11 มี.ค. 2021 เวลา 14:54 • หุ้น & เศรษฐกิจ
"การรู้อะไร ที่ไม่รู้ เป็นสิ่งน่ารู้"
ของ NAV กองทุนต่างประเทศ
ที่ต่างกันออกไปในกองทุนที่บริหาร
โดย Baillie Gifford กับ กองจากสหรัฐฯ
💭บทความนี้ ผมจะพามาดูวิธีคิด NAV ที่ต่างกันออกไปในกองทุนที่บริหารโดย Baillie Gifford เช่น one-ugg-ra, one-disc-ra, k-change-a, kf-us โดยเอามาเปรียบเทียบกับกองทุนที่บริหารฝั่งอเมริกา หรือกองทุนอื่นๆครับ
💭ผมนำเอาเหตุการณ์จริงๆ ในช่วง 25 ก.พ. 2021 เป็นต้นมาจนถึง 2 มี.ค. 2021 โดยลำดับเหตุการณ์เป็นดังนี้
1.วันที่ 25-26 ก.พ. คือวันหุ้นลงหนักมากๆ ในดัชนี NASDAQ
2.วันที่ 26 ก.พ. ไทยเราหยุด***
3.วันที่ 1 มี.ค. ตลาดฟื้นกลับมา
4.วันที่ 2 มี.ค. ตลาดร่วงอีกครั้ง
9
💭ผมนำดัชนี Nasdaq มาประกอบการอธิบายเป็นกราฟด้านล่าง
ที่มา Tradingview : Nasdaq (IXIC) | Timeframe : day
ดูภาพด้านล่างจะเห็น nav วันที่ 1 มีค กองที่บริหารจากอเมริกาจะบวกกลับขึ้นมากๆทั้งหมด เช่น T-ES-GINNO, TGENOME, TNEXTGEN, PWIN ขณะที่ วันที่ 2 มีค กองจากสหรัฐฯก็ลงตามตลาดหุ้นที่ร่วง
ที่มา : app FIN | สังเกตว่าวันที่ 1 ที่ตลาดหุ้นบวกแรง กองทุนที่บริหารจากอเมริกาก็บวกแรงตามด้วย
💭มาดู Baillie Gifford เกิดการ delay 1 วัน
โดยวันที่ 1 ไม่บวกตาม มาบวกวันที่ 2
สรุปก็คือ กองที่บริหารด้วย BG จะดีเลย์ 1 วัน
เนื่องจากมันปิดช่วงราวเที่ยงคืน ไม่ใช่ตี 4
แบบกองของฝั่งสหรัฐอเมริกาครับ
ที่มา : app FIN | สังเกตว่าวันที่ 1 ที่ตลาดหุ้นบวกแรง กองทุนที่บริหารจาก Baillie Gifford ยังไม่บวกตามเหมือนกองทุนของอเมริกา แต่เป็นการติดลบอยู่
ที่มา : app FIN | สังเกตว่าวันที่ 2 มีนาคม เวลาประเทศไทย บางกองทุนจะรายงาน NAV ของวันที่ 1 มีนาคม ขณะที่บางกองยังอัพเดทแค่ 25 กุมภาพันธ์ อาทิเช่น TGHDIGI
ที่มา : app FIN | สังเกตว่าวันที่ 2 มีนาคม NAV ของกองที่บริหารด้วย Baillie Gifford อย่าง KF-US และ ONE-DISC-RA ก็ปรับตัวขึ้น ซึ่งล่าช้าไป 1 วันครับ
ที่มา : app FIN  | สังเกตว่าวันที่ 2 มีนาคม NAV ของกองที่บริหารด้วย Baillie Gifford อย่าง ONE-UGG-RA ก็บวกขึ้นด้วยเช่นกัน
💭เราสามารถใช้เงื่อนไขแบบนี้ เข้าซื้อหรือขาย ballie gifford เพื่อให้ได้ nav ต้นทุนที่ดีได้ระดับนึงครับ ขณะที่กองทุนที่บริหารภายใต้กองแม่จากอเมริกาอาจไม่สามารถทำนายได้เลย ยกเว้นจะใช้ Nasdaq Future แต่มันก็ไม่แม่นอะไรมากนักในความคิดผม
💭ผมนำตัวอย่างกองทุนบางกองที่จะรายงาน NAV ช้ากว่าคนอื่น และบริหารงานโดยฝั่งยุโรป อย่าง TGHDIGI จาก Credit Suisse ครับ พบว่า ราคา NAV สอดคล้องเหมือนกับฝั่งอเมริกาครับ วันที่ 25-26 กุมภาพันธ์ตกลง แล้วก็ขึ้นสูงช่วง 1 มีนาคม จากนั้นก็ร่วงลงไปในวันที่ 2 มีนาคม
2
ที่มา : Finnomena | กองทุน TGHDIGI
💭สรุปอีกครั้ง
1. ซื้อ-ขาย NAV กองทุนต่างประเทศวันไหนก่อนการปิดรับการซื้อ-ขาย (เช่น 14.30 น.) -> เราจะได้ NAV ของวันนั้นครับ ถ้ากองที่ลงในฝั่งเอเชีย อาจจะพอทำนายจากดัชนีหุ้นประเทศนั้นๆได้ แต่ถ้าเป็นกองยุโรป หรือ สหรัฐฯ แบบนี้ไม่มีทางรู้เลย ต้องคอยตอนปิดตลาดเท่านั้น ซึ่งตลาดยุโรปจะปิดราวๆ เที่ยงคืนบ้านเรา และตลาดสหรัฐฯ จะปิดราวๆ ตีสี่ ครับ
2. กอง Baillie Gifford ราคาจะดีเลย์ หรือ ช้ากว่ากองที่บริหารจากฝั่งอเมริกา เนื่องจากว่าเค้าเอาราคาปิดก่อนตลาดปิดจริงในตลาดสหรัฐฯ ราวๆ เที่ยงคืนแทนที่จะเป็นตีสี่
3.ทางฝั่งกองทุนไทยที่ลงทุนในต่างประเทศ กว่าจะรายงาน NAV วันนั้นๆที่เราซื้อ บางทีก็ต้องใช้เวลา 1-2 วันถัดไปครับ เช่น ซื้อกองทุนวันที่ 11 มีนาคมช่วงเที่ยง เราจะรู้ NAV ที่เราจะซื้อไปจริงๆ ก็ราวๆ วันที่ 12 หรือ 13 มีนาคม ช่วงเย็นๆ ค่ำๆ ไปแล้วครับ
19
💭และนี่ก็เป็นเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย ที่ "หนีดอย" นำมาฝากนักลงทุนที่ลงทุนในกองทุนต่างประเทศครับ อาจไม่ถูกต้องแม่นยำ 100% ยังไงลองไปสังเกตและปรับใช้กันดูได้เลยนะครับ
1
💭เพราะการลงทุนนั้น ไม่ต้องซื้อให้ถูกที่สุด
แต่ขอให้ห่างจากจุดที่เรียกว่า "ดอย" ก็พอ
💭ใครชอบบทความดีๆแบบนี้ รบกวนกด Like เป็นกำลังใจให้แอดมิน
ใครคิดว่าบทความนี้ใช่ รบกวนกด share ให้เพื่อนๆมีความรู้เพิ่มในการลงทุน
หรือใครมีข้อเสนอแนะ ติชมอะไร พิมพ์ทิ้งไว้ได้เลยครับ
==================================
***การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษารายละเอียดให้ดีก่อนการลงทุนทุกครั้ง
==================================
💭หากใครอยากได้ข้อมูลการลงทุนแบบฉับไว
ไม่พลาดทุกการลงทุนในทุกสินทรัพย์
กด Follow Twitter "หนีดอย"
พร้อมกดกระดิ่งแจ้งเตือนได้ที่ www.twitter.com/needoykan
💭เผื่ออนาคตผมมีจัด Clubhouse ด้านการลงทุน ใครสนใจสามารถ follow @winneuro เพื่อติดตามกันได้เลยนะครับ...
Clubhouse
💭ช่องทาง Podcast ทั้งหมดของ "หนีดอย"
Apple Podcast : apple.co/3pC8Gwh
โฆษณา