รวบรวมและเรียบเรียง 'ข่าวที่ไม่เป็นข่าว' จาก projectcensored.org ประจำปี 2022
บทสัมภาษณ์ชุด ‘นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ในการแสดงปาฐกถาพิเศษ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ครั้งที่ 18’ นี้ ประกอบด้วยการสนทนากับ ประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์, จิราภรณ์ อรุณากูร, เรณู ศรีสมิต, สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ และ สุภาวดี หาญเมธี เพื่อประกอบตัวตนและความคิดของ นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ จิตแพทย์และนักเขียน ในการแสดงปาฐกถาพิเศษ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ครั้งที่ 18 หัวข้อ ‘เลี้ยงลูกในโลกใหม่: พัฒนาการเด็ก ประชาธิปไตย และอนาคตใหม่ของทุกคน’ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เริ่มจัดแสดงปาฐกถาพิเศษ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มาตั้งแต่ปี 2530 โดยทุกๆ 2 ปี คณะฯ ได้คัดเลือกปาฐกจากผู้มีความรู้และมีผลงานดีเด่นเป็นที่ประจักษ์ เพื่อถ่ายทอดทัศนะ ประสบการณ์ ก่อนชี้ให้เห็นว่าเรากำลังยืนอยู่ตรงไหนในสถานการณ์ทางสังคมขณะนั้น กระทั่งที่สุด หากจุดที่สองขากำลังย่ำเท้าเป็นการเดินวนในปลักของปัญหา การจะออกจากหล่มตรงนั้นจะต้องยืนหลังตรงเพียงใด และด้วยวิธีคิดเช่นไร ไม่มากก็น้อย เราพบว่า หลังจบปาฐกถาในแต่ละครั้ง สังคมมักนำถ้อยคำความคิดของปาฐกไปถกเถียง แลกเปลี่ยน และเกิดบรรยากาศแห่งปัญญาอยู่เสมอ 9 มีนาคม 2565 เป็นปาฐกถาครั้งที่ 18 ซึ่งปีนี้ได้รับเกียรติจากนายแพทย์ ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ จิตแพทย์ที่มีผลงานมากกว่าขอบรั้วของโรงพยาบาล ผู้เป็นทั้งนักคิด นักเขียน และธงนำของสถาบันครอบครัวในปัจจุบันที่กำลังถูกสั่นคลอนเพียงเพราะว่าไม้เรียวและน้ำร้อนไม่อาจถูกนำมาอ้างว่าอาบมาก่อนเหมือนที่ผ่านมา มากกว่านั้น นายแพทย์ประเสริฐยังเฝ้ามองการลุกขึ้นส่งเสียงของคนรุ่นใหม่ และตั้งคำถามต่อสังคม ประชาธิปไตย ตลอดจนโครงสร้างปัญหาที่สาปให้ประเทศชาติย่ำอยู่กับที่ ใช่หรือไม่ว่าทางออกของวังวนปัญหาทุกวันนี้ไม่ควรต้องรอให้ generation ใดผลัดใบดับสูญสิ้นอายุขัย แต่สามารถเกิดขึ้นได้ด้วยการให้ผู้หลักผู้ใหญ่ลงจากเก้าอี้เป็นพอ เกริ่นเพียงเท่านี้ ส่วนที่เหลือนั้นพบกันวันที่ 9 มีนาคม 2565 กับการแสดงปาฐกถาพิเศษ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ครั้งที่ 18 เรื่อง “#เลี้ยงลูกในโลกใหม่: พัฒนาการเด็ก ประชาธิปไตย และอนาคตใหม่ของทุกคน” โดย นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ จิตแพทย์และนักเขียน รับชมถ่ายทอดสดออนไลน์จากห้อง ศ 101 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์) ผ่านทางแฟนเพจ EconTU Official และ way magazine
1 ในบทสัมภาษณ์ตอนแรกนี้ การพูดคุยถึงอดีตที่เคยก้าวมา เส้นทางปัจจุบันที่ก้าวอยู่ และอนาคตที่กำลังก้าวไป กระทั่งการสอบถามว่า ก้าวที่บอกว่ามุ่งไปข้างหน้านั้น เป็นก้าวเดียวกับผู้ที่ออกมาชุมนุมเรียกร้องหรือไม่ คือสิ่งที่เราคุยกับปิยบุตร ทั้งในฐานะเลขาธิการคณะก้าวหน้า ในฐานะอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคอนาคตใหม่ ตลอดจนในฐานะของหัวหน้าขบวนการล้มเจ้า (ตามที่คนจำนวนหนึ่งกล่าวหา) 2 ต่อจากบทสัมภาษณ์ชิ้นก่อนหน้า WAY ได้พูดคุยเกี่ยวกับคณะก้าวหน้าทั้งในแง่จุดยืนทางความคิด การเมืองในอุดมคติ และข้อเสนอต่อสาธารณะ นั่นทำให้บทสัมภาษณ์ (ภาคต่อ) ตอนที่ 2 นี้ เราคุยกับ ปิยบุตร แสงกนกกุล ไม่ใช่ในฐานะเลขาธิการคณะก้าวหน้า แต่คุยในฐานะคนธรรมดาที่มีอารมณ์ความรู้สึก เรื่องชีวิตส่วนตัว เราถามเขาว่า ใครบ้างที่เป็นฮีโร่ในชีวิตของเขา คนหนุ่มสาวที่เขาทำงานด้วยส่งผลต่อตัวเขาอย่างไร หรือกระทั่งเขามีความสัมพันธ์อย่างไรกับคนหนุ่มสาวที่กำลังเผชิญคดีการเมือง เรื่องปัญญาชน เราคุยกันตั้งแต่ อาแล็ง บาดียู (Alain Badiou) นักปรัชญาที่เขาชอบอ้างถึง ไปจนถึง อัลแบร์ กามูส์ (Albert Camus) นักเขียนเจ้าของผลงาน The Myth of Sisyphus หนังสือซึ่งเป็นที่มาของภาพโปรไฟล์ที่เขาใช้อยู่ตลอด เรายังคุยกันถึงเมื่อครั้งที่เขายังเป็นอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าอะไรทำให้เขามีแนวความคิดที่ ‘นอกขนบ’ ไปจากนักนิติศาสตร์คนอื่นๆ และพยายามหาจุดตัด (ที่เจ้าตัวก็ยังบอกแน่ชัดไม่ได้) ของการลาออกมาลงสนามการเมือง เราคุยกันไปถึงขั้นว่า ระหว่างทุนนิยมกับการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ อย่างไหนควรจัดการแก้ไขก่อน ไปจนถึงคำถามที่คนหนุ่มสาวยุคนี้สงสัยกันมากว่า “สถาบันกษัตริย์มีไว้ทำไม” และทำไมวันๆ ปิยบุตร แสงกนกกุล ถึงพูดแต่เรื่องการปฏิวัติ ข้างต้น…เป็นแค่บางส่วนของทั้งหมดที่เราคุยกัน
ชวนอ่านซีรีส์ Monachy in Motion ในความเคลื่อนไหวของ 'สถาบันกษัตริย์' ตลอดเดือนธันวาคมนี้จนถึงมกราคมปีหน้า ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของสถาบันกษัตริย์ยุคใหม่ทั่วโลก ความท้าทาย แรงเสียดทาน ข้อครหา และการรักษาภาพลักษณ์หรือความจำเป็นสำหรับการมีตัวตนอยู่ในโลกที่หันหน้าไปสู่ประชาธิปไตยที่เสรี See less
‘คุ้มค่า’ หรือ ‘ได้ไม่คุ้มเสีย’ 71,000 ล้านผันน้ำยวม ไทยอยากได้ จีนอยากช่วย คนที่ซวยไม่มีทางหนี https://waymagazine.org/the-yuam-river-water-diversion.../ 71,000 ล้านบาท คืองบประมาณที่กรมชลประทานได้กำหนดไว้ในแผนงาน โครงการผันน้ำยวมสู่เขื่อนภูมิพล 9 ปี คือระยะเวลาที่คาดการณ์ว่า โครงการนี้จะดำเนินงานเสร็จสิ้นพร้อมใช้ ยังไม่รวมถึงค่าบำรุงรักษาอีกปีละประมาณ 328 ล้านบาท และค่ากระแสไฟในการดำเนินโครงการที่ประเมินแล้วอยู่ที่ราว 2,443 ล้านบาทต่อปี (ยังไม่ทราบว่าใครคือผู้จ่าย) เพื่อให้ได้มาซึ่งน้ำส่งเพิ่มไปสู่เขื่อนภูมิพลปีละ 1,795 ล้านลูกบาศก์เมตร ขณะที่ความต้องการน้ำของทั้งลุ่มน้ำเจ้าพระยาอยู่ที่ประมาณ 18,579 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี นั่นเท่ากับว่า น้ำยวมที่ผันข้ามลุ่มมายังเขื่อนภูมิพลด้วยงบประมาณสูงลิบ ได้น้ำเพียง 9.6 เปอร์เซ็นต์ ของความต้องการที่ตั้งไว้ ตัวเลขอันน่ากังขานี้ เป็นเพียงหนึ่งในข้อถกเถียงที่เกิดขึ้นจากโครงการผันน้ำยวม อภิมหาโปรเจ็คต์ที่เกี่ยวพันกับงบประมาณแผ่นดินจำนวนมหาศาล และเกี่ยวข้องโดยตรงกับประชาชนผู้ใช้น้ำ ทั้งด้านการเกษตรและอุปโภคบริโภคในลุ่มน้ำเจ้าพระยาทั้งหมด มากกว่านั้น โครงการนี้ยังกระทบโดยตรงกับชาวบ้านที่ส่วนใหญ่คือกลุ่มชาติพันธุ์ผู้อาศัยในเขตพื้นที่โครงการ ยังไม่นับรวมถึงความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นกับทรัพยากรในแม่น้ำและสิ่งแวดล้อมจากการผันน้ำข้ามลุ่ม WAY นำบทสนทนาในหัวข้อ ‘ผันน้ำยวมสู่เขื่อนภูมิพล ประเทศได้หรือเสีย’ มาไล่เลียงถึงข้อถกเถียงและประมวลข้อมูลที่ประชาชนจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรับรู้ข้อมูลได้อย่างรอบด้าน “กมธ. ที่ศึกษาโครงการนี้ ได้ประสานไปทางบริษัทวิสาหกิจของรัฐบาลจีน ซึ่งทราบว่าเขาให้ความสนใจในเรื่องนี้อยู่ เพราะว่าประเทศจีนมีวิสาหกิจประมาณ 5 บริษัท ในการทำเขื่อนทั่วโลก โดยสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ทั้งในจีนและต่างประเทศ ดังนั้นงานนี้เหมือนเขารับงานโดยไม่เอากำไรมาก เพราะเครื่องไม้เครื่องมือมีพร้อมสำหรับทำโครงการใหญ่ๆ และอยากช่วยประเทศไทยด้วย” ประโยคข้างต้นเป็นของ วีระกร คำประกอบ ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการ กมธ. วิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางบริหารจัดการลุ่มน้ำทั้งระบบ สภาผู้แทนราษฎร ส่วนประโยคถัดจากนี้เป็นของ ผศ.ดร.สิตางศุ์ พิลัยหล้า อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ “ดิฉันพยายามชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นหรือไม่จำเป็นของการมีหรือไม่มีโครงการ สมมุติว่าอะไรก็แล้วแต่ ทำให้เราจะสร้างให้ได้ ซึ่งก็มีโมเดลว่าจีนจะมาร่วมทุนสร้าง หากว่าสร้างได้จริงๆ ดิฉันอยากถามว่า แล้วค่าไฟที่จะเกิดขึ้นจากการสูบน้ำของโครงการปีละประมาณ 2,443 ล้านบาทนั้น ซึ่งเมื่อคิดเป็นต้นทุนน้ำ มันจะตกอยู่ที่น้ำคิวละ 1.37 บาท ไปรวมกับต้นทุนการสร้างอีกเกือบ 1 บาท ต่อ 1 ลูกบาศก์เมตร รวมแล้วน้ำมีต้นทุน 2 บาทกว่า “วันนี้ประเทศชาติเรามีงบขนาดนั้นเหรอ เราไม่มีงบ เราถังเเตก เราถึงต้องไปขอให้คนอื่นมาช่วย กี่โครงการแล้วที่ไทยต้องให้จีนมาช่วย เราได้คำนึงถึงอธิปไตยของประเทศชาติบ้างหรือเปล่า” ส่วนประโยคสุดท้ายเป็นของชาวบ้านคนหนึ่งที่ร่วมวงสนทนา เป็นคนหนึ่งซึ่งไม่แน่ใจนักว่าถูกนับรวมว่ามีส่วนได้กับโครงการนี้หรือไม่ เพราะเท่าที่ฟัง ดูเหมือนเธอจะพูดส่วนที่ต้องเสียไปมากกว่า “ที่ผ่านมา คนในพื้นที่พยายามพูดถึงความกังวล ปัญหาที่กำลังจะเกิดขึ้นกับวิถีชีวิตของเขา บ้านกะเบอะดินนั้น คนในชุมชนยังไม่รู้เลยว่าจะมีอุโมงค์ผันน้ำไปเจาะที่ใต้หมู่บ้านของเขา ส่วนบ้านแม่งูดที่อยู่ปลายอุโมงค์ พี่น้องก็กังวล อีกทั้งพี่น้องตรงนี้คือกลุ่มที่เคยหนีผลกระทบจากเขื่อนภูมิพล คำถามคือ ท่านจะให้พวกเขาหนีอีกครั้งเหรอ “ดิฉันเชื่อว่าถ้า EIA ชอบธรรมจริงๆ เคารพสิทธิและเสียงของชาวบ้านจริงๆ EIA จะไม่มีทางผ่านค่ะ”