ในโลกที่พัฒนาแล้ว ได้สร้างวิถีชีวิตวุ่นวายที่กระทั่ง 1 นาทีก็ไม่อาจเสียเปล่าไปได้
ปัจจุบันชีวิตคนเราอัดแน่นไปด้วยตารางงาน สิ่งที่ต้องทำ และสื่อ เชื่อมต่อหนาแน่นจนไม่มีพื้นที่สำหรับคิดใคร่ครวญถึงตัวเอง และโลก ทำให้สูญเสียโอกาส
การทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ไป
นักจิตวิทยารู้มานานแล้วว่า ความสร้างสรรค์จะผุดขึ้นมาในช่วงเวลาที่ไม่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้า ระหว่างเล่น ระหว่างคิดไปเรื่อย ระหว่างเตร็ดเตร่
โครงข่ายจำนวนคนหนุ่มสาวในอเมริกาที่ “ไม่มีความสุข” เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลสถาบันสุขภาพจิตแห่งชาติรายงานว่า ตั้งแต่ปี 2010 ถึง 2015 สัดส่วนของวัยรุ่น(อายุ 12 ถึง 17 ปี) ที่รายงานว่ามีภาวะซึมเศร้ารุนแรงอย่างน้อย 1 ครั้งในช่วงที่ผ่านมา เพิ่มจากราว 8% มาเป็นเกือบ 13%
ตัวขับเคลื่อนหลัก คือ การปรากฏขึ้นของโครงข่ายดิจิทัลที่ทั้งมหึมาและแผ่กว้างจึงทำให้มีโอกาสหรือความปรารถนาที่จะหยุดเชื่อมต่อน้อยมาก โครงข่ายเปลี่ยนความจริงแบบมีเลือดมีเนื้อตรงหน้าให้เป็น ความจริงเสมือน และความจริงเสมือนนั้น เสียงดังกึกก้อง กลืนกิน ทำลายความเป็นมนุษย์ และไม่หยุดหย่อน มันอาจดูดดึงเวลาทั้งหมดไปได้ ทั้งยังพุ่นไปข้างหน้าโดยไม่รอใคร เจนิส วิตล็อก(Janis Whitlock)
สำนักวิจัยพิว (Pew) วัยรุ่นอเมริกันโดยเฉลี่ยทุกวันนี้ส่งหรือรับข้อความกันมากกว่าวันละ 110 ข้อความ
ที่มาของอาการซึมเศร้า และวิตกกังวลที่เพิ่มขึ้นในวัยรุ่นคือ ความสะพรึงกลัวการอยู่ลำพัง วัยรุ่นยุคใหม่ที่มีชีวิตอยู่ในโลกเสมือน พวกเขาเชื่อมต่อตลอดเวลา
FOMO : Fear of Missing Out หรือ การ”กลัวพลาดโอกาส”การเสพติด การพึ่งพิงกระแสการไหลของดิจิทัล เฝ้ารอจะเสพครั้งต่อไปพยายามตามกระแสให้ทันอยู่เสมอ แต่เราก็ช้ากว่าเสมอ
เทคโนโลยีสื่อสารยุคใหม่ได้หล่อหลอมความเข้าใจที่เรามีต่อโลกต่อ อัตลักษณ์ ต่อวิธีประเมินคุณค่าส่วนตัว ต่อความสัมพันธ์ แม้กระทั่งการรับรู้เวลาและสถานที่