16 มี.ค. 2021 เวลา 05:04 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
โง่ศาสตร์: กฎพื้นฐานว่าด้วยความโง่เขลา|
เขียน: Carlo M. Cipolla (คาร์โล ชิโปลลา)
แปล: สุนันทา วรรณสินธ์
สำนักพิมพ์: บุ๊คสเคป
จำนวนหน้า: 96 หน้า
การพิมพ์และกระดาษ: ขาวดำ, กระดาษถนอมสายตา
ราคาปก 165.-
หนังสือความเรียงคลาสสิก เล่มบางจิ๋ว แต่มีเนื้อหารุนแรง เล็กเผ็ดเหมือนพริกขี้หนู ในหนังสือได้อธิบายเรื่องของการแบ่งคนในสังคมตามกราฟ ซึ่งทั้งเล่ม ก็จะอธิบายภาพกราฟๆเดียว คือกราฟสองมิติ แกนx แกนy
ผู้เขียนกล่าวว่า ประชากรของคนโง่ในทุกๆสังคมนั้นจะอยู่ในสัดส่วนที่เท่ากัน ในทุกที่ ไม่ว่าจะเป็นประเทศพัฒนาแล้ว หรือ กำลังพัฒนา ก็จะมีสัดส่วนของคนโง่ในสังคมที่เท่ากัน แล้วสัดส่วนพวกนี้ถูกกำหนดจากธรรมชาติเรียบร้อยแล้ว ไม่ได้เกิดจากการเลี้ยงดูแต่อย่างใด
นิยามของ 'คนโง่' ในหนังสือเล่มนี้ คือ คนสร้างความเสียหายแก่คนอื่น หรือกลุ่มอื่น ทั้งที่ตนเองไม่ได้รับประโยชน์ กระทั่งอาจได้รับความเสียหายด้วย
คนโง่ ไม่ได้ขึ้นกับบุคลิกลักษณะ บ่อยครั้งที่เป็นโง่ได้รับรางวัลโนเบล บ่อยครั้งที่คนโง่เป็นผู้นำ และ บ่อยครั้งคนโง่ยังเป็นบุคคลอันตรายที่สุดมากเสียยิ่งว่าโจร
หนังสือไม่ได้อ้างอิงงานวิจัยใดๆไว้ในหนังสือ หากแต่เป็นบทสรุปสั้นๆในเรื่องของโง่ศาสตร์ โดยนักประวัติศาสตร์เศรษฐกิจชาวอิตาลี
ต้องบอกตามตรงว่า หนังสือเล่มนี้ไม่เหมือนหนังสือเล่มไหน เป็นหนังสือที่มีสำนวนการเขียนที่เฉพาะตัวมาก แล้วคือมันแสนจะตรงไปตรงมา เปิดโลกมากเลยทีเดียว ที่สำคัญต้องอ่านอย่างเปิดใจนะ
แต่จริงๆไม่ต้องเอากราฟมาพูดก็ได้ แค่อธิบายด้วยคำพูดก็พอจะเข้าใจ พอมีกราฟแล้วทำให้ย่อยได้ยากขึ้นไปอีก
" คนไม่โง่มักประเมินอำนาจทำลายล้างของคนโง่ต่ำเกินไป กล่าวให้ชัดก็คือ คนไม่โง่มักลืมเสมอว่า เมื่อพวกเขารับมือ และ/หรือ ข้องแวะกับคนโง่ ไม่ว่าในเวลา สถานที่ หรือโอกาสใด ผลที่ตามล้วนเป็นความผิดพลาดราคาแพงอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ “ หน้า 69

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา