18 มี.ค. 2021 เวลา 11:00 • ความคิดเห็น
“เป็นกลาง” ไม่ได้แปลว่าไม่รู้ถูกรู้ผิด และถ้า “กลาง” หมายถึงจุดตรงกลางที่ซ้ายขวาเท่ากัน อย่างนั้นไม่จำเป็นต้องมีสื่อมวลชนก็ได้ เธอคิดว่าควรใช้คำว่า “เป็นธรรม” จะตรงที่สุด ☝️🙂 จากปากคำของ จอมขวัญ หลาวเพ็ชร์
3
วันนี้ขณะทำงานบ้านก็เปิดฟังสัมภาษณ์คุณจอมขวัญ หลาวเพ็ชร์ พิธีกรหญิงอันดับต้น ๆ ที่ขึ้นชื่อในเรื่องการจัดรายสดให้คู่ตรงข้ามมาชนกันในรายการ ณ วันนี้ที่เธอประกาศลาออกจากไทยรัฐทีวี ป๋าเต็ด ยุทธนา บุญอ้อม ก็ชวนเธอมานั่งคุยกัน จากที่ฟังเพลิน ๆ กลับได้แง่คิดมากมายจากคมความคิดเธอ เลยขอสรุปเนื้อหาคร่าว ๆ ดังนี้ค่ะ
1
ขอบคุณภาพจาก adaybulletin
📍แม้ว่าปัจจุบันจะออกมาจากต้นสังกัดแล้ว ก็ไม่ได้สนใจว่าใครจะมองว่า เป็นหรือไม่เป็นสื่อมวลชน เพราะใจกลางอยู่ที่ เนื้องาน ที่เธอจะทำต่อไปนี้ ไม่ใช่ สถานะ
📍เธอให้ความเห็นเรื่องข่าวลุงพลที่สื่อให้ความสำคัญมากเกินไปนั้น เธอตั้งคำถามกลับว่า “สัดส่วนข่าวของลุงพลต้องมากขนาดนี้หรือไม่” “เหลี่ยมมุมที่เลือกใช้กับลุงพลต้องเป็นเหลี่ยมมุมพวกนี้หรือไม่”
1
เรื่องพวกนี้ชาวสื่อมวลชนควรมานั่งถกและตกผลึกร่วมกัน แม้ว่าข่าวและบันเทิง จะไปด้วยกันได้เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนผู้เสพสื่อ แต่ต้องไม่ลืมแก่นของเนื้อข่าว ในกรณีนี้คือ แก่นคือข่าวคดีน้องชมพู่ อยากให้สื่อถามตัวเองว่า ลืมแก่นนี้ไปหรือไม่
1
📍“เป็นกลาง” ไม่ได้แปลว่าไม่รู้ถูกรู้ผิด และถ้า “กลาง” หมายถึงจุดตรงกลางที่ซ้ายขวาเท่ากัน อย่างนั้นไม่จำเป็นต้องมีสื่อมวลชนก็ได้ เธอคิดว่าควรใช้คำว่า “เป็นธรรม” จะตรงที่สุด
3
สื่อมวลชนควรจะมีความ “เป็นธรรม” ไม่ว่าส่วนตัวคุณจะเอาใจช่วยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือเห็นด้วยกับอีกฝ่ายมากกว่า แต่ในหน้าที่สื่อมวลชน คุณต้องให้พื้นที่ทุกฝ่ายเท่า ๆ กัน
1
📍แต่เมื่อเธอต้องเป็นผู้ดำเนินรายการ และได้ยินข้อมูลที่ไม่อยู่ในหลักการณ์ที่เธอยึดถือ มันเป็นไปไม่ได้ที่เธอจะไม่รู้สึกแย้งและค้าน โดยเฉพาะเมื่อมีสองฝ่ายที่มีความเห็นคนล่ะขั้วอย่างชัดเจน และเธออยู่ตรงกลาง ก็เป็นธรรมดาที่จะมีคนจับผิดว่าเธอนั้นเอาใจไปอยู่ข้างใคร แต่เธออยากให้มองจุดเดียวว่า “เธอไม่เป็นธรรมกับใครหรือไม่”
📍คำสอนของคุณสุทธิชัย หยุ่นที่จำได้อยู่เสมอคือ “อ่านเยอะ ๆ” และ “เล่าให้มันง่าย ๆ เล่าให้มันเข้าใจ” เมื่อป๋าเต็ดถามว่า คุณสุทธิชัย หยุ่นเก่งมั๊ย เธอหัวเราะและบอกว่า “เรายังต้องตั้งคำถามกับเค้าอีกเหรอ” ในสายตาเธอคุณสุทธิชัย สนุกกับทุกงานข่าว รักในสิ่งที่ทำจริง ๆ และหายใจเข้าออกเป็นข่าว
📍คำว่า “เลือกข้าง” ไม่ได้หมายความว่าคุณจะเลือกอยู่กับกลุ่มหรือบุคคลไหน หรืออยู่กับกลุ่มบุคคลที่เชื่อแบบใด แต่ต้องมานั่งพินิจว่า หลักการคืออะไร สังคมต้องไปแบบไหน ถ้าคุยกันโดยยึดจุดนี้ ก็สามารถเลือกได้ เธอเห็นว่าปกติที่จะเลือก
1
📍“ในความขัดแย้งทางความคิด ไม่มีวิธีไหนอีกแล้วนอกจากการพูดคุยกัน” เป็นประโยคที่เธอเชื่อถือ ซึ่งไม่ได้หมายความว่าพูดคุยจะทำให้ฝ่ายนึงได้ หรือฝ่ายนึงเสีย ขอให้คุยกันก่อนแล้วค่อยประเมินหรือเจรจากันต่อไปอีกขั้น เธออยากให้คุยกันให้ชินว่า สามารถคุยกันได้ เธอมองว่า ไม่ว่าอย่างไรก็จะต้องมาจบที่คุยกัน จะรอให้เกิดการปะทะใช้กำลังต่อกัน สุดท้ายก็ต้องมาจบที่พูดคุยเจรจากันอยู่ดี ทำไมต้องรอให้เกิดการสูญเสีย?
2
📍สำหรับรายการที่เธอจัด ให้คนสองฝ่ายมาเจอกัน เธออยากให้เห็นภาพของการพูดคุยจนคุ้นตา และคุ้นชินว่า แม้เห็นต่างก็ยังพูดคุยกันได้
1
📍“เราไม่ได้อยู่ในสังคมที่คนพูดได้เท่ากัน” คือทวิตของเธอ ที่ป๋าเต็ดถามว่า อยากอธิบายเพิ่มเติมหรือไม่ ประโยคนี้เกิดขึ้นเพราะเธอต้องการให้เห็นว่าสังคมในตอนนี้เป็นแบบไหน โดยสะท้อนจากรายการของเธอเอง ที่แขกรับเชิญไม่สามารถพูดในสิ่งที่อยากจะพูดได้ แม้ตัดสินใจที่จะรับผิดชอบในผลของมัน เธอก็ไม่สามารถให้เขาพูดได้ เพราะเธอรู้ว่าเธอจัดรายการอยู่ในกฎเกณฑ์ที่ไม่เป็นธรรม จึงทำให้เธอทวีตข้อความนั้นออกไป เธอรู้สึกแย่มาก แต่ก็ต้องไปต่อ เพราะเธอรู้ว่าเป็นสิ่งที่เธอ”ต้องทำ ไม่ใช่ควรทำ”
3
📍การเรียกร้องให้คนสาธารณะออกมาแสดงความคิดเห็นทางการเมือง เธอยังไม่สามารถออกความคิดเห็นในเรื่องนี้ได้เพราะยังไม่ตกผลึก เธอยังไม่สามารถสรุปได้ แม้จะไปร่วมอภิปรายและสนทนากับนักวิชาการและนักปรัชญา แต่ในที่สุดเธอและป๋าเต็ดก็สรุปว่า การออกมาแสดงความคิดเห็นของคนสาธารณะด้วยตัวเขาเอง ด้วยความสมัครใจเอง โดยไม่ต้องมีใครเรียกร้อง จะมีพลังที่สุด
5
📍ณ วันนี้ให้ความสำคัญกับคำว่า “คุณค่า” มากที่สุด ในกับทุก ๆ มิติของชีวิต เช่นคุณค่าของเวลาในชีวิตที่จะเกลี่ยไปทุก ๆ มิติ ไม่ว่าจะเป็นการโทรศัพท์หาพ่อแม่ก่อน หรือโทรทักทายเพื่อน ให้เวลากับการทำเรื่องที่ชอบในสัดส่วนที่มากกว่าเดิม ให้คุณค่ากับเรื่องที่ทำโดยทำให้มันดีกว่าเดิม และให้คุณค่ากับ “อิสระ” มากขึ้น เช่นอิสระในการทำงาน อิสระในการเป็นตัวเอง อิสระในการเป็นหลังให้คนอื่นพึ่งพิง (เช่นการแสดงออกในทวิตเตอร์)
📍“ถ้าเลือกได้ จะเลือกวิธีการแสดงออกละมุนละม่อมที่จะเกิดผลกระทบกับตัวเองกว่านี้หรือไม่” นี่คือคำถามที่จอมขวัญถามป๋าเต็ด เมื่อได้รับโอกาสให้ถามคำถามเดียว ส่วนคำตอบของป๋าเต็ดก็คือ “ทุกครั้งที่ตอบคำถามไป คิดว่าละมุนละม่อมแล้ว โดยที่ไม่รู้ว่ามันละมุนละม่อมได้มากกว่านี้”
แต่จอมขวัญก็ทำเป็นลืมว่าได้รับโอกาสแค่คำถามเดียว เธออาศัยช่วงชุลมุน ถามป๋าเต็ดต่อ “ในการตอบคำถาม คนเรามักจะคิดคำนวนผลได้ผลเสียไว้อยู่แล้ว อยากทราบว่า ณ ตอนนี้รู้หรือยังว่าได้เสียอะไรไปบ้าง?”
ป๋าตอบว่า “รู้สึกเฉย ๆ หากจะเกิดผลเสียแก่ตนเอง เพราะเป็นเรื่องปกติ ไม่มีทางที่คนเราจะได้ตลอดเวลา ซึ่งยอมรับได้ แต่จะยอมรับไม่ได้ ถ้าจะมีผลเสียไปกระทบกับคนที่ไม่รู้ไม่เห็นด้วย ซึ่งนี่จะทำให้เสียใจเพราะไม่ใช่ความผิดเขา”
📍บทเรียนที่สำคัญในชีวิตคือ บทเรียนจากการทำงาน ที่ทำให้เธอให้ความสำคัญกับการฟัง และได้เห็นคุณค่าของมนุษย์ด้วยกันอย่างแท้จริง ทั้งยังได้บทเรียนในการเข้าใจทั้งตนเองและผู้อื่นโดยละการตัดสินเอาไว้
1
รับชมสัมภาษณ์เต็มได้ที่นี่ค่ะ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา