[13] George Wada โปรดิวเซอร์ของ Attack on Titan ได้ให้ความเห็นไว้ว่า “Attack on Titan ไม่ได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมตะวันตก แต่เป็นมนุษยชาติและสังคมในแบบองค์รวมต่างหาก มันเป็นการมุ่งสนใจไปยังความรู้สึกภายในของปัจเจกแต่ละคน แทนที่จะเป็นเฉพาะแต่วัฒนธรรมตะวันตก” (ดู Interview: George Wada, Producer of Attack on Titan) ทั้งนี้ ด้วยความชัดเจนของสภาวะองค์รวมใน Attack on Titan ข้อเขียนชิ้นนี้จึงให้ความสำคัญกับความเป็นองค์รวมในปรัชญาของเฮเกล มากกว่าความเป็นตะวันตกของปรัชญาเฮเกล เพราะถึงที่สุดแล้วแนวคิดเรื่องการแบ่งตะวันตก/ตะวันออก ก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากตะวันตกด้วยเช่นกัน
[14] Talking Titan (780–849)
[15] Attack On Titans: Why Titans Eat Humans Explained
[24] คำถามในลักษณะนี้ เป็นสิ่งที่ได้รับการถกเถียงกันมาอย่างยาวนาน โดยมีตัวอย่างสำคัญ เช่น ความขัดแย้งระหว่าง Albert Camus และ Jean-Paul Sartre ที่ฝ่ายแรกเห็นว่าไม่ควรมีมนุษย์คนใดต้องเสียเลือดเนื้อให้กับการเปลี่ยนแปลง ผ่านงาน The Rebel (1951) ในขณะที่ฝ่ายหลังเห็นว่าในการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ หรือการปฏิวัติ ย่อมต้องมีการสูญเสียเลือดเนื้ออย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ (ดู How Camus and Sartre split up over the Question of How to be Free) หรือจะเป็นกรณีของ Eric Hobsbawm ที่เห็นว่าการสร้างสังคมคอมมิวนิสต์ หลีกเลี่ยงการสังเวยชีวิตของผู้คนไปไม่ได้ (ดู A Question of Faith และ The Late Show – Eric Hobsbawm – Age of Extremes (24 October 1994))
[25] ธเนศ วงศ์ยานนาวา. 2541. หน้า 49.
[26] Lefebvre, Henri. 2020. P. 53.
[27] ในแง่นี้จึงไม่แปลกที่ หลุยส์ อัลธุสแซร์ พยายามไล่ผีหรือ spirit ของเฮเกลออกจากทฤษฎีมาร์กซิสต์ เพราะระบบปรัชญาของเฮเกลทั้งระบบเป็นการวิ่งเข้าหาองค์รวม เป็นการรวบอำนาจและเสริมกำลังให้องค์กรทางการปกครองอย่างรัฐ เป็นต้น (ดู ธเนศ วงศ์ยานนาวา. 2541.) “‘ผีของมาร์กซ์’ และ ‘ผีในมาร์กซ์’ ข้อวิจารณ์ประวัติศาสตร์นิยมของพ็อพเพอร์และอัลธุสแซร์.” รัฐศาสตร์สาร 20 (2): หน้า 1-55. โดยอัลธุสแซร์ (วัยหนุ่ม) เห็นว่าการหันกลับมาให้ความสนใจเฮเกล เป็นผลมาจากความพยายามทำลายฐานทางปรัชญาของมาร์กซ์ (ดู Althusser, Louis. 2014. “The Return to Hegel: The Latest Word in Academic Revisionism (1950)” in The Spectre of Hegel: Early Writings. ed. by François Matheron; trans. by G. M. Goshgarian. London: Verso. P. 177-189.)