18 มี.ค. 2021 เวลา 08:35 • ปรัชญา
นิทานเรื่อง ฝึกหนัก
ศิษย์ฝึกกังฟูคนนึงเดินไปหาอาจารย์ของเขา
แล้วพูดด้วยท่าทางและน้ำเสียงจริงจังว่า
"ผมจะทุ่มเทศึกษาเล่าเรียนวิทยายุทธ์ของอาจารย์อย่างเต็มที่ ผมจะต้องใช้เวลาสักเท่าไรถึงจะสำเร็จวิชาจากอาจารย์ได้ครับ"
อาจารย์ได้ยินดังนั้นก็ตอบแบบไม่ใส่ใจไปว่า "สิบปี"
เมื่อศิษย์ได้ยินดังนั้นก็ตอบอย่างมุทะลุว่า
"แต่ผมต้องการจะสำเร็จวิชาเร็วกว่านั้นครับอาจารย์
ผมจะฝึกให้หนัก ฝึกทุกวัน ฝึกมากกว่าคนอื่น ฝึกถึงวันละ 10 ชั่วโมง ถ้ามันจะทำให้สำเร็จวิชาเร็วขึ้นผมก็จะทำ หากทำแบบนี้แล้วต้องใช้เวลาเท่าไรผมถึงจะฝึกสำเร็จครับอาจารย์"
อาจารย์หยุดคิดไปครู่นึงแล้วตอบว่า "ยี่สิบปี"
การมุ่งมั่นมากเกินไปในทางธรรมนั้น กลับกลายเป็นทำให้เนิ่นช้าไปกว่าเดิม
1
ยิ่งเสริมอัตตาตัวตนขึ้นไป
เพราะเบื้องหลัง คือ ความโลภ
ทำให้วนลูปไปเรื่อย ๆ ยิ่งทุกข์หนักขึ้นไปอีก
ตั้งเป้าเอาไว้ แล้วเดินไปให้ถูก
1
ทำเหตุให้ถูก และมากพอ ผลก็เกิดขึ้นเอง
1
ยิ่งอยากประสบความสำเร็จเร็วๆ ก็ยิ่งเนิ่นช้า
ยิ่งตั้งเวลาเอาไว้เท่านั้น เท่านี้ ก็ยิ่งห่างไกล
หน้าที่คือ ทำเหตุไปเรื่อย ๆ
1
ถึงแล้ว ก็ถึงเอง
1
กินข้าวไปเรื่อย ๆ อิ่มแล้ว ก็รู้เอง ว่าอิ่ม
1
ปลายทางคือ การละทิ้งภาระในใจ
1
ไม่ใช่เพิ่มภาระขึ้นมาในใจ
1
เป็นศาสตร์ที่ไม่สามารถ "คิด" เอาเองได้เลย
ต้องประจักษ์แจ้งขึ้นมาในใจ
หลวงปู่ดุลย์กล่าวไว้ว่า "จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเป็นมรรค ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเป็นนิโรธ"
จิตต้องเห็นเอง
จิตเกิดดับอย่างรวดเร็ว จะใช้อะไรในการดู
ก็ใช้จิตเองนั่นแหละ
จิตเห็นตัวมันเอง
ว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
1
ไม่มีใคร หรือ อะไร ทั้งนั้น
อ้างอิง :
Image by Lars_Nissen from Pixabay

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา