Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Blockพูดได้byข้าวน้อยฯ
•
ติดตาม
24 มี.ค. 2021 เวลา 00:29 • ประวัติศาสตร์
"วาจาสามหาว"..ศัพท์ไทยในหนังจีนที่ได้มาจากวรรณคดีอินเดีย....
2
"หุบปาก...🤐ทำไมเจ้าจึงพูดจา
ยโส โอหัง วาจาสามหาวเยี่ยงนี้...
ทำผิดแล้วไม่รู้สำนึก
สมควรต้องถูกลงโทษให้สาสม
หวังเฉา หม่าฮั่น เครื่องประหารหัว
สุนัข......🐺"
1
2
"🙏ขอรับ ท่านเปา"
พวกเราทั้งหลายที่เป็นคอหนังจีนไม่ว่าซีรี่ย์หรือภาพยนตร์ หากเป็นหนังพีเรียดหรือหนังจีนย้อนยุค ประโยคคลาสสิคที่เราได้ยินกันเป็นประจำเมื่อพระเอกหรือตัวร้ายเอ่ยวาจาท้าทายผู้มีอำนาจ...ก็มักจะถูกสวนกลับมาด้วยประโยคที่ว่า
4
"วาจาสามหาวยิ่งนัก"
..
คำว่า "สามหาว" มีอยู่ 2 ความหมาย
ความหมายแรกเป็นคำกริยา
ก็อย่างที่เราเข้าใจกันดี คือหมายถึง การพูดจา หยาบคาย ยโส โอหัง ก้าวร้าว
กับความหมายที่สองเป็นคำนาม หมายถึงชื่อเรียกด้วยคำสุภาพของผักตบชวา ว่า "ผักสามหาว"
เรื่องผักตบชวาขอข้ามไปเพราะไม่น่าสนใจอะไร...เรามาสนใจตรงความหมายแรกกันดีกว่า...
..
2
2
ผมว่าพวกเราแทบทุกคนทราบดีว่ากิริยา วาจาสามหาวคืออะไร แต่น้อยคนนักจะทราบที่มา ที่ไปของมัน
...
เมื่อผมลองสืบค้นดู จึงได้รู้ว่า คำว่า"สามหาว"มีที่มาที่น่าสนใจหลายอย่าง หากให้เขียนย่อ ๆ ก่อนอธิบายต่อก็จะได้ว่า
"มันมาจากวรรณคดีอินเดียที่คนไทยนำไปฟีเจอริ่งกับหนังจีน..."
2
...
ข้อสันนิษฐานแรกซึ่งเป็นข้อที่คนส่วนใหญ่เข้าใจกัน ที่มาของคำว่าสามหาวมาจากกิริยาอาการอย่างหนึ่งอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของหนุมานทหารเอกพระรามจากวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์
จากวรรณคดีรามเกียรติ์ของไทย ที่มีต้นฉบับมาจากวรรณคดีเรื่องรามายณะของอินเดีย ได้บ่งบอกลักษณะอันเป็นเอกของหนุมานขุนศึกทัพวานร เอาไว้ว่า..
"อันหนุมาน ทหารเอก นอกจากจะมีฤทธิ์มากเพราะถูกสร้างมาจากอาวุธของพระอิศวรแล้ว
สิ่งที่มีจำเพาะแต่หนุมานก็คือกุณฑล ขนเพชร เขี้ยวแก้วและฤทธิ์ที่กล่าวว่าหาวเป็นดาว เป็นเดือนได้"
ในทัพลิงแห่งพระรามมีขุนพลลิงที่ต่างมีฤทธิ์หลายตัว การจะแยกแยะว่าตัวไหนคือหนุมาน
ท่านว่าให้ดูว่า..
"ใครที่หาวเป็นดาว เป็นเดือนได้
นั่นไซร้ ใช่หนุมานเป็นแน่แท้"
2
ด้วยเอกลักษณ์การหาวของหนุมาน บวกกับความซุกซน
ชอบแสดงกิริยาอวดฤิทธิ์เดชของหนุมาน จึงทำให้ คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าการหาวของหนุมานคือที่มาของคำว่า"สามหาว"
1
หากตรวจสอบในบทพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ของรัชกาลที่ 1 จะพบว่าหนุมานหาวทั้งหมด 5 ครั้ง ไม่ใช่ 3 ครั้ง
1
ดังนั้นถ้ากิริยาการหาวของหนุมานเป็นความหมายดังว่า เราก็ควรใช้คำว่า "ห้าหาว"แทน"สามหาว"มิใช่หรือ?😌
2
มิได้ครับ มิได้
1
เมื่อศึกษาลงไปอย่างละเอียดในรามเกียรติ์ ยังมีอีกตอนที่น่าจะเป็นที่มาของสามหาวมากกว่าคือ....
ตอนหนุมานถวายแหวนพระนารทฤาษี
เรื่องราวในตอนหนุมานถวายแหวนกล่าวถึง เมื่อหนุมานจะเหาะไปกรุงลงกาเพื่อสืบข่าวนางสีดาให้พระราม แต่หนุมานเองก็ไม่เคยไป เลยไม่รู้ว่าตรงไหนคือเขาอันเป็นที่ตั้งกรุงลงกาแห่งท้าวทศกัณฑ์
เหาะไป เหาะมา หนุมานคงเมาฝุ่นควัน เลยลงผิดที่ มาลงตรงเขาโสฬส อาศรมพระนารถฤาษีพอดีเป๊ะเลย
เมื่อทราบว่าตนเหาะลงผิดที่ แทนที่จะรีบไปต่อ ด้วยนิสัยลิงใหญ่ใจชอบสนุก จึงคิดลองวิชากับพระฤาษี จึงแปลงกายเป็นลิงเล็กเพื่อขอพักแรมที่อาศรมสักหนึ่งคืน
พระนารถฤาษีก็มีเมตตาให้เจ้าลิงตัวเล็กพักได้ตามสบาย
ตามประสาหนุมาน ที่ชอบลองฤทธิ์ นอนไม่นอนเปล่า ดันแปลงกายให้ตัวใหญ่คับอาศรม แล้วทำเป็นหาวนอนเยาะเย้ยพระฤาษี
2
พระฤาษีก็ไม่ว่า เจ้าลิงขยายตัวได้ ท่านก็เสกให้อาศรมขยายใหญ่ได้
1
พอหนุมานเห็นดังนั้น ก็แสดงฤทธิ์ขยายกายให้ใหญ่ขึ้นไปอีก
พระฤาษีเสกอาศรมให้ใหญ่เท่าใด หนุมานก็เสกกายขยายตามจนเต็มทุกครั้ง จนพระฤาษีดูเห็นทีเจ้าลิงนี่ไม่รู้จักที่ต่ำ ที่สูง คิดจะลองดีกับเรา
1
พระนารทฤาษีจึงเพ่งกษิณบันดาลให้ฝนตกลงมาจนหนุมานตัวเปียก หนาวสั่นไปหมด หนุมานจึงสำนึกตัวยอมกลับคืนร่างจริง แล้วเข้ามาขอขมาพระนารถฤาษี
1
นักวิชาการด้านวรรณกรรมมองว่า รามเกียรติ์ตอนนี้น่าจะเป็นที่มาของกิริยาอาการสามหาวของหนุมานมากกว่า
..
ยังไม่หมด ยังมีข้อสันนิษฐานที่มาของคำว่าสามหาวที่ต่างออกไปอีกหนึ่งแหล่งคือ ..
อักขราภิธานศัพท์ของหมอบลัดเลย์ มิชชันนารีชาวอเมริกันในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้ระบุคำ ๆ หนึ่งที่อาจจะเป็นต้นทางของคำว่าสามหาวคือคำว่า.."สัมหาว"
1
คำว่า สัมหาว เป็นคำประสมระหว่างคำว่า สัม กับคำว่า หาว
คำว่า สัม เป็นภาษาพูด ซึ่งคนไทยบางท้องถิ่นจะหมายถึง การร่วมเพศ ถือเป็นคำที่ส่อไปในทางหยาบคาย สัปดน
ส่วนคำว่า หาว แปลว่าที่โล่งแจ้ง
1
ดังนั้นเมื่อนำมารวมกันสัมหาวจึงแปลได้ว่า การกระทำอันน่าอับอายในที่โล่งแจ้งหรือต่อหน้าผู้คนจำนวนมาก
คาดว่า เมื่อคำว่า สัมหาว ถูกใช้นานวันเข้า จึงเกิดการเพี้ยนเสียงจากสัมเป็นสาม ทำให้คำว่าสัมหาวเลยกลายเป็นสามหาวในที่สุด
..
อ้างอิง
https://siamrath.co.th/n/57004
http://www.st.ac.th/bhatips/tip49/ram_history.html
https://dict.longdo.com/mobile/?search=*%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%9A%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%B2*
https://www.ch3thailand.com/news/series/13783
ภาพจากfreepik.com
unsplash.com
ติดตามอ่านบทความได้ที่
https://www.blockdit.com/n.sp
7 บันทึก
54
47
18
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ชื่อนี้มีที่มา
7
54
47
18
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย