27 มี.ค. 2021 เวลา 11:35 • ไลฟ์สไตล์
ชีวิตในโรงเรียนประจำญี่ปุ่น ( ตอนที่ 2 )
: พิธีเข้ารับการศึกษา :
ในพิธีเข้ารับการศึกษานั้นจะถูกจัดขึ้นในช่วง ต้นเดือนเมษายนของทุกปีเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากคนญี่ปุ่นนั้นนับเดือนเมษาหรือเดือนที่ 4 เป็นเดือนที่เริ่มต้นปีใหม่ในธรรมเนียมญี่ปุ่น เพราะฉะนั้น ทั้งโรงเรียนและสถานที่ทำงานจะเริ่มรับคนใหม่ๆ ให้เข้าสู่ที่นั่นในช่วงต้นเดือนเมษาหรือปลายมีนาคมเป็นส่วนมาก
.
โดยโรงเรียนของผมนั้นส่วนใหญ่จะมักจัดพิธีเข้ารับการศึกษาให้นักเรียนใหม่ในช่วงวันเสาร์และอาทิตย์ที่ 2 ของสัปดาห์เนื่องจากนักเรียนที่มาเรียนเกือบครึ่งนึง ถึงส่วนใหญ่นั้นเดินทางมาจากจังหวัดอื่น ซึ่งต้องใช้เวลาในการเดินทางพอสมควร
ประกอบกับเพื่อให้ผู้ปกครองจะได้ไม่ต้องลาหรือหยุดงานให้เสียเวลา
.
2
ป้ายตอนรับหน้าโรงเรียน
.
ในส่วนของพิธีนั้น จะเริ่มโดยให้นักเรียนใหม่เข้านั่งประจำที่ตามห้องเรียนของตนเอง โดยประเทศญี่ปุ่นนั้นขึ้นชื่อได้ว่าเป็นประเทศที่เคร่งเรื่อง " เวลา " เป็นอย่างมากทำให้โดยส่วนมากนั้นคนญี่ปุ่นก็จะนิยมมาก่อนเวลาจริงประมาณ 10-15 นาทีเป็นอย่างน้อย
.
หลังจากที่นักเรียนเข้าประจำที่นักเรียนเข้าประจำที่เรียบร้อยแล้วนั้น ก็จะเปิดให้ผู้ปกครองเข้ามาร่วมพิธีด้วย โดยจะนั่งในแถวด้านหลังต่อจากนักเรียน เพื่อมาเก็บภาพบรรยากาศและมารับฟังคำพูดของคณะผู้บริหารโรงเรียนนั่นเอง
2
ภาพบรรยากาศในวันพิธี
.
โดยผู้บริหารและคุณครูก็จะขึ้นมาพูดแนะนำตัวและให้โอวาทต่างๆคล้ายๆกับพิธีปัจฉิมในประเทศไทย และ ก่อนที่จะพูดจบนั้นทุกคนก็จะปิดท้ายด้วยคำว่า ฝากเนื้อฝากตัวด้วยครับ/ค่ะ ( โยโรชุกุโอเนไกชิมัส ) *คำนี้เป็นคำที่คนญี่ปุ่นจะใช้บ่อยมากๆพอๆกับ คำว่า ขอบคุณ ( อะริกาโตะ ) เลยทีเดียว
.
ต้องเกริ่นก่อนว่า ตัวผมนั้นเดินทางผมญี่ปุ่นโดยที่ความรู้ภาษาญี่ปุ่นเป็น 0 ( รู้แค่คำว่าอะริกาโตะคำเดียวเท่านั้น ) ทำให้ระหว่างที่คุณครูและผู้บริหารต่างๆพูดนั้นก็ได้แต่นั่ง
งงๆไปตลอด 2 ชั่วโมง ด้วยความที่คนต่างชาติและผู้ปกครองที่เข้ามาฟังนั้นเป็นคนญี่ปุ่น ทำให้แทบทั้งหมดจึงเป็นภาษาญี่ปุ่นล้วน นานๆทีจะมีหลุดภาษาอังกฤษมาบ้าง สำหรับตัวผมนั้นถือว่าเป็น 2 ชั่วโมงที่ทรมาณมากๆเลยทีเดียว
.
หลังจากที่ทุกคนแนะนำตัวกันครบแล้วนั้นก็จะเริ่มเข้าสู่ การแสดงโชว์ของชมรมต่างๆในโรงเรียนโดยจะมี ทั้งหมด 3 ชมรมที่มาแสดงคือ
- 1.ชมรมเขียนพู่กันญี่ปุ่น ( โชโดบุ ) ก็จะมาโชว์เขียน ตัวอักษรญี่ปุ่น ( ตัวคันจิ ) ด้วยผู้กันบนผ้าผืนใหญ่พร้อมกับเพลงประกอบ
ชมรมเขียนพู่กัน
- 2. ชมรมเต้น
ชมรมเต้น
-3. ชมรมดนตรี หรือ วงโยธวาทิต
โดยชมรมนี้เป็นชมรมที่จะมีคนต่างชาติเยอะที่สุดเพราะ จะมีนักเรียนทุนเครื่องดนตรีต่างๆมาอยู่เยอะ โดยชาติที่เยอะที่สุดนั้นคือ ประเทศมองโกเลีย ( ในโอกาศต่อไปจะมาแนะนำนักเรียนชาติต่างๆในโรงเรียนนะครับ )
ชมรมดนตรี
.
และปิดท้ายด้วย กองเชียร์กีฬาของโรงเรียน ( ในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า โอเอ็นดาน )
โดยเป็นการรวมตัวของ ชมรมเต้นและชมรมดนตรีโดยจะรับอาสาสมัคร มาเป็นผู้นำเชียร์ โดยโอเอ็นดานนี้ จะคอยไปเชียร์ ทีมเบสบอล และ ทีมรักบี้ ของโรงเรียน
* ถ้ามีโอกาศจะมาเล่นเรื่องของ การแข่งขันเบสบอลแห่งชาติ หรือที่เรียกว่า โคชิเอ็ง
เพราะตัวผมได้มีโอกาศไปเชียร์ทีมโรงเรียนที่สนามในตอน ม.5 (ชั้นปีที่ 2 ) *
กองเชียร์กีฬาประจำโรงเรียน หรือ โอเอ็งดาน
.
หลังจากจบสิ้นการแสดงทั้งหมดก็เป็นอันจบพิธี
หลังจากครูก็จะปล่อยให้นักเรียนได้พบปะผู้ปกครองเพื่อที่จะได้ถ่ายรูปโดยรูปและให้ผู้ปกครองร่วมแสดงความยินดี
. นับเป็นการเริ่มต้นสถานะนักเรียนญี่ปุ่นของผมอย่างเต็มตัว
 
ฝากติดตามเพจในเฟสบุ๊คด้วยนะครับ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา