20 มี.ค. 2021 เวลา 09:20 • หุ้น & เศรษฐกิจ
เข้าใจครบจบ งบการเงิน | by หนีดอย
ตอนที่ 1 | Introduction งบการเงิน
2
สวัสดีครับ สำหรับซีรีส์ใหม่ของ​ “หนีดอย” ที่ผมอยากจะทำชุดบทความเกี่ยวกับ “งบการเงิน” ราวๆ 10 ตอนหรือมากกว่า ถ้ายังติดลมบนเพื่อให้นักลงทุนที่สนใจในการวิเคราะห์บริษัทผ่านงบการเงิน หรือ ผู้ประกอบการ ที่อยากจะเข้าใจงบการเงิน ที่เป็นเหมือน “ยาขม” โดยผมจะพยายามเขียนให้เข้าใจง่ายที่สุด แต่ถ้าหากใครงงหรือสงสัยตรงไหน สามารถสอบถามไว้ใต้คอมเมนท์ได้เลยนะครับ
3
ถ้าพร้อมแล้วก็มาเริ่มกันเลยยย
1
กิจการจะอยู่ได้อย่างยั่งยืนประกอบไปด้วย 3 เสา คือ
1.ต้องทำกำไรได้
2.สถานะการเงินแข็งแกร่ง
3.รักษาสภาพคล่องทางการเงินได้ดี (มีเงินใช้ไม่ขาดมือ)
5
คำถามคือแล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่าดีจาก 3 เสาที่ว่า
นั่นก็คือ “ดูได้จากงบการเงิน” บริษัทนั้นๆครับ
จึงเป็นที่มาของงบการเงิน (Financial Statement) ภาษาที่สำคัญทางธุรกิจที่นักลงทุนหรือผู้ประกอบการควรรู้ โดยแบ่งเป็น 3 งบ
1.งบกำไรขาดทุน (Statement of Comprehensive Income) : กิจการนี้ทำกำไรหรือขาดทุนมากน้อยแค่ไหน เป็นส่วนที่ใครๆก็ให้ความสนใจมากที่สุด เพราะอยากรู้ว่าสิ่งที่เรากำลังจะลงทุนสรุปกำไรมั้ย กำไรดีรึเปล่า
2.งบดุล (Statement of Financial Position) หรือ งบแสดงฐานะการเงิน : บอกสัดส่วนทรัพย์สินว่าประกอบด้วยอะไร และ สัดส่วนของแหล่งเงินทุน
3.งบกระแสเงินสด (Statement of Cash Flow) : บอกการเปลี่ยนแปลงของเงินสด ได้รับเพิ่ม (+), ใช้ออกไป (-)
6
เราควรดูทั้ง 3 งบนี้เพราะแต่ละตัวมีความพิเศษของมันที่ต่างออกไป แต่สำคัญสำหรับกิจการทั้งหมด
โดยหลักการดูคร่าวๆ สำหรับแต่ละงบ คือ
1. งบกำไรขาดทุน : Revenues - Expenses = Net profit หรือ รายได้ - รายจ่าย = กำไรสุทธิ
2. งบดุล : Assets = Debt + Equity หรือ ทรัพย์สิน = หนี้สิน + ส่วนทุน
3. งบกระแสเงินสด = NOCF , NICF, NFCF
12
...NOCF = เงินสดสุทธิจากการดำเนินงาน (Net Operating Cash Flow) | แสดงยอดเงินสดใน “ธุรกิจหลัก” ของกิจการ เช่น การซื้อมาขายไป

...NICF = เงินสดสุทธิจากการลงทุน (Net Investing Cash Flow) | แสดงยอดเงินสดใน “การลงทุน” ของกิจการ เช่น ขยายร้านค้า, ซื้อเครื่องจักร, ซื้อที่ดินเพิ่ม

...NFCF =เงินสดสุทธิจากการจัดหาเงิน (Net Financing Cash Flow) | แสดงยอดเงินสดใน “แหล่งเงินทุน” ของกิจการ เช่น กู้เงินสดเพิ่ม หรือ จ่ายปันผลออกไป
5
เกณฑ์การบันทึกทางบัญชี มี 2 วิธี
วิธีที่ 1 : เกณฑ์เงินสด (cash basis)
จะบันทึกว่าเป็น “รายรับ” เมื่อมีการได้รับ “เงินสด” เข้ามาแล้วเท่านั้น แม้จะมีการส่งมอบสินค้าไปแล้วก็ไม่นับ วิธีนี้มักใช้ในกิจการแบบบุคคลธรรมดา หรือกิจการขนาดเล็กๆ
วิธีที่ 2 : เกณฑ์คงค้าง (accural basis) หรือ เกณฑ์เงินค้าง หรือ เกณฑ์สิทธิ
จะบันทึกว่าเป็นรายได้เมื่อมี “การขาย” เกิดขึ้น แม้ยังไม่ได้รับชำระเป็นเงินสด และบันทึกว่าเป็น “รายจ่าย” เมื่อได้รับสินค้า/บริการจากคู่ค้าแล้ว แม้ยังไม่จ่ายเงินออกไป วิธีนี้ก็คือ เกิดการซื้อขายแล้ว แต่มีเงินสดติดค้างกันอยู่ ซึ่งมักใช้ในกิจการที่เป็นนิติบุคคล
1
###งบการเงินที่บันทึกด้วยเกณฑ์คงค้าง ได้แก่ งบกำไรขาดทุน และ งบดุล
1
อีกจุดหนึ่งที่น่าสนใจคือ “มิติเวลา”
1. งบดุล ต้องดูที่ “จุดเวลา” ช่วงใดช่วงหนึ่ง เช่น ของวันที่ 31 ธันวาคม 2563
2. งบกำไรขาดทุน และ งบกระแสเงินสด เป็นการดู “ช่วงเวลา” ในรอบบัญชีนั้นๆ
2
***.รอบบัญชี คือ รอบระยะเวลาบัญชี ปกติคือ 12 เดือน โดยส่วนมากใช้ 1 มกราคม จนถึง 31 ธันวาคม แต่ไม่ต้องตามนี้ก็ได้ แล้วแต่นโยบายของบริษัทนั้นๆ
ก็จบไปแล้วครับ สำหรับ เข้าใจครบจบ งบการเงิน | by หนีดอย ตอนที่ 1
ตอนที่ 2 : มองให้ครบ ภาพรวมงบการเงิน 6 ส่วน อ่านต่อได้ที่ www.blockdit.com/posts/60563aabe1b5aa0c246ad42b
ใครอยากเห็นงบการเงินจริงๆของบริษัท สามารถดูได้หลายแหล่งครับ
1. บริษัทมหาชนในประเทศไทย : www.set.or.th หรือเข้าไปดูได้ที่เวปไซต์บริษัทนั้นๆ
2. บริษัทมหาชนในสหรัฐอเมริกา : www.sec.gov หรือเข้าไปดูได้ที่เวปไซต์บริษัทนั้นๆ
3. บริษัทมหาชนในฮ่องกง : www1.hkexnews.hk/search/titlesearch.xhtml หรือเข้าไปดูได้ที่เวปไซต์บริษัทนั้นๆ
4. บริษัทมหาชนในจีน A-Shares รวมไปถึง H-shares : www.aastocks.com/en/default.aspx
5. เวปไซต์หรือแอพพลิเคชันอื่นๆ ที่มีบริการให้ดูงบได้ เช่น jitta.com, seekingalpha.com, finance.yahoo.com, bloomberg.com, finviz.com, koyfin.com, cnbc.com, marketwatch.com, gurufocus.com
6. Broker ที่เราสมัครใช้บริการ : Interactive Broker, Tiger Broker เป็นต้น
5
💭สำหรับใครที่อยากลงทุนในต่างประเทศแต่ไม่รู้ต้องทำยังไง ผมมีเขียนบทความ #เปิดขุมทรัพย์ ตอนที่ 4 อยากไปลงทุนต่างประเทศ...มีวิธีไหนบ้าง by หนีดอย ที่ https://www.blockdit.com/posts/602f8118663f690d89ba8d2f
1
💭เพราะการลงทุนนั้น ไม่ต้องซื้อให้ถูกที่สุด
แต่ขอให้ห่างจากจุดที่เรียกว่า "ดอย" ก็พอ
💭ใครชอบบทความดีๆแบบนี้ รบกวนกด Like เป็นกำลังใจให้แอดมิน
ใครคิดว่าบทความนี้ใช่ รบกวนกด share ให้เพื่อนๆมีความรู้เพิ่มในการลงทุน
หรือใครมีข้อเสนอแนะ ติชมอะไร พิมพ์ทิ้งไว้ได้เลยครับ
==================================
***การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษารายละเอียดให้ดีก่อนการลงทุนทุกครั้ง
==================================
💭หากใครอยากได้ข้อมูลการลงทุนแบบฉับไว
ไม่พลาดทุกการลงทุนในทุกสินทรัพย์
กด Follow Twitter "หนีดอย"
พร้อมกดกระดิ่งแจ้งเตือนได้ที่ www.twitter.com/needoykan
💭เผื่ออนาคตผมมีจัด Clubhouse ด้านการลงทุน ใครสนใจสามารถ follow @winneuro เพื่อติดตามกันได้เลยนะครับ...
💭ช่องทาง Podcast ทั้งหมดของ "หนีดอย"
Apple Podcast : apple.co/3pC8Gwh

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา