Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
หนีดอย
•
ติดตาม
26 มี.ค. 2021 เวลา 11:28 • หุ้น & เศรษฐกิจ
เข้าใจครบจบ งบการเงิน | by หนีดอย
ตอนที่ 10 | อัตราส่วนทางการเงิน (Financial Ratios) ตอนจบ
"ตอนสุดท้ายของ Series เข้าใจครบจบ งบการเงิน"
🌟เราก็เดินทางมาถึงปลายทางของ Serie นี้แล้วนะครับ ใครที่อ่านมาถึงนี่ตั้งแต่ตอนที่ 1 ผมขอคารวะเลยครับ แต่ยังไม่จบนะครับ เหลืออีกตอนนนน
🌟ใครมาไม่ทันสามารถเริ่มต้นตั้งแต่บทแรกได้ที่
ตอนที่ 1 | Introduction งบการเงิน :
www.blockdit.com/posts/6055be54e226050c0156e56e
ตอนที่ 2 | มองให้ครบ...ภาพรวมงบการเงิน 6 ส่วน :
www.blockdit.com/posts/60563aabe1b5aa0c246ad42b
ตอนที่ 3 | งบกำไรขาดทุน (income statement) ภาคแรก :
www.blockdit.com/posts/6057772ae226050c01d7c1fa
ตอนที่ 4 | งบกำไรขาดทุน (income statement) ตอนจบ :
www.blockdit.com/posts/605788dce226050c01dad1ce
ตอนที่ 5 | งบดุล (Balance Sheet) ตอนแรก :
www.blockdit.com/posts/605842b9fb15620c5b77b9c4
ตอนที่ 6 | งบดุล (Balance Sheet) ตอนจบ :
www.blockdit.com/posts/605842e279a7500c5790cdb2
ตอนที่ 7 | งบกระแสเงินสด (Statement of Cash Flow) ตอนแรก:
www.blockdit.com/posts/605843341a28c00c22e2b431
ตอนที่ 8 | งบกระแสเงินสด (Statement of Cash Flow) ตอนจบ :
www.blockdit.com/posts/6058484ec4e3c00c45db7290
ตอนที่ 9 | อัตราส่วนทางการเงิน (Financial Ratios) ตอนแรก :
www.blockdit.com/posts/6058486efb15620c5b798ca4
3
🌟สำหรับบทนี้ จะขอพูดถึงอัตราส่วนทางการเงินที่ควรรู้ที่เหลือ คือ Efficiency (ประสิทธิภาพ) / Turnover Rate (อัตราส่วนหมุนเวียน) โดยแบ่งได้ดังนี้
1. Asset Turnover (ATO) : อัตราการหมุนเวียนของทรัพย์สิน (เท่า)
2. Account Receivable Turnover (Times) : อัตราส่วนหมุนเวียนลูกหนี้การค้า (เท่า)
3. Average Collection Period (Days) : ระยะเวลาเก็บหนี้เฉลี่ย (วัน)
4. Inventory Turnover (Times) : อัตราส่วนหมุนเวียนสินค้าคงเหลือ (เท่า)
5. Average Inventory Period (Days) : ระยะเวลาขายสินค้าเฉลี่ย (วัน)
6. Account Payable Turnover (Times) : อัตราส่วนหมุนเวียนเจ้าหนี้การค้า (เท่า)
7. Average Payment Period (Days) : ระยะเวลาชำระหนี้เจ้าหนี้การค้า (วัน)
8. Cash Conversion Cycle (CCC) : วงจรเงินสด (วัน)
3
โดยผมสรุปมาเป็นตารางนี้ พร้อมสูตรคำนวณให้ครับ
🌟มาเริ่มดูรายละเอียดกันทีละข้อนะครับ ต้องขอบอกว่าสูตรมันจะเยอะนิดนึงครับ ทีนี้ในฐานะนักลงทุนไม่ใช่นักบัญชี ส่วนใหญ่จะมีอัตราส่วนมาให้เราดูแบบสำเร็จแล้ว เราไม่ต้องไปคิดเอง เราสามารถดูตัวเลขที่คำนวณมาแล้วได้จากรายงานได้เลย แต่ในที่นี้ผมขออธิบายที่มาเผื่อหลายๆคนสงสัยว่า ตัวเลขพวกนี้มีที่มายังไง
3
1.Asset Turnover (ATO) : อัตราการหมุนเวียนของทรัพย์สิน ->ยิ่งมาก ยิ่งดี
- เป็นตัวบอกว่ากิจการใช้ประสิทธิภาพจากทรัพย์สินในการสร้างรายได้ ได้ดีแค่ไหน
🌟จากสูตร Revenue / Assets
- เอาตัวเลขจากตารางข้างล่าง จะเป็น
120/200 = 0.6 เท่า
*ATO ยิ่งสูงยิ่งดี ทั้งนี้ให้ดูแยกแต่ละประเภทธุรกิจกัน
งบการเงินที่ใช้คำนวณตัวเลขในบทความนี้
2. Account Receivable Turnover (Times) : อัตราส่วนหมุนเวียนลูกหนี้การค้า (เท่า) -> ยิ่งมาก ยิ่งดี
ใช้ดูจำนวนครั้งที่บริษัทสามารถเก็บเงินจาก "การขายเชื่อ"ได้
- หากอัตราหมุนเวียนของลูกหนี้สูงหมายความว่ากิจการสามารถเก็บเงินจากการขายเชื่อได้เร็ว
- ควรนำอัตราส่วนนี้ไปเปรียบเทียบกับบริษัทอื่นที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน เพื่อมองเห็นนโยบายการให้เครดิตแก่ลูกหนี้ของกิจการด้วย
🌟จากสูตร ยอดขายเชื่อสุทธิ / ลูกหนี้เฉลี่ย
โดย ลูกหนี้เฉลี่ย = (ลูกหนี้ต้นงวด + ลูกหนี้ปลายงวด) / 2
...อย่างไรก็ตามโดยทั่วไปบริษัทจะไม่ได้เปิดเผยยอดขายเชื่อสุทธิใน งบการเงิน ในทางปฏิบัติเราจึงใช้ยอดขายสุทธิเป็นตัวตั้งแทน คือ
🌟อัตราหมุนเวียนของลูกหนี้ = ยอดขายสุทธิ / ลูกหนี้เฉลี่ย
- ถ้าเอาตัวเลขจากตารางข้างบนมาใส่จะเป็น
- 120/20 = 6 เท่า
3. Average Collection Period (Days) : ระยะเวลาเก็บหนี้เฉลี่ย (วัน) -> ยิ่งน้อย (วัน) ยิ่งดี
- คือ การคำนวนออกมาให้เห็นถึงระยะเวลาเป็นจำนวนวันในการเรียกเก็บหนี้ว่าเร็วแค่ไหน เพื่อให้เห็นถึงคุณภาพของลูกหนี้ ประสิทธิภาพในการเรียกเก็บหนี้และนโยบายในการให้สินเชื่อทางธุรกิจ
🌟จากสูตร 365 (วัน) / อัตราหมุนเวียนของลูกหนี้ (A/R Turnover)
- ถ้าเอาตัวเลขจากข้อ 2 ที่ได้คำนวณ A/R Turnover ไว้แล้วจะเป็น
- 365/6 = 61 วัน
*จำนวนวันยิ่งน้อย จะแสดงถึงคุณภาพของลูกหนี้ที่สามารถชำระเป็นเงินสดได้เร็ว
4. Inventory Turnover (Times) : อัตราส่วนหมุนเวียนสินค้าคงเหลือ (เท่า) -> ยิ่งมาก ยิ่งดี
- จำนวนครั้งที่บริษัทสามารถขายสินค้าคงเหลือในสต็อคสินค้าออกไปได้
- หากอัตราหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือสูง จะบอกถึงว่า กิจการสามารถขายสินค้าได้เร็ว
🌟จากสูตร ต้นทุนสินค้าขาย (COGS) / สินค้าคงเหลือเฉลี่ย (Avg. Inventory)
- โดย สินค้าคงเหลือเฉลี่ย = (สินค้าต้นงวด + สินค้าปลายงวด) / 2
- จากตารางข้างบนใส่ตัวเลขจะได้เป็น
- 60/40 = 1.5 เท่า
5. Average Inventory Period (Days) : ระยะเวลาขายสินค้าเฉลี่ย (วัน) -> ยิ่งน้อย (วัน) ยิ่งดี
- เป็นการคำนวณดูว่าสินค้ายิ่งขายได้ไว ยิ่งดีต่อกิจการ
🌟จากสูตร 365 (วัน ) / อัตราหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ (Inventory Turnover)
- ถ้าเอาตัวเลขจากข้อ 4 ที่ได้จากการคำนวณ Inventory Turnover จะได้เป็น
- 365/1.5 = 243 วัน
6. Account Payable Turnover (Times) : อัตราส่วนหมุนเวียนเจ้าหนี้การค้า (เท่า) -> ยิ่งน้อย ยิ่งดี
- เป็นการคำนวณดูจำนวนครั้งว่ากิจการต้องจ่ายหนี้ให้เจ้าหนี้การค้าถี่แค่ไหน ยิ่งมีค่าน้อยในอัตราส่วนนี้ หมายถึงสามารถที่จะยื่นระยะเวลาชำระหนี้ออกไป ทำให้รักษาสภาพคล่องบริษัทได้ จะได้เอาเงินไปหมุนทำอย่างอื่นได้
- จะตรงกันข้ามกับ Turnover 2 อันบน 2 อันบนนั้นสัดส่วนยิ่งเยอะยิ่งดี ส่วนสัดส่วนของ Account Payable Turnover นี้ ยิ่งน้อย ย่ิงดี ครับ
🌟จากสูตร ต้นทุนขาย (COGS) / เจ้าหนี้การค้าเฉลี่ย
โดย เจ้าหนี้การค้าเฉลี่ย = (เจ้าหนี้การค่าต้นงวด + เจ้าหนี้การค้าปลายงวด) / 2
- ใช้ตัวเลขจากตารางข้างบนมาคำนวณ จะได้ว่า
- 60/20 = 3 เท่า
7. Average Payment Period (Days) : ระยะเวลาชำระหนี้เจ้าหนี้การค้า (วัน) -> ยิ่งมาก(วัน) -> ยิ่งดี
- เป็นการคำนวณดูว่าเราต้องชำระหนี้คืนเจ้าหนี้การค้า โดยยืดระยะเวลาได้นานแค่ไหน ย่ิงมาก ยิ่งดี
🌟จากสูตร 365 (วัน ) / อัตราหมุนเวียนของเจ้าหนี้การค้า (A/P Turnover)
- ถ้าเอาตัวเลขจากข้อ 6 ที่ได้จากการคำนวณ A/P Turnover จะได้เป็น
- 365/3 = 122 วัน
8. Cash Conversion Cycle (CCC) : วงจรเงินสด (วัน) -> ยิ่งน้อย(วัน) ยิ่งดี
- ใช้บอกภาพรวมถึงประสิทธิภาพของการค้าขายในวงจรทั้งหมด โดยการคำนวณหาระยะเวลาในการเปลี่ยนวัตถุดิบให้กลายเป็นกระแสเงินสด
- โดยวงจรที่เกิดขึ้นทั่วไป คือ กิจการได้รับเครดิตจากเจ้าหนี้การค้า เพื่อเอาสินค้าไปขายให้ลูกค้า >>> กิจการตามเก็บเงินสดที่ตอนแรกขายเชื่อไปจากลูกค้า >>> กิจการนำเงินที่ไปทวงมาจ่ายคืนแก่เจ้าหนี้การค้า ซึ่งคือการเอา 3 ส่วนมาคิดคำนวณรวมกันในข้อ 3,5 และ 7 ครับ
🌟จากสูตร Average Collection Period + Average Inventory Period - Average Payment Period
-เอาตัวเลขที่ได้จากการคำนวณข้อ 3,5 และ 7 จะได้เป็น
61 + 243 -122 = 182 วัน
*ยิ่งน้อย(วัน) ยิ่งดี เพราะบอกว่า หลังจากที่บริษัทผลิตสินค้า สามารถเรียกเก็บเงินได้ไว
💡ผมทำตารางสรุปมาให้มองภาพรวมเรื่อง Cash Conversion Cycle ให้เห็นภาพอีกที
2
🌟มาลองดูตัวอย่างรายงานจากบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ของไทยเรา ผมเอามาทั้งภาคภาษาไทยและภาษาอังกฤษคู่กันให้คุณผู้อ่านเทียบกัน จะเห็นว่ามีสัดส่วนทางการเงินที่คุ้นๆ จากบทความในตอนนี้หลายอย่างเลยครับในฝั่งขวาล่างของรายงานส่วนวงจรเงินสด (Cash Cycle)
🌟ลองเอาบริษัทที่ผมทำตัวอย่างไว้ มาเทียบกับ บริษัทนี้ในตลาดหลักทรัพย์ไทย ปี 2020 แบบ Head to Head ตามลำดับ จะได้ว่า
- A/R Turnover : 6 | 40.56 เท่า
- Avg. Collection Period : 61 | 9.00 วัน
- Inventory Turnover : 1.5 | 7.68. เท่า
- Avg. Inventory Period : 243 | 47.50 วัน
- A/P Turnover : 3 | 11.21 เท่า
- Avg. Payment Period : 122 | 32.55 วัน
- Cash Cycle : 182 | 23.95 วัน
🌟จะพบว่า บริษัทหลัง ทำได้ดีกว่าในแง่ของระยะเวลาการเก็บหนี้ การระบายสินค้าจากสต็อคออกไป แต่เรื่องของการจ่ายเงินเจ้าหนี้บริษัทแรกมีระยะเวลายืดออกไปนานกว่า แต่โดยภาพรวมแล้วจาก Cash Conversion Cycle ประสิทธิภาพโดยรวม บริษัทหลังทำได้ดีกว่ามากในเวลาเพียง 23.95 วันเท่านั้น!!!!
🌟นอกจากนี้เราสามารถเปรียบเทียบกันคนละเวลาเพื่อดูว่าบริษัทนั้นพัฒนาได้ดีขึ้นหรือมั้ย ยกตัวอย่างในหัวข้อวงจรเงินสด หรือ Cash Cycle บรรทัดสุดท้าย จะเห็นว่าทำเวลาได้รวดเร็วมากขึ้น คือ 23.95 วันในปี 2020 ซึ่งเร็วกว่า 25.40 วันในปี 2019 ครับ
🌟มาสรุปเป็นหลักการตีความหมายให้เข้าใจง่ายๆ เป็นตารางได้ดังนี้ครับ
1
🌟สรุปครั้งสุดท้ายก่อนจากสำหรับสัญญาณเตือนลางร้ายของบริษัทจากการวิเคราะห์งบการเงิน
1.ขาดทุนมากๆ และติดต่อกันหลายปี -> จากงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ
2.ระยะเวลาการเก็บหนี้นานขึ้น -> จากอัตราส่วนทางการเงินของ Efficiency (ประสิทธิภาพ) / Turnover Ratios (อัตราส่วนหมุนเวียน)
3.อัตราหนี้สินต่อส่วนของเจ้าของสูงขึ้นเร็วมาก -> จากอัตราส่วนทางการเงินของงบดุล (Leverage ratio)
4.สินค้าคงคลังสูงมากผิดปกติ -> จากงบดุล
5.ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น -> จากงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ
6.ยอดขายสูงขึ้น แต่กำไรลดลง -> จากงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ
7.หนี้สูญเพิ่มขึ้น -> จากงบกำไรขาดทุน
8.รายงานผู้สอบบัญชีผิดปกติ เปลี่ยนผู้สอบบัญชีใหม่ -> จากรายงานผู้ตรวจสอบบัญชี
9.ขายสินทรัพย์ของบริษัท เพื่อสร้างกำไรให้เข้าเป้าในระยะสั้น -> จากงบกระแสเงินสดส่วน NICF
6
🌟ก็จบแล้วครับสำหรับ ซีรีส์ เข้าใจครบจบ งบการเงิน ของ "หนีดอย" ที่อยากจะอธิบายเรื่องบัญชีให้ง่ายที่สุด แม้มันจะดูไม่ง่ายเลยก็ตามครับ โดยผมอาจจะอธิบายไม่ครบในส่วนของบัญชีทั้งหมด เพราะต้องยอมรับเลยว่ามันมีรายละเอียดมากมายมหาศาลมากกว่านี้อีกเยอะครับ ใครสนใจสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้เลยครับ
