Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
โปรแกรมเมอร์บ้านบ้าน
•
ติดตาม
14 มี.ค. 2021 เวลา 16:36 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
Python101 : บทที่ 2 คำสั่งการเขียนโปรแกรมที่ต้องรู้ (algorithm)
มาต่อกันที่บทที่ 2 สำหรับ Python หลังจากเริ่มบทแรกไปแล้ว มีอะไรที่เราควรรู้เกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมด้วย Python อีกบ้าง มาต่อกันเลย
Python : EP2
สำหรับใครที่ย้งไม่ได้อ่านบที่ 1 เริ่มพื้นฐาน จากบทที่ 1 ของ Python101 ไปอ่านได้ที่
https://www.blockdit.com/posts/60450b0fa568d80c1cb8a834
เริ่มเปิดโปรแกรมสำหรับเขียน Python ได้ที่เวป Colab -->
https://colab.research.google.com/
รูปที่ 1 : New Notebook
สร้าง New Notebook กดตามรูปที่ 1 และแก้ไขชื่อ Notebook ตามรูปที่ 2
รูปที่ 2 : แก้ไขชื่อเป็น Python101_Lession 2
พิมพ์คำสั่งตามรูปที่ 3 การ Comment หรือ ใส่หมายเหตุในโปรแกรมให้ใส่เครื่องหมาย "#" แล้วตามด้วยข้อความที่ต้องการใส่หมายเหตุ
เช่น ตามตัวอย่าง พิมพ์คำว่า #This is a comment.
ส่วนคำสั่ง print("") จากบทที่ 1 พิมพ์คำว่า print("Hello, World!")
เพื่อให้แสดงข้อความแสดงผลในหน้าจอ "Hello , World!"
รูปที่ 3 : ใส่ Comment และ คำสั่ง print
ตามรูปที่ 3 ผลลัพธ์หลังจากกดปุ่ม รัน ▶
✌ Python Variables : การใส่ค่าตัวแปร หรือการสร้าง Variables
วิธีการใช้เหมือนที่เราเรียนในสมการคณิตศาสตร์ หรือวิชาเลข สมัยมัธยม
คือ ให้ตัวแปร แทนการกำหนดค่า เหมือนการกำหนดตัวแปรในสมการ หรือสูตร
เช่น
เรา สร้าง ตัวแปร ชื่อว่า x Variables เพื่อกำหนดค่า x ให้เท่ากับเลข 5
ให้พิมพ์ว่า x = 5
หรือในกรณี จะกำหนดตัวแปร y ให้เป็นตัวอักษรหรือประโยค เท่ากับคำว่า
Hello , World!
ให้พิมพ์ว่า
y = "Hello, World!"
ลองพิมพ์คำสั่งใน Colab ตามรูปที่ 4
รูปที่ 4 : กำหนดค่า x และ ค่า y
หลังจากนั้นกดปุ่น Run ▶ จะไม่แสดงค่าอะไรเพราะเป็นแค่การเซตค่า ถ้าต้องการให้แสดงผลให้ใช้คำสั่ง print()
เพิ่มคำสั่ง print(x)
แล้วตามด้วย print(y) ตามรูปที่ 5 แล้วกดปุ่มรัน
รูปที่ 5 : คำสั่ง Print เพื่อแสดงค่า x และ ค่า y
ถ้าต้องการใช้คำสั่ง print ต่อกันไปเลย Python สามารถเขียนภายในบรรทัดเดียวโดยใช้ Semi Colon คั่น ตามตัวอย่างรูปที่ 6 จะได้ผลลัพธ์แบบเดียวกัน
เช่น print(x);print(y)
รูปที่ 6 : คำสั่ง Print เพื่อแสดงค่า x ค่า y เขียนในบรรทัดเดียว
หรือถ้าจะลองพิมพ์ข้อความเพิ่มไปก่อนแสดงค่าตัวแปร สามารถเขียนได้ตามรูปที่ 7
เช่น
print("X = " ,x);print("Y = ",y)
ลองพิมพ์ตามรูปที่ 7 แล้วรันดูผลที่ได้
รูปที่ 7 : คำสั่ง Print แสดงค่า x ค่า y แต่ให้มีข้อความด้วย
หรือจะลองเขียนให้สั้นกว่านี้โดย ใช้คำสั่ง print แค่ครั้งเดียวแต่ให้แสดงผลทั้งค่า
x และค่า y ตามรูปในตัวอย่าง ที่ 8
print("X = " ,x ," and Y = ",y)
รูปที่ 8 : คำสั่ง Print แสดงค่า x ค่า y ภานในคำสั่งเดียว
สำหรับ ตัวแปร หรือ Variable ใน Python จะเป็น case-sensitive
ความหมาย คือ ไม่ว่า การกำหนดค่าตัวแปร ตัวเล็ก หรือตัวอักษรใหญ่จะมีค่าที่ต่างกัน
เช่น เราต้องการ กำหนด ค่า a (เล็ก) ให้เป็นตัวเลข 4
และ ค่า A (ใหญ่) ให้เป็นตัวตัวอักษร คำว่า "Sally"
ให้พิมพ์ตามตัวอย่างข้างล่าง แล้วรัน จะได้ผลลัพธ์ตามรูป ที่ 9
a = 4
A = "Sally"
print(a)
print(A)
รูปที่ 9 : ค่าของ a และ A จะแตกต่างกัน
มาถึงตรงนี้จะเห็นว่าคำสั่งที่ใช้ในภาษา Python เขียนเข้าใจได้ง่าย และสามารถปรับรูปแบบได้อีกมากมาย
ตอนนี้เรารู้ คำสั่ง print , comment และการกำหนดค่าให้ตัวแปร
มาที่คำสั่งต่อไป คือ
✌ Python Indentation : การเยื้อง หรือการย่อหน้า
การเยื้อง หมายถึง ช่องว่างที่จุดเริ่มต้นของบรรทัด ที่เราเขียนคำสั่ง
โดยในภาษาโปรแกรมอื่น ๆ การเยื้องในโค้ดมีไว้เพื่อให้อ่านได้ง่าย
เท่านั้น
"แต่การเยื้องใน Python มีความสำคัญมาก
Python ใช้การเยื้องเพื่อระบุบล็อกของโค้ด"
เช่น การใช้ คำสั่ง IF หมายถึง ถ้าหากค่าตัวแปร หรือ ตรรกะนี้เป็นจริงจะให้ทำอะไรต่อไป
if 5 > 2:
print("Five is greater than two!")
ตามรูปที่ 10
1
รูปที่ 10 : ตัวอย่างการใช้คำสั่ง IF
ถ้าเราพิมพ์ คำสั่ง ว่า ถ้า 5 มีค่ามากกว่า 2 แล้วให้พิมพ์
ว่า Five is greater than two!
ถ้าบรรทัดที่ 2 ตรงคำสั่ง print เราไม่เคาะ หรือไม่มีการเยื้องของ Code
เมื่อรันโปรแกรมออกมาจะมี error ตามรูปที่ 11
รูปที่ 11 : บรรทัดต่อจากคำสั่ง IF เราไม่มีการเยื้องข้อความ
บรรทัดต่อจากคำสั่ง IF เราไม่มีการเยื้องข้อความ เมื่อรันโปรแกรจะมี error
เรื่องของการใช้คำสั่ง IF จะเปรียบเหมือน การเช็ค ตรรกะ ว่าเป็นจริงหรือเป็นเท็จ ซึ่งถือว่าเป็นพื้นฐานในการเขียนโปรแกรม ของทุกๆ ภาษา
ถ้าคุณเคยได้ยินคำว่า algorithm หรือ อัลกอริทึม คำสั่งนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่จะให้ Computer ประมวลผล หรือแสดง output มาตามตรรกะที่เรากำหนดไว้
อย่างง่าย ๆ
Syntax IF :
IF ตามด้วยเงื่อนไข หรือตรรกะ แล้วจบ ด้วยเครื่องหมาย Colon (":")
แล้วต้องตาม ผลลัพธ์ที่ต้องการในบรรทัด ถัดไป
เช่น พิมพ์ตามรูปที่ 12
A = 5
B = 1
if A > 3:
print("A value is greater than three !")
รูปที่ 12 : กำหนดค่า A แล้วเช็คเงื่อนไขใน IF
จากรูปที่ 12 เรากำหนดค่า A = 5
แล้วเช็ค เงื่อนไข IF ว่า ถ้า A มีค่ามากกว่า 3 ให้พิมพ์ผลลัพธ์ออกมา
แล้วในกรณีที่ไม่ใช่ค่าจริง หรือ A มีค่าน้อยกว่า 3 จะให้แสดงผล
ต้องทำยังงัย ให้ใช้คำสั่ง else:
ตามรูปที่ 13 else: แล้ว พิมพ์ว่า
print("A value is less than three !")
รูปที่ 13 เพิ่มคำสั่ง else:
เริ่มเขียนโค้ด ให้ยาวขึ้น โดยใช้ค่าตัวแปร A และ B ในประโยค IF , ELSE
ถ้า A มากกว่า 3 และ B มีค่ามากกว่า 0 ให้แสดงค่าว่า
"A is greater than three And B is greater than Zero !"
แต่ถ้าไม่ใช่ทั้ง 2 อย่างให้แสดงว่า
"A is less than three or B is less than Zero!"
A = 2
B = 1
if A > 3 & B > 0 :
print("A is greater than three And B is greater than Zero !")
else:
print("A is less than three or B is less than Zero!")
รูปที่ 14 : เขียนเงื่อนไขให้ซับซ้อนขึ้นด้วย &
การใช้เครื่อง & ในการเชื่อมประโยค A > 3 & B > 0 ความหมาย
เหมือนตรรกะในคณิตศาสตร์ การเชื่อมด้วยสองประโยค ด้วยคำว่า And (&)
กดปุ่ม Save หรือ Ctrl+S เพื่อบันทึกโปรแกรมที่เขียน
รูปที่ 15 : กดปุ่ม Save หรือ Ctrl+S
สำหรับวันนี้บทที่ 2 ขอจบเพื่อไม่ให้ยาวจนเกินไปและสามารถอ่านได้ง่าย
ลองทบทวนแล้วเอาไปปรับใช้ดู หรือศึกษาเพิ่มเติมใต้ลิงค์นี้
ถ้ามีคำถาม หรือ comment ไว้ใต้บทความนี้ได้เลย
เอกสารอ้างอิง จาก :
ℹ
https://www.w3schools.com/python/python_syntax.asp
ℹ
https://www.w3schools.com/python/python_variables.asp
ถ้ามีคนสนใจมากขึ้นจะอัดเป็น VDO you tube หรือถ้า upload VDO ใน blockdit
ได้จะลอง upload ตัวอย่างไฟล์ไว้ให้ดูต่อไปครับ
ขอให้สนุกและมีความสุขกับการเขียนโปรแกรมแบบบ้านๆ ง่ายๆ นะครับ ✌✌😊
หมายเหตุ : บทความถ้าออกมาช้าเพราะลุงมีหลายงาน แต่พยายามจะมาอัพเดตเรื่อยๆนะ 😎
3 บันทึก
2
3
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Python101
3
2
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย