“Reverse Culture Shock” is the term used to described the feelings (of surprise, disorientation, confusion, etc.) experienced when people return to their home country and find they do not fit in as they used to. ถ้าเอาภาษาไทยตามคำนิยามขอกระทรวงการต่างประเทศ คืออาการที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่เราใช้เวลาอยู่ในวัฒนธรรมที่แตกต่างเป็นเวลานาน ทำให้เกิดความคุ้นชิน จนกลายเป็นปัญหาเมื่อต้องกลับมาอยู่ในวัฒนธรรมเดิม ซึ่งจะส่งผลต่ออารมณ์และกิจวัตรประจำวันที่เคยเป็น … เอาง่ายๆคือ “อาการช็อก เครียด วิตกกังวลเพราะรู้สึกแปลกแยกหรือไม่คุ้นเคยกับวัฒนธรรม สถานที่ หรือผู้คนในประเทศตัวเองหลังจากไปใช้ชีวิตในต่างแดนมาเป็นระยะเวลานาน”
เรื่อง ‘ระยะห่างระหว่างบุคคล (personal space or comfort zone)’ ก็ต้องปรับตัวด้วยเหมือนกัน ทุกวัฒนธรรมก็จะมีระยะห่างระหว่างบุคคลที่ไม่เท่ากัน comfort zone คือ พื้นที่หรือระยะห่างที่แต่ละคนจะรู้สึกสบายใจหรือไม่รู้สึกอึดอัด เป็นระยะที่ไม่ต้องการให้คนอื่นเข้ามาในพื้นที่นั้นๆ แต่ละวัฒนธรรมก็จะไม่เท่ากัน
1
My 'personal' space or comfort zone
พอกลับมาที่ประเทศไทยรู้สึกตัวว่าต้องคอยเขยิบตัวออกจากคนอื่นตลอดเวลา คนไทยจะมีความน่ารักและชอบเข้ามาใกล้ชิดคนอื่นมากๆหรือเข้ามาสัมผัสตัว ยิ่งถ้าเป็นเพื่อนๆกันนี่ก็จะคล้องแขน คล้องไหล่ จับมือเดินกัน เรื่องจับมือนี่ต้องบอกว่าเขินมากและรู้สึกกระอักกระอ่วนพอควรเลยทีเดียว ก็ต้องปรับตัวกันไป แต่จนแล้วจนรอด นีน่ากลับมาหลายปีมากๆแล้ว แต่เรื่อง personal space นี่ก็ยังต้องขอความห่างมากกว่าปกติของคนไทยอยู่
Give me some space please ...
พอกลับมาที่ประเทศไทยรู้สึกตัวว่าต้องคอยเขยิบตัวออกจากคนอื่นตลอดเวลา คนไทยจะมีความน่ารักและชอบเข้ามาใกล้ชิดคนอื่นมากๆหรือเข้ามาสัมผัสตัว ยิ่งถ้าเป็นเพื่อนๆกันนี่ก็จะคล้องแขน คล้องไหล่ จับมือเดินกัน เรื่องจับมือนี่ต้องบอกว่าเขินมากและรู้สึกกระอักกระอ่วนพอควรเลยทีเดียว ก็ต้องปรับตัวกันไป แต่จนแล้วจนรอด นีน่ากลับมาหลายปีมากๆแล้ว แต่เรื่อง personal space นี่ก็ยังต้องขอความห่างมากกว่าปกติของคนไทยอยู่