28 มี.ค. 2021 เวลา 11:00 • หนังสือ
#รีวิวหนังสือ คิดใหญ่เริ่มให้เล็ก นวัตกรรมทางความคิด
รีวิวหนังสือ คิดใหญ่เริ่มให้เล็ก นวัตกรรมทางความคิด นวัตกรรมทางความคิดและแรงบันดาลใจอันยิ่งใหญ่ สู่การเริ่มต้นเล็ก ๆ ที่สร้างธุรกิจพลิกโลก
ผู้เขียน : กวีวุฒิ เต็มภูวภัทร
หนังสือ : 180.50 บาท
สำนักพิมพ์ : มติชน, สนพ.
หมวด : การบริหารธุรกิจ , จิตวิทยาการบริหาร , ความคิดและการคิด
รีวิวหนังสือ "คิดใหญ่ เริ่มให้เล็ก" เป็นหนังสือในชุด "ธุรกิจพอดีคำ" หนังสือแนวธุรกิจสร้างสรรค์ที่มอบแรงบันดาลใจ ด้วยเนื้อหาแน่น อ่านสนุก กระชับฉับไวสไตล์กวีวุฒิ และครบถ้วนทั้งด้วยลีลาภาษา เนื้อหา และอารมณ์ขันแบบยิ้มมุมปาก
 
"กวีวุฒิ เต็มภูวภัทร" กลับมาอีกครั้งผ่านการถ่ายทอดแรงบันดาลใจผ่านเรื่องราวของนวัตกรทั่วโลก ที่อ่านอร่อยเต็มคำกว่าเดิม ทั้งเรื่องแปลก เรื่องว้าว เรื่องปัง เรื่องแป้ก เรื่องล้มลุกคลุกคลาน และเรื่องประสบความสำเร็จ ย่อยทฤษฎี วิธีคิด และศัพท์แสงยาก ๆ ให้กลายเป็นตัวอย่างที่เห็นภาพชัด ตั้งแต่ Trigger Effect, Venture Capital, ความสำคัญของการออกแบบ UX, Service Design รวมถึงหลักการบริหารทั้งระดับบุคลากรและระดับองค์กร ที่ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอย่างที่คิด
 
เริ่มตั้งแต่ ลิสเตอรีน เวอร์จิ้น เทสลา อเมซอน แอปเปิ้ล กูเกิล ไมโครซอฟต์ ยันหน้ากากทุเรียนแห่ง The Mask Singer เรื่องราวต่างกัน สินค้าต่างกัน วัฒนธรรมองค์กรต่างกัน แต่จุดร่วมที่เหมือนกันคือ นวัตกรเหล่านี้ ต่าง "คิดใหญ่" และทำความคิดนั้นให้เป็นจริงได้โดยการ "เริ่มให้เล็ก"
 
สารบัญ
นวัฒกรรม กับ ความบังเอิญ
นวัตกรรม แห่งศตวรรษ ทั้งระบบปฏิบัติการ Windows น้ำยาบ้วนปาก ลิสเตอร์รีน หรือ ของเล่น ระดับโลกอย่าง เพลย์ โด ไม่ได้เกิดจากการวางแผนมาอย่างดี แต่เกิดจากการตัดสินใจลงมือทำด้วยความเชื่อ และ หูที่ฟังลูกค้าว่าเขาชอบหรือไม่ชอบผลิตภัณฑ์ พร้อมที่จะปรับเปลี่ยน ตามความต้องการที่แท้จริงของตลาด ในขณะนั้นๆ
 
ช็อกโกแลตไส้ทุเรียนก้านยาว
การที่คนเราได้พูดความเห็นของตัวเอง ให้ผู้อื่นฟัง สร้างความฟินให้เราได้ไม่ต่างจากการทานเค้กช็อกโกแลต ถ้าใครจับจุดนี้ได้ให้ผู้คนได้ออกความเห็น เหมือนเสนอ เค้กช็อกโกแลต ให้เขาได้ลิ้มลองก็จะสามารถสร้างกระแส ให้กับ ผลิตภัณฑ์หรือบริการของตัวเองได้ทันที
 
ออน ๆ ออฟ ๆ ไม่เหมือนใคร
ในขณะที่ทุกคนพุ่งไปที่ออนไลน์ Amazon กลับเพิ่มร้านออฟไลน์มากขึ้นไม่ว่าจะออนไลน์ หรือ ออฟไลน์ ถ้าทำให้ดีทั้ง 2 อย่าง อยู่ในทุกที่ ที่ลูกค้าต้องการ เมื่อลูกค้าต้องการ
วาฬน้อย
การออกแบบการบริการ (Service Design) ไม่ได้เริ่มจาก เทคโนโลยีดิจิตอลล้ำๆ อย่างที่หลายๆบริษัทกำลังทำอยู่ แต่เริ่มจาก “ความเข้าใจหัวอกลูกค้า” (Empathy)
 
กำแพง พระราชวัง ความมั่นคง
แม่ทัพที่ดีจะต้อง ดูภาพรวม เป็น เห็นจุดแข็ง ปิดจุดอ่อน สร้างเป้าหมายองค์รวมให้กับกองทัพได้ นายทหารที่ดีควรรู้ว่า ฟาดฟัน ศัตรูไปเพื่ออะไร พนักงานที่ดี ต้องรู้ เป้าหมายขององค์กร
 
สี่เหลี่ยม ที่ไม่เปลี่ยน
อิสระในการคิดงาน และทำงาน สูตรลับการสร้าง “นวัตกรรม” ของ “Google” คือ จ้าง”หัวกะทิ” แล้วให้ “อิสระ” แก่พวกเขา อิสรภาพทางความคิดนั้น พูดให้ดูดีง่าย แต่ทำให้เกิดจริงในองค์กรนั้นไม่ง่าย
 
ยุติธรรม จริงหรือ
การทำงานเป็นทีม ทุกคนช่วยงานกัน ผลตอบแทนก็ต้องเท่ากัน นี่สิยุติธรรม แต่กูเกิลบอกว่า แนวคิดแบบนี้ เป็นเรื่องเรื่อง “ไร้สาระ” มากๆหน้าที่ขององค์กร คือ ตอบแทนคนเหล่านี้ ตามสิ่งที่เขาทำให้องค์กร ความยุติธรรมที่แท้จริง คือ การให้ผลตอบแทนตามมูลค่าที่พนักงานแต่ละคนได้ทำให้องค์กรต่างหาก
 
ต้นไม้ หรือ ฟองน้ำ
สตาร์อัพจะเกิดได้ต้องมี นักลงทุน ที่เชื่อในตัวพวกเขา พนักงานในองค์กรจะพัฒนาอะไรใหม่ๆได้ ก็ต้องการ “ผู้บริหาร” ที่เชื่อในตัวพวกเขาเช่นกัน
 
บอกต่อกัน ปากต่อปาก
การพูดปากต่อปากนั้น ผ่านการกลั่นกรองมามากกว่าการดูโฆษณาทั่วๆไป ไม่ว่าสิ่งนั้นจะดีหรือไม่ดีก็มาจาก ประสบการณ์ ของผู้ใช้งานจริง ส่วนมากแล้วจะประสบผลสำเร็จในการ ปิดการขาย มากกว่าวิธีอื่นๆ
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/2PpgPYL

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา