26 มี.ค. 2021 เวลา 11:17 • หุ้น & เศรษฐกิจ
เข้าใจครบจบ งบการเงิน | by หนีดอย
ตอนที่ 9 | อัตราส่วนทางการเงิน (Financial Ratios) ตอนแรก
🌟เราได้เรียนรู้งบการเงิน 6 ส่วน ครบจบแล้วอย่างง่ายๆ ต่อไป ผมจะมาพูดถึงสัดส่วนทางการเงิน (Financial Ratios) ที่ก็มีความสำคัญไม่แพ้งบการเงินเช่นเดียวกันครับ
🌟ใครมาไม่ทันสามารถเริ่มต้นตั้งแต่บทแรกได้ที่
ตอนที่ 1 | Introduction งบการเงิน : www.blockdit.com/posts/6055be54e226050c0156e56e
ตอนที่ 2 | มองให้ครบ...ภาพรวมงบการเงิน 6 ส่วน : www.blockdit.com/posts/60563aabe1b5aa0c246ad42b
ตอนที่ 3 | งบกำไรขาดทุน (income statement) ภาคแรก : www.blockdit.com/posts/6057772ae226050c01d7c1fa
ตอนที่ 4 | งบกำไรขาดทุน (income statement) ตอนจบ : www.blockdit.com/posts/605788dce226050c01dad1ce
ตอนที่ 5 | งบดุล (Balance Sheet) ตอนแรก : www.blockdit.com/posts/605842b9fb15620c5b77b9c4
ตอนที่ 6 | งบดุล (Balance Sheet) ตอนจบ : www.blockdit.com/posts/605842e279a7500c5790cdb2
ตอนที่ 7 | งบกระแสเงินสด (Statement of Cash Flow) ตอนแรก : www.blockdit.com/posts/605843341a28c00c22e2b431
ตอนที่ 8 | งบกระแสเงินสด (Statement of Cash Flow) ตอนจบ : www.blockdit.com/posts/6058484ec4e3c00c45db7290
🌟สำหรับบทนี้ จะขอพูดถึงอัตราส่วนทางการเงินที่ควรรู้ โดยแบ่งออกเป็น
1.Profitability (ความสามารถในการทำกำไร)
2.Liquidity (สภาพคล่อง)
3.Leverage Ratios (สภาพหนี้สิน) / Solvency Ratios (ความสามารถในการชำระคืนหนี้ทั้งหมด)
4.Efficiency (ประสิทธิภาพ) / Tunnover Rate (อัตราส่วนหมุนเวียน)
โดยอัตราส่วนทางการเงินแต่ละประเภทยังถูกแบ่งได้เป็นหัวข้อย่อยตามตารางรูปด้านล่างแบบนี้ครับ (พร้อมสูตรวิธีคำนวณ )
2
1.Profitability (ความสามารถในการทำกำไร) แบ่งได้อีกเป็น 5 ประเภท คือ
2
1.1 Gross Profit Margin (GPM) : อัตรากำไรขั้นต้น -> ยิ่งมาก ยิ่งดี
ได้กล่าวไว้แล้วในตอนที่ 3
🌟จากสูตร (Gross Profit / Sales) x 100
เช่นกำไรขั้นต้น 20 ล้านบาท รายได้ทั้งหมด 50 ล้านบาท
GPM = (20/50) x 100 = 40%
1.2 Operating Profin Margin (OPM) : อัตรากำไรจากการดำเนินงาน -> ยิ่งมาก ยิ่งดี
ได้กล่าวไว้แล้วในตอนที่ 3
🌟จากสูตร (Operating Profit / Sales) x 100
เช่นกำไรจากการดำเนินงาน 10 ล้านบาท รายได้ทั้งหมด 50 ล้านบาท
GPM = (10/50) x 100 = 20%
1.3 Net Profit Margin (NPM) : อัตรากำไรสุทธิ -> ยิ่งมาก ยิ่งดี
คืออัตราส่วนที่บอกว่า กิจการสร้างกำไรสุทธิจากรายได้ดีแค่ไหน
🌟จากสูตร (Net profit / Sales) x 100
เช่นกำไรสุทธิ 5 ล้านบาท รายได้ทั้งหมด 50 ล้านบาท
NPM = (5/50) x 100 = 10%
*NPM ที่เหมาะสมขึ้นกับประเภทธุรกิจ ใช้เปรียบเทียบกับงบการเงินย้อนหลังว่าเปลี่ยนแปลงอย่างไร หรือ ประเภทธุรกิจในกลุ่มเดียวกัน
1.4 Return on Assets (ROA) : อัตราผลตอบแทนต่อทรัพย์สิน -> ยิ่งมาก ยิ่งดี
คือ ภาพรวมที่บอกความสามารถการทำกำไรสุทธิจากทรัพย์สินได้ดีแค่ไหน
🌟จากสูตร (Net Profit / Total Assets) x 100
เช่นกำไรสุทธิ 5 ล้านบาท ทรัพย์สิน 100 ล้านบาท
ROA = (5/100) x 100 = 5%
*ROA ที่ดีขึ้นกับประเภทธุรกิจ แต่โดยทั่วไปควรอยู่ระดับ 10-15% อย่างสม่ำเสมอ
1.5 Return on Equity (ROE) : อัตราผลตอบแทนต่อทุน -> ยิ่งมาก ยิ่งดี
คือ ภาพรวมที่บอกความสามารถการทำกำไรสุทธิให้แก่เจ้าของได้ดีแค่ไหน เป็นสัดส่วนที่ได้รับความสนใจมาก
🌟จากสูตร ( Net Profit / Shareholders Equity ) x 100
เช่นกำไรสุทธิ 5 ล้านบาท ส่วนทุน 50 ล้านบาท
ROE = (5/50) x 100 = 10%
*ROE ที่ดีควรอยู่ระดับ 15-20% อย่างสม่ำเสมอ
2.Liquidity (สภาพคล่อง)
คือ ความสามารถในการเปลี่ยนสิ่งของหรือทรัพย์สินเป็นเงินสด การมีสภาพคล่องทางการเงินที่สูง หมายถึง กิจการสามารถเปลี่ยนทรัพย์สินกลับมาเป็นเงินได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นเรื่องดีมากที่ควรเกิดขึ้น แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท
2
2.1 Current ratio : อัตราส่วนทุนหมุนเวียน หรือ อัตราส่วนสภาพคล่อง -> สัดส่วนควร > 1 และ ยิ่งมาก ยิ่งดี
ใช้บ่งบอกความสามารถในการชำระหนี้สินหมุนเวียน (เจ้าหนี้การค้าและหนี้ระยะสั้น) ด้วยทรัพย์สินหมุนเวียน (ด้วยเงินสด, ลูกหนี้การค้า และ สินค้าคงเหลือ)
🌟 จากสูตร Current Assets / Current Liability = Current ratio
ผมเอาตัวเลขมาจากภาพด้านล่างคำนวณออกมาตามสูตรเป็น
(10+20+40) / (5+25) = 70/30 = 2.33 เท่า
โดย Current ratio หรือ อัตราส่วนสภาพคล่องจะบอกเราว่า หากต้องชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินหมุนเวียนทั้งหมดที่มีพร้อมกัน กิจการสามารถแปลงทรัพย์สินหมุนเวียนที่มีมาชำระหนี้ได้อย่างไม่มีปัญหา
*Current ratio ควรอยู่ที่ 1.5-2.0 เท่า กรณีสัดส่วนที่ได้จากตารางต้องบอกว่าดีมากๆเลยครับ แต่จะมีอีกอัตราส่วนหนึ่งที่ควรใช้ประกอบพิจารณา อยู่ในข้อถัดไป
2.2 Quick ratio : อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว -> สัดส่วนควร > 1 และ ยิ่งมาก ยิ่งดี
โดยสัดส่วนนี้คือการเอาสินค้าคงเหลือที่มีสภาพคล่องต่ำกว่าออกไปจากสูตรคำนวณ
🌟 จากสูตร (Current Assets - Inventory) / Current Liability = Quick ratio
ใช้ตัวเลขจากตารางเดิมจะเป็น
((10+20+40))-40) / (5+25) = 30/30 = 1 เท่า
จะเห็นว่าบริษัทนี้ยังมี Quick ratio ที่โอเคอยู่ เพราะอย่างน้อยก็ใช้หนี้สินหมุนเวียนคืนได้จากทรัพย์สินหมุนเวียนที่มีอยู่เท่ากันพอดี
1
2.3 NOCF / N ratio : อัตราส่วนคุณภาพกำไรสุทธิ -> สัดส่วนควรเข้าใกล้ 1 และ ยิ่งมาก ยิ่งดี
เราใช้สัดส่วนนี้ดูคุณภาพของกำไร
🌟 จากสูตร NOCF / Net Profit
ผมเอาข้อมูลเดิมที่ใช้ยกตัวอย่างประกอบมาให้ดู จะได้เป็น
-5 / 20 = - 0.25
*หากสัดส่วนนี้เท่ากับ 1 แสดงว่าสามารถแปลงกำไรเป็นเงินสดได้ทั้งหมด หรือ ยิ่งสูงยิ่งดี เข้าใกล้ 1 กรณีนี้ยังติดลบแสดงว่า "มีปัญหาสภาพคล่อง"
**และ NOCF กับ Net profit ควรเป็นค่า + ทั้งคู่ เพราะถ้าเป็น - ทั้งคู่ จะถือว่า แย่สุดๆ ครับ
3.Leverage Ratios (สภาพหนี้สิน) / Solvency Ratios (ความสามารถในการชำระคืนหนี้ทั้งหมด) แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท
2
3.1 Debt to Equity ratio (D/E ratio) : อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน -> ยิ่งน้อย ยิ่งดี
เป็นการบอกว่า ยิ่งมากเท่าไหร่ ยิ่งมีการกู้ยืมมามากเท่านั้น นอกจากนี้ถ้าอัตราส่วนนี้สูงแสดงว่ากิจการนั้นๆจัดหาทุนส่วนใหญ่มาจากการ "ก่อหนี้" ซึ่งทำให้เจ้าหนี้อาจมีความเสี่ยงในการให้กู้ยืมอีก
🌟 จากสูตร Debt / Equity
ลองเอาตัวเลขจากตารางด้านล่างมาคำนวณจะเป็น
40 / 80 = 0.5 เท่า
*D/E ควรมีสัดส่วนน้อยๆ แต่ทั้งนี้ต้องดูประเภทธุรกิจร่วมด้วย และดูในส่วนเจ้าหนี้การค้า เพราะเจ้าหนี้การค้าที่สูงมากก็ทำให้ตัว D เพิ่มขึ้น แต่ไม่ได้ทำให้กิจการดูแย่
3.2 Debt to Assets ratio : อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์ -> ยิ่งน้อย ยิ่งดี
อัตราส่วนนี้ทำให้เรารู้ว่ากิจการมีหนี้สินทั้งสิ้นเป็นกี่เท่าของสินทรัพย์รวม สะท้อนให้เห็นถึงโครงสร้างการจัดการสินทรัพย์ที่มาจากการกู้ยืมได้ ถ้าอัตราส่วนนี้ต่ำแสดงว่าเจ้าหนี้สามารถ ได้รับการชำระหนี้เมื่อครบกำหนดได้ และมีความเสี่ยงในการให้กู้ยืมต่ำ สบายใจให้กิจการกู้ได้
🌟 จากสูตร Debt / Assets
ลองเอาตัวเลขจากตารางด้านบนมาคำนวณจะเป็น
40/120 = 0.33 เท่า
*เป็นสัดส่วนที่อาจไม่ค่อยได้เห็นบ่อย เมื่อเทียบกับ D/E ratio
3.3 Times Interest Earned ratio : อัตราส่วนความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย -> ย่ิงมาก ย่ิงดี
อัตราส่วนนี้จะทำให้ทราบว่าใน 1 รอบบัญชี กิจการมีกำไรจากการดำเนินงานเป็นกี่เท่าของดอกเบี้ยจ่าย ถ้าอัตราส่วนนี้สูงแสดงว่ากิจการมีกำไรจากการดำเนินงานพอที่จะจ่ายดอกเบี้ยที่เกิดมาจากการก่อหนี้ได้อย่างดี
🌟 จากสูตร Earnings Before Interest and Taxes (EBIT) / Interest Expense หรือ กำไรก่อนดอกเบี้ย / ดอกเบี้ยจ่าย
ลองใส่ตัวเลขจากตารางด้านล่างจะได้เป็น
10 / 3 = 3.33 เท่า
*ซึ่งตามหลักแล้วการที่ EBIT มากกว่า ดอกเบี้ยจ่ายมากๆ ก็ทำให้กิจการยังคงมีความสามารถชำระหนี้คืนได้เป็นอย่างดี
🌟มาสรุปเป็นหลักการตีความหมายให้เข้าใจง่ายๆ เป็นตารางได้ดังนี้ครับ
2
🌟มาลองดูตัวอย่างรายงานจากบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ของไทยเรา ผมเอามาทั้งภาคภาษาไทยและภาษาอังกฤษคู่กันให้คุณผู้อ่านเทียบกัน จะเห็นว่ามีสัดส่วนทางการเงินที่คุ้นๆ จากบทความในตอนนี้หลายอย่างเลยครับในฝั่งซ้ายของรายงาน สำหรับตอนต่อไป จะเป็นตอนสุดท้ายของซีรีส์นี้แล้วนะครับ โดยผมจะพูดถึงอัตราส่วนทางการเงินที่เหลือ
ที่มา : set.or.th | งบการเงินจากบริษัทแห่งหนึ่งที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET)
🌟 แล้วพบกันใหม่ในตอนถัดไปจ้า
💭ซีรีส์รวมทุกตอน!!! สำหรับคนอยากเข้าใจทุกลมหายใจของบริษัท กับ เข้าใจครบจบ งบการเงิน เพื่อการลงทุนหุ้นรายตัว | by หนีดอย
ตอนที่ 1 | Introduction งบการเงิน : www.blockdit.com/posts/6055be54e226050c0156e56e
ตอนที่ 2 | มองให้ครบ...ภาพรวมงบการเงิน 6 ส่วน : www.blockdit.com/posts/60563aabe1b5aa0c246ad42b
ตอนที่ 3 | งบกำไรขาดทุน (income statement) ภาคแรก : www.blockdit.com/posts/6057772ae226050c01d7c1fa
ตอนที่ 4 | งบกำไรขาดทุน (income statement) ตอนจบ : www.blockdit.com/posts/605788dce226050c01dad1ce
ตอนที่ 5 | งบดุล (Balance Sheet) ตอนแรก : www.blockdit.com/posts/605842b9fb15620c5b77b9c4
ตอนที่ 6 | งบดุล (Balance Sheet) ตอนจบ : www.blockdit.com/posts/605842e279a7500c5790cdb2
ตอนที่ 7 | งบกระแสเงินสด (Statement of Cash Flow) ตอนแรก: www.blockdit.com/posts/605843341a28c00c22e2b431
ตอนที่ 8 | งบกระแสเงินสด (Statement of Cash Flow) ตอนจบ : www.blockdit.com/posts/6058484ec4e3c00c45db7290
Serie เข้าใจครบจบ งบการเงิน | by หนีดอย
💭เพราะการลงทุนนั้น ไม่ต้องซื้อให้ถูกที่สุด
แต่ขอให้ห่างจากจุดที่เรียกว่า "ดอย" ก็พอ
💭ใครชอบบทความดีๆแบบนี้ รบกวนกด Like เป็นกำลังใจให้แอดมิน
ใครคิดว่าบทความนี้ใช่ รบกวนกด share ให้เพื่อนๆมีความรู้เพิ่มในการลงทุน
หรือใครมีข้อเสนอแนะ ติชมอะไร พิมพ์ทิ้งไว้ได้เลยครับ
==================================
***การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษารายละเอียดให้ดีก่อนการลงทุนทุกครั้ง
==================================
💭หากใครอยากได้ข้อมูลการลงทุนแบบฉับไว
ไม่พลาดทุกการลงทุนในทุกสินทรัพย์
กด Follow Twitter "หนีดอย"
พร้อมกดกระดิ่งแจ้งเตือนได้ที่ www.twitter.com/needoykan
💭เผื่ออนาคตผมมีจัด Clubhouse ด้านการลงทุน ใครสนใจสามารถ follow @winneuro เพื่อติดตามกันได้เลยนะครับ...
Clubhouse
💭ช่องทาง Podcast ทั้งหมดของ "หนีดอย"
Apple Podcast : apple.co/3pC8Gwh

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา