10 มี.ค. 2021 เวลา 00:29 • สุขภาพ
Sirtuin Gene ยีนอดอยาก เคล็ดลับทำให้อายุยืน
"หัดอดอยากซะบ้าง อายุจะได้ยืน"
1
เคยมีคนพูดว่า สาเหตุที่อายุเราสั้นเพราะชีวิตเรามันอุดมสมบูรณ์เกินไป..🌭🌮🍔🍗🍕🍝
ตามประวัติศาสตร์ มนุษย์ในยุคล่าสัตว์มิได้มีอาหารการกินอุดมสมบูรณ์แบบมนุษย์ยุคหลังที่เริ่มรู้จักการทำเกษตรกรรม
โดยพืชชนิดแรกที่มนุษย์ปลูกเพื่อเก็บไว้บริโภคก็คือข้าว
หรือจะพูดให้ชัด ๆ ก็คือคนเราเพิ่งจะมีกินครบ 3 มื้อก็ตอนที่เราปลูกข้าวกันเป็นเมื่อไม่กี่พันปีมานี้เอง
ก่อนหน้านั้น มนุษย์ไม่สามารถการันตีอาหารในแต่ละวันได้เลย
ล่าได้ก็มีกิน ล่าไม่ได้ ก็ไม่มีกิน
แล้วถ้าวันไหน มนุษย์ล่าสัตว์หรือหาของป่ามากินไม่ได้หรือไม่พอสำหรับทุกคนจะเป็นยังไง?
จะให้เป็นยังไง?
ก็อดสิครับ.....🤤
มนุษย์ยุคโบราณ เผชิญกับความอดอยากเป็นเรื่องปกติ ทั้งภัยธรรมชาติ ทั้งล่าสัตว์ไม่สำเร็จ
1
ภาวะอดอยากบ่อย ๆ นี้เองที่ทำให้ร่างกายมนุษย์มีการปรับตัวเพื่อความอยู่รอดด้วยการสร้างสิ่งที่เรียกว่า.."ยีนอดอยาก"หรือ"ยีนอดทน"ขึ้นมา
1
ยีนอดอยากหรือยีนอดทน เป็นตัวช่วยให้มนุษย์อยู่รอด ในภาวะขาดแคลนอาหาร จะเรียกว่ามันคือยีนอายุวัฒนะในภาวะขาดอาหารก็ไม่ผิดนัก
หลายคนคงเคยอ่านหนังสือที่มีชื่อไทยว่า "แก่ช้าลงแน่ แค่ปล่อยให้ท้องหิว"ของนายแพทย์ชาวญี่ปุ่นที่ชื่อว่าคุณหมอโยะชิโนะริ นางูโมะ Yoshinori Nagumo
1
คุณหมอโยะชิโนะริ เคยประสบปัญหาสุขภาพหลายอย่าง จากความอ้วน
คุณหมอพยายามหันไปออกกำลังกายจริง ๆ จัง ๆ แต่นอกจากสุขภาพยังไม่ดีขึ้นแถมน้ำหนักตัวยังเพิ่มขึ้นอีกด้วย
3
คุณหมอจึงลองปรับพฤติกรรมการกินดู โดยลดการกินเนื้อสัตว์ หันมากินผัก ผลไม้เป็นหลักและลดปริมาณอาหารที่เคยทานลง 60 %
และข้อปฏิบัติที่สำคัญที่สุดก็คือคุณหมอจะปล่อยให้ร่างกายหิว
จะไม่รีบกินอาหารก่อนที่จะรู้สึกหิวเด็ดขาด บางครั้งก็ปล่อยให้หิวไปสักพักก่อน จึงค่อยกิน
ผลที่ได้รับคือสุขภาพที่ดีขึ้นทันตา แถมด้วยรูปร่าง หน้าตาที่ดูอ่อนเยาว์ลง
ถ้าใครพอจำได้ ในหนังสือบอกเอาไว้ว่า เมื่อคุณหมอเข้าไปตรวจสภาพหลอดเลือด พบว่าสภาพหลอดเลือดคุณหมอมีอายุเท่ากับคนอายุ 26 ปีเท่านั้น ทั้ง ๆ ที่ ขณะนั้นคุณหมอโยะชิโนะริอายุ 56 ปีแล้ว
..
ความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นของสุขภาพของคุณหมอถูกอธิบายด้วยสิ่งที่เกริ่นไว้ตอนต้นนั่นก็คือ ตัวยีนที่เรียกว่า ยีนอดอยาก
..
ยีนอดอยาก Sirtuin Gene(เซอร์ทูอิน ยีน)มีอยู่คู่กับมนุษย์เราทุกคน เพียงแต่หลัง ๆ มันไม่ได้ถูกปลุกขึ้นมาทำงานเท่านั้นเอง
ยีนเซอร์ทูอินจะทำงานก็ต่อเมื่อกลไกร่างกายมนุษย์กำลังรู้สึกถึงความขาดแคลน มันจะทำหน้าที่ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกายโดยอัตโนมัติ พร้อม ๆ กับทำให้ฮอร์โมนอ่อนเยาว์หรือ Growth Hormone ทำงานอีกด้วย
1
Sirtuin Gene ยีนอดอยาก มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ยีนอดออม
..
1
ทำไมมันจึงถูกเรียกแบบนั้นน่ะ
เหรอ?
..
สาเกตุที่ยีนอดอยาก ถูกเรียกว่ายีนอดออม ก็เป็นเพราะว่าเมื่อมันเริ่มทำงานหากคุณได้กินอาหารเข้าไปเพียงนิดเดียว ยีนอดอยากมันจะพยายามรีดเอาสารอาหาร คุณประโยชน์จากอาหารเพียงน้อยนิดไว้ให้ได้มากที่สุดและพยายามเปลี่ยนให้กลายเป็นไขมันเพื่อสะสมเอาไว้ใช้ในยามขาดแคลนอีกครั้ง
2
นี่คือคำตอบที่ว่า ทำไมบางคนกินอะไรนิด อะไรหน่อยก็อ้วน แต่บางคนกินอะไรเยอะแยะ มากมายกลับไม่อ้วน
คนอ้วนง่าย บางทีก็เกี่ยวกับยีนอดอยากทำงานดีเกินไป
ส่วนคนอ้วนยาก แสดงว่ายีนอดอยากไม่ค่อยทำงาน
เคล็ดลับนี้ ความจริงก็ไม่ใช่ความลับ เพราะคนโบราณท่านมักสอนลูก หลานมานานแล้วว่า
"อย่ากินจนอิ่ม ให้กินแค่ 80 % ก่อนที่จะรู้สึกอิ่มก็พอแล้ว"
1
..
เคยมีการทดลองพบว่าคำว่าความหิวในปัจจุบัน มิใช่ความหิวอันเกิดจากสัญญาณเตือนจากร่างกายว่าเรากำลังขาดอาหารเท่านั้น
ความหิวส่วนมาก มักเกิดจากพฤติกรรมการเรียนรู้ของมนุษย์จากสิ่งเร้าให้เกิดความอยาก เช่นความรู้สึกหิวเมื่อเห็นรายการทำอาหาร หิวเมื่อได้ยินเสียงแตรรถไอติม หิวเมื่อมองเห็นคนถือถุงขนมเสียงดังก๊อบแก๊บ...เป็นต้น
1
สิ่งเหล่านี้ ล้วนเป็นตัวกระตุ้นให้เราไม่ได้กินเมื่อรู้สึกหิวจริง ๆ แต่เรามักกินเมื่อรู้สึกอยากกินมากกว่า
..
1
มีข้อสังเกตุอีกข้อ ก็คือถ้าคุณสังเกตุเหล่าพระ นักบวชที่กินอาหารน้อยมื้อ พวกท่านจะดูหน้าตาสดใส อ่อนเยาว์กว่าอายุจริงซะเป็นส่วนใหญ่
3
เรื่องนี้ก็เป็นข้อพิสูจน์ว่า การกินดี อยู่ดี มีอันตรายกว่าการอดอยากเสียอีก
เพราะฉะนั้น หากใครอยากอายุยืน
ให้ลองอดอยาก ปากแห้ง กินน้อย ๆ ปล่อยให้หิวนาน ๆ เสียบ้าง
ไม่ใช่ เอะอะอะไรก็ชาบู ชาบู ...
ไม่ไหวมั้งแบบนั้น...😅😅😅
1
..
ติดตามอ่านบทความได้ที่

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา