12 มี.ค. 2021 เวลา 00:00 • ความคิดเห็น
มารยาทในการพูด คืออะไร?
7
การพูดมีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์เป็นอันมาก ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดประกอบกับกิจการงานใด หรือคบหา สมาคมกับผู้ใด
4
"ผู้ที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจการงาน การคบหาสมาคมกับผู้อื่นตลอดจนการทำประโยชน์แก่สังคม ล้วนแต่เป็นผู้ที่มีประสิทธิภาพในการพูดทั้งสิ้น"
1
มารยาท คือ พฤติกรรมที่แสดงออก เป็นระเบียบแบบแผน การประพฤติที่ดีงาม แสดงถึงความสุภาพเรียบร้อย
1
มารยาทในการพูด หมายถึง ผู้พูดที่มีกิริยาวาจาเรียบร้อย ท่าทางสง่างาม อ่อนโยนสุภาพ หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส ไม่ใช้ท่าทางประกอบคำพูดให้มากจนเกินไป ย่อมช่วยเสริมสร้างให้ผู้ฟังเกิดความเชื่อถือเลื่อมใสผู้พูดได้เป็นอันมาก
2
มารยาทในการพูด คืออะไร?
มารยาทในการพูดแบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ
๑. มารยาทในการพูดระหว่างบุคคล
๒. มารยาทในการพูดในที่สาธารณะ
มารยาทในการพูดมีดังนี้
๑. พูดจาไพเราะ
๒. ไม่แย่งกันพูด
๓. พูดด้วยคำสุภาพไม่หยาบคาย
๔. พูดด้วยน้ำเสียงที่นุ่มนวล
๕. ไม่พูดแทรกจังหวะผู้อื่น
๖. พูดด้วยหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส
๗. ใช้ความดังของเสียงให้พอเหมาะ ไม่เสียงเบาหรือดังเกินไป
๘. ไม่พูดนินทาว่าร้ายผู้อื่น
๙. เปิดโอกาสให้ผู้ฟังซักถามหรือแสดงความคิดเห็น
#สาระจี๊ดจี๊ด
T.H.I.N.K. Before You Speak
True – มันเป็นความจริงหรือเปล่า
Helpful – มันเกิดประโยชน์หรือเปล่า
Inspiring – มันให้แรงบันดาลใจหรือเปล่า
Necessary – มันจำเป็นหรือเปล่า
Kind – มันรักษาน้ำใจหรือเปล่า
5
#สาระจี๊ดจี๊ด
ปี ๒๕๔๙ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้จัดทำองค์ความรู้ เรื่อง มารยาทไทยประกอบด้วย การกำหนด ความหมาย ขอบข่าย ลำดับความสำคัญ และการปรับปรุงรายละเอียดการปฏิบัติท่ามารยาทไทย เรื่องการแสดงความเคารพ ซึ่งจัดทำโดย คณะกรรมการดำเนินงานด้านมารยาทไทย
ข้อควรคำนึงในการสื่อสารด้วยการพูด
การพูดจะสัมฤทธิผลหรือไม่เพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับการที่ผู้พูดได้วิเคราะห์องค์ประกอบสำคัญในการพูดให้ถ่องแท้หรือไม่ มีการเตรียมพร้อมเพียงใดก่อนที่จะพูด ฉะนั้นการพูดจึงมีข้อควรคำนึงดังนี้...
- การพูดให้เหมาะสมกับบุคคล
ต้องวิเคราะห์ในเรื่องต่อไปนี้ คือ วัย เพศ ระดับการศึกษา อาชีพ ความสนใจพิเศษเพื่อเตรียมเรื่องที่จะพูดได้อย่างเหมาะสม
- การพูดให้เหมาะกับกาลเทศะ
ควรพิจารณาว่าจะพูดในโอกาสใด การพูดนั้นเป็นทางการมากน้อยแค่ไหน
- การพูดให้ผู้อื่นเข้าใจตรงตามความประสงค์
ควรใช้ภาษาบ่งบอกความต้องการหรือความมุ่งหมายให้ชัดเจน หลีกเลี่ยงการตีความหลายแง่หลายมุม
- การพูดสรุปใจความสำคัญจากเรื่องที่ฟังหรืออ่าน
เป็นการพัฒนาการใช้ภาษาให้สัมพันธ์กันทุกด้าน และอาศัยความสามารถในการสรุปความจากเรื่องที่ฟัง หรืออ่านได้อย่างถูกต้อง ซึ่งจะช่วยให้ผู้รับสารเข้าใจเจตนาของผู้ส่งสารได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว
- การพูดแสดงความคิดเห็น
เป็นการใช้ทักษะ การฟัง การอ่าน การพูด และการคิดให้สัมพันธ์กัน ต้องอาศัยการฝึกฝนให้เกิดความชำนาญ เพราะการพูดแสดงความคิดเห็นผู้พูดต้องใช้ทั้งความรู้ ความคิด เหตุผลหรือหลักการต่าง ๆ หลายอย่างประกอบกัน ความคิดเห็นจึงจะมีคุณค่าน่าเชื่อถือ
#สาระจี๊ดจี๊ด
การพูดมีความสำคัญต่อตนเอง เพราะหากผู้พูดมีศิลปะในการพูดก็จะเป็นคุณแก่ตนเอง ส่วนในด้านสังคมนั้น เนื่องจากเราต้องคบหาสมาคมและพึ่งพาอาศัยกัน การที่จะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขนั้นจำเป็นต้องเป็นคนที่ “พูดดี” คือพูดไพเราะน่าฟังและพูดถูกต้อง
2
#Wasabi ขอเพียงมีส่วนเล็ก ๆ ที่ช่วยให้คุณ!
"เจริญเติบโต ก้าวหน้า สำเร็จ อย่างภาคภูมิใจ"
แหล่งที่มา / แหล่งอ้างอิง
#สาระจี๊ดจี๊ด #Wasabi #ความรู้ขึ้นสมอง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา