Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เรื่องของปราชญ์
•
ติดตาม
14 เม.ย. 2021 เวลา 10:06 • ความคิดเห็น
ล่ามโรงพยาบาลเก่งแค่ภาษาพอไหม?
ครั้งหนึ่งผมได้พูดคุยกับนพ.กษิดิษ ศรีสง่า แพทย์ชำนาญพิเศษด้านศัลยศาสตร์ นักเรียนไทยคนเรียกที่จบแพทย์จากมหาวิทยาลัยอัลอัซฮัร ประเทศอียิปต์ ปัจจุบันคุณหมอทำงานอยู่ที่โรงพยาบาลกรุงเทพ
จุดเด่นหนึ่งของคุณหมอคือสามารถทำงานกับคนไข้ชาวอาหรับได้โดยไม่ต้องผ่านล่ามเนื่องจากตอนเรียนที่อียิปต์ภาษาที่ใช้หลัก ๆ ก็คือภาษาอาหรับ
ผมจึงถามหมอว่าแล้วข้อแตกต่างระหว่างหมอกับล่ามคืออะไรครับ?
หมอตอบว่าองค์ความรู้ของล่ามยังไงก็ไม่เท่าหมอที่เรียนมาตรงสาย ต่อให้ล่ามเรียนรู้ศัพท์ทางการแพทย์ แต่ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งและการเชื่อมโยงข้อมูลต่าง ๆ ก็ยังมีข้อจำกัด
หมอยกตัวอย่างว่า ผมเคยดูแลคนไข้เคสนึงที่มีหมอรวมกัน 17 คน (อาหรับส่วนใหญ่ที่ส่งมารักษาที่ไทยทั้งบำรุงราษฎร์และกรุงเทพมักอาการหนักแล้ว) เพราะคนไข้รายนี้มีปัญหาในหลายส่วนของร่างกาย ต้องมีแพทย์เฉพาะทางมาช่วยดูแล
ปัญหาเกิดเมื่อล่ามรับข้อมูลจากหมอแต่ละคนแล้วก็แปลให้ญาติคนไข้ฟัง หมอหัวใจบอกว่าอาการดีขึ้น หมอทางเดินหายใจก็ว่าดีขึ้น หมอมะเร็งก็ว่าดีขึ้น หมอทุกคนบอกว่าดีขึ้น ล่ามก็แปลไปตามนั้นไม่ผิดแม้แต่คำเดียว
แต่ญาติถามกลับมาว่า "ในเมื่อทุกคนบอกว่าดี ทำไมญาติเรายังไม่ได้ออกจากไอซียูล่ะ? ดีจริงก็ต้องออกมาอยู่ห้องธรรมดาแล้วซิ"
เมื่อนั้นหมอกษิดิษก็ต้องเข้ามาจัดการ ไม่ใช่แค่แปลข้อมูลจากหมอ 17 คนให้ญาติฟังแบบเอกเทศน์ แต่เป็นการรวมข้อมูลแล้ววิเคราะห์จากนั้นก็สังเคราะห์ก่อนจะพูดคุยกับญาติคนไข้ให้เข้าใจว่าตกลงแล้วอาการเป็นอย่างไรบ้าง
บางครั้งนอกจากข้อเท็จจริงเรื่องอาการแล้ว ยังต้องพึ่งจิตวิทยาในการบอกข่าวดี-ข่าวร้ายกับญาติคนไข้หรือตัวคนไข้เองด้วย
หมอสรุปทิ้งท้ายว่า ถ้าเป็นเคสทั่วไป ไม่ซับซ้อนมาก หมอประจำคนไข้ยังไม่เยอะ ล่ามก็ยังมีความจำเป็นในกระบวนการดูแลรักษาคนไข้ แต่ถ้าเป็นกรณีซับซ้อนเช่นที่เล่าไปแล้ว หมอที่พูดภาษาเดียวกับคนไข้ได้ก็จะมีแต้มต่อมากกว่าล่ามครับ
บันทึก
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ระหว่างทาง
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย