิ่งที่ยึดมั่นว่าเป็นภารกิจ ปล่อยวางอดีต อนาคต อัตลักษณ์ ความกลัว ทัศนคติ ความรู้สึกแห่งความเป็น "ตัวฉัน" และ "ของฉัน" เสียให้สิ้น
1
มาถึงจุดนี้ พระเพิ่งบรรลุธรรมมองชายชราอย่างสับสนเล็กน้อยว่าควรทำอย่างไรต่อไป ท่านถามว่า
"แล้วต่อไปล่ะ"
ชายชรายิ้มก่อนก้มลงหยิบห่อของมา เป้ใส่หลังอีกครั้งแล้วเดินเข้าเมืองไป
1
การจะวางแอกหนักลงได้นั้น ก่อนอื่นเราต้องรับรู้ทุกอย่างที่แบกอยู่ กล่าวคือ เราต้องเห็นความทุกข์โศกของตนเอง เห็นความยึดมั่นและความเจ็บปวด เห็นความที่เราทั้งหลายต่างก็อยู่ในวังวนนี้
1
และยอมรับการเกิดและการตาย หากเราไม่เผชิญหน้า ถ้าเรากลัวตาย กลัวการยอมละวางและไม่อยากมอง เราไม่อาจเปลื้องความทุกข์โศกไปได้ มีแต่จะผลักไสมันแล้วก็หวนมายึดจับกลับไปกลับมาอยู่เท่านั้นเอง
1
เราจะปลงภาระได้ก็ต่อเมื่อได้เห็นธรรมชาติของชีวิตอย่างตรงไปตรงมาแล้วเท่านั้น ครั้นแล้วด้วยปัญญากรุณา เราก็สามารถหยิบมันขึ้นมาใหม่
1
เมื่อปล่อยวางแล้ว เราย่อมกระทำการต่าง ๆ ในโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือกระทั่งอย่างน่าทึ่ง โดยไม่รู้สึกขมขื่นหรือเกิดความสำคัญตนแต่อย่างใด
1
จากหนังสือ : ปาฏิหาริย์อันเรียบง่าย หลากหลายมิติของการภาวนา
สติปัญญา เป็นหนึ่งในขันธ์ห้า
1
จิตหลุดพ้น เมื่อหมดความยึดมั่นในขันธ์ห้า
2
ขันธ์ห้า ก็ยังทำงานไปตามธรรมชาติที่สั่งสมเอาไว้
1
แต่ใจเป็นอิสระ
1
ของที่ติดมาระหว่างทาง ก็มีเอาไว้ใช้กับโลก
1
ภิกษุทั้งหลาย ! การปลงภาระหนักลงเสียได้ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ความดับสนิทเพราะความจางคลายดับไป โดยไม่เหลือของตัณหานั้น นั่นเทียว, ความละไปของตัณหานั้น,
1
ความสลัดกลับคืนของตัณหานั้น, ความหลุดออกไปของตัณหานั้น, และความไม่มีที่อาศัยอีกต่อไปของตัณหานั้น อันใด.
1
ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เราเรียกว่า การปลงภาระหนักลงเสียได้ ดังนี้.
1
พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสพุทธวจนนี้ ซึ่งเป็นคำร้อยกรองสืบต่อไป :
“ขันธ์ทั้งห้าเป็นของหนัก ! บุคคลนั้นแหละ เป็นผู้แบกของหนักพาไป. การแบกถือของหนัก เป็นความทุกข์ในโลก.
1
การปลงภาระหนักเสียได้ เป็นความสุข. พระอริยเจ้า ปลงภาระหนักลงเสียแล้ว. ทั้งไม่หยิบฉวยเอาของหนักอันอื่นขึ้นมาอีก.
1
ก็เป็นผู้ถอนตัณหาขึ้นได้กระทั่งราก (อวิชชา) ; เป็นผู้หมดสิ่งปรารถนา ดับสนิทไม่มีส่วนเหลือ” ดังนี้.
1
- บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๓๒/๕๒.
- บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๓๒/๕๓.
ธรรมชาติ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา