8 มี.ค. 2021 เวลา 00:17 • ปรัชญา
เรื่อง ผิดบาปที่ใคร
ยังมีอุบาสกผู้หนึ่งเดินอยู่บริเวณริมหาดทราย พบเห็นคนเรือกำลังลากเรือจากหาดทรายลงน้ำเพื่อเตรียมโดยสารคนออกไป
ยามนั้นเองอาจารย์เซนเดินผ่านมา อุบาสกผู้นี้จึงเข้าไปเอ่ยถามอาจารย์เซนว่า "ท่านอาจารย์ เมื่อตะกี้คนเรือลากเรือจากหาดทรายลงไปในน้ำเพื่อรับผู้โดยสาร ทำให้บรรดากุ้ง หอย ปู ปลา ริมหาดโดนเรือทับตายไปเป็นจำนวนมาก
ไม่ทราบว่าในกรณีนี้บาปกรรมจะตกอยู่ที่คนเรือหรืออยู่ที่ผู้โดยสารกันแน่?"
อาจารย์เซนไม่ขบคิดให้มากความ กล่าวตอบว่า "ไม่ใช่บาปของผู้โดยสาร และไม่ใช่บาปของคนเรือ"
"สองฝ่ายล้วนไม่บาป เช่นนั้นบาปกรรมอยู่ที่ใครเล่า?" อุบาสกยังคงไม่กระจ่าง ถามต่อไป
มิคาด อาจารย์เซนกลับจ้องอุบาสกพลางตอบว่า "บาปกรรมล้วนตกอยู่ที่ตัวท่าน!"
1
ที่มา : หนังสือ 《禅的故事精华版》, 慕云居 เรียบเรียง, สำนักพิมพ์ 地震出版社
ตรัสกับพระอานนท์ปรารภเหตุนางมิคสาลากล่าวแย้งพระพุทธเจ้าเรื่องการพยากรณ์ความเป็นอริยบุคคลระหว่างบิดาของตนเองผู้ประพฤติพรหมจรรย์และเพื่อนของบิดาผู้ไม่ได้ประพฤติพรหมจรรย์แต่พระพุทธเจ้าพยากรณ์ทั้ง ๒ บุคคลว่าเป็นสกทาคามีได้กายดุสิตเหมือนกัน.
อานนท์ ! ... เพราะกระแสแห่งธรรมย่อมถูกต้องบุคคล
ใครเล่าจะพึงรู้เหตุนั้นได้ นอกจากตถาคต.
1
อานนท์ ! เพราะเหตุนั้นแหละ
เธอทั้งหลาย อย่าได้เป็นผู้ชอบประมาณในบุคคล
และอย่าได้ถือประมาณในบุคคล
เพราะผู้ถือประมาณในบุคคลย่อมทำลายคุณวิเศษของตน
เราหรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือประมาณในบุคคลได้.
-บาลี ทสก. อํ. ๒๔/๑๕๐/๗๕.
คนเรือ กับ ผู้โดยสาร อาจจะบาปหรือไม่บาป ต้องดูที่เหตุปัจจัย และเจตนาอีกทีนึง
เจตนา (โลภ โกรธ หลง) เป็นตัวกรรม
แต่ที่เห็นได้ชัด คือ บุคคลที่ถือประมาณในบุคคลอื่น
คุณวิเศษในตัวบุคคลนั้นย่อมถูกทำลายไป
รับเอาสิ่งภายนอกเข้ามาสู่ใจ
เกิดความขุ่นมัว
วิพากษ์ วิจารณ์ ไปด้วยความรู้สึกร่วม
เพ่งโทษในการกระทำของผู้อื่น
ขณะจิตนั้นย่อมประกอบไปด้วย โลภ โกรธ หลง
อ้างอิง :
ภาพโดย Heri Santoso จาก Pixabay

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา