2 เม.ย. 2021 เวลา 12:00 • ไลฟ์สไตล์
ชีวิตในโรงเรียนประจำญี่ปุ่น ( ตอนที่ 4 )
: โรงเรียนญี่ปุ่น :
ด้วยความที่นักเรียนส่วนใหญ่เป็นเด็กหอ ทำให้การเดินทางไปโรงเรียนนั่นก็คือ การเดินนั้นเอง ด้วยความที่ตัวโรงเรียนและหอนั้นตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกัน โดยระยะทางจากหอพักไปยังโรงเรียนนั้น ประมาณ 100 เมตร ใช้เวลา 2-3 นาที เรียกได้ว่าใกล้มากๆ
.
โรงเรียนของผมนั้นจะมีการเรียนการสอน วันละ 6 คาบ หรือ 6ชั่วโมงต่อวัน คาบละ50นาที ( เรียนวันจันทร์ - ศุกร์ )
ซึ่งตารางประจำวันก็จะคล้ายๆกับประเทศไทยที่มีเคารพธงชาติตอนเช้า และมีโฮมรูมก่อนเข้าเรียน โดยตารางประจำวันของการไปโรงเรียนก็จะเป็นดังนี้
- 8 : 40 ต้องไปถึงห้องเรียนเพื่อเคารพธงชาติ ซึ่งก็แน่นอนตามสไตล์คนญี่ปุ่นคือต้องไปก่อนเวลานัดจริง นั่นแปลว่า 8โมง40 นั้นทุกคนต้องพร้อมประจำที่ในห้องแล้ว
- 8 : 40 เคารพธงชาติ ก่อนที่เสียงเพลงชาติจะดังขึ้นก็จะมีเสียงตามสายประกาศให้ทุกคนเตรียมตัวเคารพธงชาติ และ ให้นักเรียนทุกคนยืนขึ้นหันหน้าไปทางเสาธง จากนั้นเพลงชาติก็จะถูกเปิดไปตามลำโพงต่างๆของแต่ละห้อง
โดยใน 1 สัปดาห์จะมี 1-2ครั้งที่จะให้นักเรียนทุกชั้นปีมารวมกันที่หน้าเสาธงเพื่อเคารพธงชาติ และ ฟังอบรมจากผู้อำนวยการโรงเรียน
- 8 : 45 ครูประจำชั้นจะเข้ามาโฮมรูมและแจ้งข่าวสารต่างๆประจำวันหรือประจำสัปดาห์นั้น ใช้เวลา 5 - 15 นาทีแล้วแต่วัน
- 9 : 00 - 11 : 40 เริ่มเรียนคาบแรก ถึง คาบที่ สาม
แต่ละคาบจะใช่เวลาเรียน 50 นาที และ พักเบรค 10 นาที เพื่อให้นักเรียนไปเข้าห้องน้ำหรือย้ายห้องเรียน ( นักเรียน ม.4และม.6นั้นจะเรียนถึงคาบที่ 4 คือ 12.40จากนั้นถึงจะพักเพราะ ถ้าพักเที่ยงพร้อมกันหมดทั้ง 3 ปีจะทำให้โรงอาหารคนแน่นเกินนั้นเอง )
- 11 : 40 - 12 : 50 พักเที่ยง
นักเรียนทุกคนก็จะเดินจากโรงเรียนไปยังโรงอาหารซึ่งอยู่ให้หอพักชาย ระยะทางไม่เกิน100เมตรโดยไปประมาณ
- 12 : 50 - 15 :40 เริ่มเรียนคาบที่ 4 - 6
ซึ่งรูปแบบของตารางเวลาก็จะเหมือนกับตอนเช้า คือ เรียน 50นาที พัก 10 นาที
- 15.40 เลิกเรียน นักเรียนส่วนใหญ่ก็จะไปเข้าชมรมต่างๆหรือกลับหอพัก
.
.
ตัวผมนั้นนั่นช่วงแรกที่มา ญี่ปุ่นใหม่ๆ วิชาของนักเรียน ม.4(คนต่างชาติ)อย่างผมนั้น จะเป็นการวิชาภาษาญี่ปุ่น ตลอดทั้งวัน โดยวิชาที่ได้เข้าร่วมกับเพื่อนในห้อง นั้นจะมีแค่วิชาพละ เพราะโดยความที่คนส่วนใหญ่มานั้นยังไม่เคยเรียน ภาษาญี่ปุ่นมาก่อนหรือบางคนอาจจะเคยเรียนมาก่อนแต่ก็ยังไม่เพืยงพอที่จะสามารถไปเรียนร่วมกับคนญี่ปุ่น ได้ทำให้ในชั้น ม.4 นั้น เรียกได้ว่าเป็นการเรียน ม.ปลายเอกญี่ปุ่นเลยทีเดียว
.
ตารางการเรียนของผมนั้นหลังจากที่ไปเข้าแถวเคารพธงชาติร่วมกับเพื่อนในห้องเรียนแล้วนั้น ก็จะต้องเดินไปยังห้องเรียนภาษาญี่ปุ่น เพื่อเข้าเรียนในคาบแรก
และส่วนใหญ่ก็จะเรียนภาษาญี่ปุ่นตั้งแต่ คาบแรก - คาบสุดท้าย (ในช่วงแรกๆ)
.
ด้วยความที่ตัวผมนั้นไม่ได้ถนัดเรื่องภาษามาตั้งแต่แรกอยู่แล้ว เพราะก่อนที่จะเดินทางมานั้นได้เรียน ม.ปลายที่ไทยสายวิทย์-คณิตมาก่อน แถบยังมาญี่ปุ่นแบบความรู้เป็น 0 ( ไม่รู้แม้กระทั้งตัวอักษร ) ทำให้การเรียนในช่วงแรกๆของผมนั้นถือว่าลำบากมาเลยทีเดียว เนื่องจากตามคนอื่นในห้องเรียนไม่ทัน ทำให้มีความรู้ท้อมากๆนั่นช่วงแรกเพราะภาษาญี่ปุ่นนั้นยากมาก ๆ มันก็คือการ เอาตัวอักษรจีน ( คันจิ ) และ ไวยกรณ์ ภาษาเกาหลีมารวมกัน แถมยังมีตัวอักษรญี่ปุ่น อย่าง ฮิรางานะ เพิ่มเข้ามาอีก
ทำให้เด็กสายวิทย์ที่เน้นคำนวณมากกว่าท่องจำอย่างผม มึนงงไปหลายสัปดาห์
.
หนังสือภาษาญี่ปุ่นเริ่มแรกของผมนั้นก็คือ หนังสือ มินนะโนะนิฮงโกะ ซึ่งเป็นหนังสือปูพื้นฐานภาษาญี่ปุ่นที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก ( สายศิลป์ ภาษาญี่ปุ่นที่เมืองไทยก็ใช้หนังสือเล่มนี้ ) แต่หนังสือที่ผมได้รับมานั้นมันเป็นเวอร์ชั้น ภาษาญี่ปุ่นล้วน
ทำให้อ่านไม่รู้เรื่องตามเคย แต่ยังโชคดีที่รุ่นพี่คนไทยนั้นมีหนังสือเวอร์ชั้นภาษไทยและผมก็ได้รับอ่านทำให้เข้าใจมากขึ้นกว่าเดิม ( แต่ก็ยังงงอยู่ดี )
.
หน้าตาหนังสือครับ
.
กว่าตัวผมจะปรับตัว เริ่มจำตัวอักษร และพอจะเริ่มเรียนตามเพื่อนๆในห้องทันนั้นใช้เวลาประมาณเกือบๆ 6 เดือนเลยทีเดียว เรียกได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่เหนื่อยมากๆเลยทีเดียว แต่ด้านที่ผมพัฒนาได้เร็วที่สุดนั้นคือ ด้านการฟัง อาจจะเพราะด้วยสภาพแวดล้อมต่างและชมรมก็เป็นมีส่วนช่วยทำให้ผมเริ่มฟังรู้เรื่องมากขึ้น
.
ฝากติดตามเพจ facebook ( มาโตในญี่ปุ่นด้วยนะครับ ) ลิ้งค์อยู่ด้านล่าง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา