ตัว ความรู้สึก ว่าเป็นสุขหรือเป็นทุกข์
เรียกว่า ‘เวทนา’ เป็นสภาพธรรมอีกกองหนึ่ง
ต่างหากจากร่างกาย
.
ความสุขความทุกข์ เข้มข้นมากขึ้นเท่าไหร่
ความจดจำจะยิ่งชัดเจน มากขึ้นเท่านั้น
แต่ที่ให้ความรู้สึกธรรมดาๆ เฉยๆ เช่น การแปรงฟัน
หลายคนอาจเคยลืมว่าแปรงฟันหรือยัง
.
เรื่องที่ทำโดยอัตโนมัติ ไม่ต้องคิด
จะทำให้ความจำ .. ‘ไม่’ เกิดขึ้น
.
ตอนที่ใจเหม่อลอย
บางที ไม่รู้ด้วยซ้ำ ว่ากำลังคิดถึงเรื่องอะไร
รู้แต่ว่ามีภาพรกๆ อยู่ในหัว แต่ไม่จดจำ
เพราะไม่ก่อให้เกิดความรู้สึก สุข ทุกข์ อย่างเข้มข้น
.
ความฝันก็เช่นกัน
ฝันของคนส่วนใหญ่ จะเป็น นิมิต หรือ คลื่นลม
เหมือนตอนที่ฟุ้งซ่านเป็นปกติ ผ่านมาผ่านไปแบบเร็วๆ
ถ้าหากไม่ได้แจ่มชัด เมื่อตื่นขึ้นมา
ก็พร้อมจะลืม ไม่ต่างจากความฟุ้งซ่านในเวลาปกติ
.
ช่วงที่ฝัน สมอง ส่วนที่ทำงาน
จะเห็นภาพ หรือได้ยินเสียง แบบที่สร้างขึ้น
‘มิใช่’ แบบเดียวกันกับที่ สมองรับรู้ด้วย หู ตา
พอการทำงานของสมองพลิกเปลี่ยนรุนแรง
จากที่เข้าไปรับภาพเสียงลอยๆ ผ่านๆ
ลืมตา ตื่นขึ้นมาเห็นภาพจริงๆ
ก็เลยเหมือนอยู่ห่างกัน ราวกับเป็นคนละชาติ
.
เว้นแต่ ความฝันนั้น จะให้ความรู้สึกแจ่มแจ้งชัดเจน
ยิ่งกว่าเห็นด้วยหูตาปกติ
อย่างนี้ จะยังแจ่มชัดอยู่ในความรู้สึกได้
.
ยิ่ง เวทนา เข้มข้น .. สัญญา หรือ ความทรงจำ
ก็ยิ่งแจ่มชัด คมชัด มากขึ้นตามไปด้วย
.
คนมักบอกว่า หลับโดยไม่ฝัน
แต่จากการทดลองพบว่า
คนร้อยทั้งร้อย มีช่วงที่กลอกตาเร็ว
แสดงว่ากำลังฝัน แต่อาจฝันในแบบที่มั่วมาก
เหมือนเวลาเราฟุ้งซ่านจัด ในระหว่างวัน
และเรามักบอกว่า ไม่ได้ฟุ้งซ่าน ไม่ได้คิดอะไรเลย!