2
💭ซีรีส์รวมทุกตอน!!! สำหรับคนอยากเข้าใจทุกลมหายใจของบริษัท กับ เข้าใจครบจบ งบการเงิน เพื่อการลงทุนหุ้นรายตัว | by หนีดอย
ตอนที่ 1 | Introduction งบการเงิน :
www.blockdit.com/posts/6055be54e226050c0156e56e
ตอนที่ 2 | มองให้ครบ...ภาพรวมงบการเงิน 6 ส่วน :
www.blockdit.com/posts/60563aabe1b5aa0c246ad42b
ตอนที่ 3 | งบกำไรขาดทุน (income statement) ภาคแรก :
www.blockdit.com/posts/6057772ae226050c01d7c1fa
ตอนที่ 4 | งบกำไรขาดทุน (income statement) ตอนจบ :
www.blockdit.com/posts/605788dce226050c01dad1ce
ตอนที่ 5 | งบดุล (Balance Sheet) ตอนแรก :
www.blockdit.com/posts/605842b9fb15620c5b77b9c4
ตอนที่ 6 | งบดุล (Balance Sheet) ตอนจบ :
www.blockdit.com/posts/605842e279a7500c5790cdb2
ตอนที่ 7 | งบกระแสเงินสด (Statement of Cash Flow) ตอนแรก:
www.blockdit.com/posts/605843341a28c00c22e2b431
ตอนที่ 8 | งบกระแสเงินสด (Statement of Cash Flow) ตอนจบ :
www.blockdit.com/posts/6058484ec4e3c00c45db7290
ตอนที่ 9 | อัตราส่วนทางการเงิน (Financial Ratios) ตอนแรก :
www.blockdit.com/posts/6058486efb15620c5b798ca4
💭เพราะการลงทุนนั้น ไม่ต้องซื้อให้ถูกที่สุด
แต่ขอให้ห่างจากจุดที่เรียกว่า "ดอย" ก็พอ
💭ใครชอบบทความดีๆแบบนี้ รบกวนกด Like เป็นกำลังใจให้แอดมิน
ใครคิดว่าบทความนี้ใช่ รบกวนกด share ให้เพื่อนๆมีความรู้เพิ่มในการลงทุน
หรือใครมีข้อเสนอแนะ ติชมอะไร พิมพ์ทิ้งไว้ได้เลยครับ
==================================
***การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษารายละเอียดให้ดีก่อนการลงทุนทุกครั้ง
==================================
💭หากใครอยากได้ข้อมูลการลงทุนแบบฉับไว
ไม่พลาดทุกการลงทุนในทุกสินทรัพย์
กด Follow Twitter "หนีดอย"
พร้อมกดกระดิ่งแจ้งเตือนได้ที่
www.twitter.com/needoykan
💭เผื่ออนาคตผมมีจัด Clubhouse ด้านการลงทุน ใครสนใจสามารถ follow @winneuro เพื่อติดตามกันได้เลยนะครับ...
💭ช่องทาง Podcast ทั้งหมดของ "หนีดอย"
Spotify :
spoti.fi/2NLRVBK
Apple Podcast :
apple.co/3pC8Gwh
Podbean :
bit.ly/podbeanneedoy
Google Podcast :
bit.ly/googlepodcastneedoy
47 บันทึก
12
2
14
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
เข้าใจครบจบ งบการเงิน
47
12
2
14
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย