Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เลิกบุหรี่บ้านละคน
•
ติดตาม
10 มี.ค. 2021 เวลา 09:29 • การเกษตร
"ลดการพึ่งพิงยาสูบ" ทางออกปัญหาบุหรี่ในประเทศไทย
ตอนที่ 3 : ทำยากแต่ใช่ว่าเป็นไปไม่ได้ ผลงานในพื้นที่นำร่องถือว่าเดินมาถูกทางแล้ว
ผลการดำเนินงาน ในระยะที่ 1 ซึ่งดำเนินการกับชุมชนที่อยู่ในจังหวัดสงขลา ประกอบด้วยอำเภอจะนะและอำเภอรัตภูมิ ในจังหวัดสตูล ประกอบด้วยอำเภอท่าแพ อำเภอมะนัง และอำเภอควนกาหลง มีจำนวนครัวเรือนที่ปลูกยาสูบรวมทั้งหมด 58 ครัวเรือน จาก 10 ชุมชน แบ่งเป็นจังหวัดสงขลา 35 ครัวเรือนและจังหวัดสตูล 23 ครัวเรือน
ครัวเรือนที่ปลูกส่วนใหญ่ปลูกเพื่อสูบเอง ส่วนที่เหลือจากสูบเองก็แบ่งขายทั้งขายแบบปลีกและขายเป็นกิโลกรัม จำนวน 38 ครัวเรือน (65.52%) เหตุผลหลักที่ปลูกสูบเองและขายเป็นรายได้เสริม คือ รู้สึกสบายใจ ปลอดภัยไม่มีสารเคมี แต่ไม่ได้คำนึงถึงสารพิษที่อยู่ในตัวของใบยาสูบ อีกทั้งยังได้ขายได้ราคาดี สร้างเป็นรายได้เสริมของครัวเรือน
จากการสำรวจในพื้นที่ชุมชนปลูกยาสูบ พบว่าชนิดพันธุ์ของต้นยาสูบที่ปลูก แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ พันธ์หางชัยไก่หรือหางไก่เถื่อน (ใบเล็กเรียว) และพันธุ์หูช้าง (ใบใหญ่) ส่วนใหญ่จะปลูกพันธุ์หางชัยไก่ เพราะ สูบแล้วรู้สึกอร่อย รู้สึกมึน เมากว่าพันธุ์ใบใหญ่ เป็นที่ชื่นชอบของผู้ที่ชอบสูบใบจาก แต่จะได้ปริมาณน้อยกว่าพันธุ์ใบใหญ่
ขนาดพื้นที่ปลูกอาจจะมีแตกต่างกันบ้าง แต่โดยเฉลี่ยแล้ว จะปลูกห่างกันระหว่างต้นประมาณ 80-100 เซนติเมตร (1*1 ตารงเมตร) ดังนั้นพื้นที่ 1 ไร่ หรือ 1600 ตารางเมตร จะปลูกต้นยาสูบได้ประมาณ 1600 ต้น 1 ปี ปลูกได้แค่ 1 ครั้ง โดยจะปลูกกันในช่วงหน้าแล้งของทุกปี (มกราคม-เมษายน) เพราะต้นยาสูบเป็นพืชที่โดนน้ำมากไม่ได้ หากมีฝนตกจะทำให้ใบเหี่ยวจะได้ใบยาที่ไม่สวยไม่มีรสชาติ เวลารดน้ำจะรดที่โคนต้น และก่อนเก็บใบประมาณ 1-2 สัปดาห์จะงดให้น้ำเพื่อให้ใบเหนียวแก่จัด
ต้นทุนการผลิตและผลตอบแทน การปลูกยาสูบ/ไร่ พบว่า ปัจจัยการผลิตโดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 35,400 บาท/ปี/ไร่ ค่าดูแลรักษาเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 24,000 บาท/ปี/ไร่ เมื่อรวมต้นทุนทั้งหมดที่ใช้ในการผลิตยาสูบเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 59,400 บาท/ปี/ไร่ ในส่วนของปริมาณของยาสูบที่ได้เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 28 กก./ปี/ไร่ บางครัวเรือนอาจได้มาก บางครัวเรือนอาจได้น้อย ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษาด้วยเช่นกัน
เมื่อนำไปขายส่วนใหญ่จะขายอยู่ที่ราคากิโลกรัมละประมาณ 2,500 บาท ภายใน 1 ปีก็จะได้ยอดขายรวมประมาณ 70,000 บาท/ปี/ไร่ เมื่อหักลบต้นทุนทั้งหมด ก็จะได้กำไรอยู่ประมาณ 10,600 บาท/ปี/ไร่ หรือ กำไรเดือนละประมาณ 883.33 บาท/ไร่ หรือได้กำไรประมาณวันละ 29.44 บาท/ไร่
จาก 10 ชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ มีครัวเรือนที่ปลูกต้นยาสูบทั้งหมด 58 ครัวเรือน สนใจเข้าร่วม 50 ครัวเรือน (86.21%) ไม่สนใจเข้าร่วม 5 ครัวเรือน (8.62%) และไม่แน่ใจ 3 ครัวเรือน (5.17%) แบ่งเป็นจังหวัดได้ดังนี้ จังหวัดสงขลา 35 ครัวเรือน สนใจเข้าร่วม 29 ครัวเรือน (82.86%) ไม่สนใจเข้าร่วม 3 ครัวเรือน (8.57%) และไม่แน่ใจ 3 ครัวเรือน (8.57%) ส่วนจังหวัดสตูล 23 ครัวเรือนจังหวัดสตูล สนใจเข้าร่วม 21 ครัวเรือน (91.30%) และไม่สนใจ 2 ครัวเรือน (8.70%)
ในพื้นที่ดำเนินงาน 10 ชุมชน จำนวนต้นยาสูบ ปี 2561 จำนวน 12,632 ต้น คิดเป็นพื้นที่ปลูกประมาณ 7.90 ไร่ (1600 ต้น = 1 ไร่) ปี 2562 จำนวน 5,345 ต้น คิดเป็นพื้นที่ปลูกประมาณ 3.34 ไร่ และปี 2563 จำนวน 3,450 ต้น คิดเป็นพื้นที่ปลูกประมาณ 2.16 ปริมาณต้นยาสูบลดลงจำนวน 12,632 – 3,450 = 9,182 ต้น คิดเป็นพื้นที่ที่ลดการปลูกยาสูบได้ประมาณ 5.74 ไร่ ในจำนวนนี้มีบางชุมชนที่สามารถเลิกปลูกยาสูบ 100% นั่นคือ ชุมชนบ้านท่าแพเหนือ บ้านเพนียด บ้านน้ำร้อน และบ้านควนบ่อทอง และมีอีกหลายชุมชนที่ลดปริมาณและพื้นที่ปลูกบางส่วน แต่พร้อมที่จะปรับลดพื้นที่หรือเลิกปลูกยาสูบไปเลยในอนาคต แสดงให้เห็นว่าโครงการนี้มีความเป็นไปได้ที่จะบรรลุเป้าหมายและควรขยายต่อไปสู่พื้นที่ที่มีการปลูกในปริมาณมากขึ้น
แน่นอนว่าการเลิกหรือลดพื้นที่ปลูกย่อมทำให้ผู้ปลูกสูญเสียรายได้ส่วนนั้นไป ได้มีการประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนข้อมูลเกี่ยวกับพืชทดแทนซึงในบางชุมชนได้มีการดำเนินการไปแล้วบางส่วน เช่น ชุมชนบ้านน้ำร้อน ชุมชนบ้านบนควน เพื่อสร้างเป็นชุมชนต้นแบบที่ปลูกพืชทดแทน เกิดศูนย์เรียนรู้ของชุมชนในอนาคต นำไปสู่แนวคิดการจัดตั้งธนาคารเมล็ดพันธุ์
อย่างไรก็ตามพื้นที่ปลูกยาสูบรวมที่สามารถลดได้ในโครงการนี้เท่ากับ 9,182 ตารางเมตร คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 5.74 ไร่ เทียบเท่าผลผลิตใบยาสูบ 160.72 กิโลกรัม ถึงแม้ยังไม่เยอะมากแต่ปริมาณใบยาสูบเท่านี้สามารถนำไปผลิตเป็นบุหรี่เชิงพาณิชย์ได้ถึง 229,600 มวน กันเลยทีเดียว (เท่ากับ 11,480 ซอง) เทียบเท่าคน 1 คน ที่ติดบุหรี่หนัก ๆ สูบบุหรี่วันละ 20 มวน เป็นเวลาถึง 32 ปี
ในด้านการสร้างกลไกหรือโมเดลนำร่องในการนำมาทดแทนการปลูกยาสูบของชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ โดยภาพรวมทั้งหมด 10 ชุมชน พบว่า การแต่งตั้งแกนนำในการดำเนินโครงการของทุกชุมชนเป็นจุดเริ่มต้นแรกที่สำคัญในการขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆ ประกอบด้วย ประธาน เลขานุการ ตำแหน่งอื่น ๆ จากนั้นได้กำหนดครัวเรือนนำร่องประมาณ 20-30 ครัวเรือนต่อชุมชน ในการปรับเปลี่ยนทดแทนการปลูกยาสูบ โดยจะต้องมีครัวเรือนที่ปลูกยาสูบเข้าร่วมเป็นครัวเรือนนำร่องด้วย
สิ่งที่จะนำมาทดแทนการปลูกยาสูบ ทางชุมชนมีข้อเสนอมีทั้งเหมือนและแตกต่างกันดังนี้ 1) ปลูกผักปลอดสารพิษ 10 ชนิดรั้วกินได้ สร้างสุขภาพดี มีรายได้ แบ่งเป็นสองรูปแบบ คือ ปลูกรวมกันเป็นส่วนรวมที่มัสยิดหรือจุดศูนย์รวมของชุมชน และปลูกแต่ละบ้าน 2) ปลูกต้นกาแฟ มี 2 ชุมชน ที่สนใจจะปลูกต้นกาแฟในระหว่างแถวของยางพารา 3) เลี้ยงปลา 4) ทำปุ๋ยหมัก 5) กลุ่มเพาะเห็ด 6) เลี้ยงไก่ไข่ 7) กลุ่มปลูกถั่วงอกคอนโด 8) ปลูกถั่วลิสง
จากข้อเสนอของผู้ที่เข้าร่วมเวทีประชาคมในครั้งนี้มีความเห็นพ้องกันยินดีที่จะร่วมเปลี่ยนแปลง ถือเป็นมติที่ตกลงกัน ในการขับเคลื่อนสร้างพืชทดแทน ลดการพึ่งพิงยาสูบ สู่การสร้างเป็นชุมชนต้นแบบและปลอดยาสูบในอนาคต
ภาพกิจกรรมใน ระยะที่ 1
1 บันทึก
3
5
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ลดการพึ่งพิงยาสูบ ทางออกแก้ปัญหาบุหรี่ในประเทศไทย
1
3
5
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย