30 มี.ค. 2021 เวลา 11:05 • ประวัติศาสตร์
“ออสเตรเลีย (Australia)”
“ออสเตรเลีย (Australia)” คือประเทศที่หลายคนน่าจะเคยไป และประทับใจกับประเทศนี้
แต่ประเทศนี้มีประวัติความเป็นมาอย่างไร ลองมาหาคำตอบกันครับ
ย้อนกลับไปในสมัยศตวรรษที่ 15 ในยุโรป ผู้คนไม่รู้ว่าทางใต้นั้น มีอะไรซ่อนอยู่บ้าง
5
หากแต่หลายคนก็เชื่อว่าทางใต้ น่าจะมีดินแดน มี “ทวีป” ที่ถูกซ่อนอยู่ บางคนถึงกับทำแผนที่ จินตนาการว่าดินแดนทางใต้นั้นเป็นเช่นไร โดยเรียกดินแดนนี้ว่า “Terra Australis”
Terra Australis
แผ่นดินทางใต้นั้นมีอยู่จริง หากแต่เชื่อกันว่ามีคนค้นพบมานานแล้ว นั่นคือ “ชาวอะบอริจิน (Aboriginal People)” ซึ่งเชื่อว่าเป็นชนกลุ่มแรกๆ ที่ออกมาจากแอฟริกาเมื่อ 70,000 ปีก่อน ก่อนจะมายังเอเชีย เข้ามาในพื้นที่ซึ่งปัจจุบันคืออินโดนีเซีย และออกสำรวจเกาะต่างๆ ทางเรือ
เมื่อมาถึงนิวกินี ชาวอะบอริจินก็หาทางข้ามไปออสเตรเลีย ก่อนที่จะถูกน้ำท่วมเนื่องจากระดับน้ำทะเลสูงขึ้น
ภาพวาดบนผนังถ้ำในออสเตรเลีย แสดงให้เห็นถึงจิงโจ้ขนาดใหญ่ นก และสัตว์ต่างๆ ที่สูญพันธุ์ไปเมื่อกว่า 40,000 ปีก่อน เป็นหลักฐานว่าชาวอะบอริจินน่าจะมาทันเห็นสัตว์ที่ปัจจุบันสูญพันธุ์ไปแล้ว
วิถีชีวิตของชาวอะบอริจินในยุคแรก
ชาวอะบอริจินในออสเตรเลียได้ติดต่อกับโลกภายนอกครั้งแรก เมื่อนักสำรวจชาวดัทช์ที่ชื่อ “วิลเลม แจนส์ซูน (Willem Janszoon)” ได้เข้ามาสำรวจชายฝั่งทะเลแถบนี้ในปีค.ศ.1606 (พ.ศ.2149)
เมื่อชื่อเสียงของออสเตรเลียขจรขจายไปถึงยุโรป ก็ได้มีนักสำรวจจำนวนมากเดินทางมายังดินแดนแห่งนี้ แต่ก็ไม่มีใครกล้าบุกสำรวจเข้าไปไกลนัก จนกระทั่ง “เจมส์ คุก (James Cook)” นักสำรวจชาวอังกฤษ ได้ตัดสินใจว่าออสเตรเลียจะเป็นที่ๆ เหมาะในการตั้งอาณานิคม
1
วิลเลม แจนส์ซูน (Willem Janszoon)
เจมส์ คุก (James Cook)
ในเวลานั้น อังกฤษกำลังประสบปัญหาเรื่องจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น ทำให้เกิดปัญหาตามมามากมาย ทั้งความยากจน อาชญากรรมที่ระบาดไปทั่ว
ที่ผ่านมา อังกฤษจะขนนักโทษไปปล่อยยังอาณานิคมอเมริกาเหนือ แต่ในเวลานี้ อเมริกาเหนือก็ได้รับอิสรภาพแล้ว และไม่ต้อนรับนักโทษอังกฤษ
2
ออสเตรเลีย หรือที่ในเวลานั้นมีชื่อว่า “นิวเซาท์เวลส์ (New South Wales)” ดูจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด จึงมีการตั้งเป็นอาณานิคมในปีค.ศ.1788 (พ.ศ.2331) ใช้สำหรับนำนักโทษมาปล่อย
อังกฤษตั้งอาณานิคมในออสเตรเลียเมื่อปีค.ศ.1788 (พ.ศ.2331)
เรือกลุ่มแรกมาขึ้นท่าที่อ่าวโบทานี พร้อมด้วยนักโทษ 700 นาย หากแต่ก็พบว่าบริเวณนั้นไม่เหมาะสม จึงมีการย้ายไปยังท่าเรือแห่งใหม่ในบริเวณที่ปัจจุบันคือซิดนีย์
26 มกราคม ค.ศ.1788 (พ.ศ.2331) “อาเทอร์ ฟิลลิป (Arthur Phillip)” แห่งกองทัพเรืออังกฤษ ก็ได้ตั้งธงอังกฤษขึ้นในออสเตรเลีย และเริ่มพัฒนาเมือง
1
ช่วงปีแรกนั้นเป็นไปอย่างยากลำบาก ความหิวโหยกระจายไปทั่ว ชาวอาณานิคมต้องรอเสบียงจากอังกฤษ
อาเทอร์ ฟิลลิป (Arthur Phillip)
ไม่กี่ปีต่อมา อังกฤษก็ได้ส่งนักโทษมายังออสเตรเลียอีกนับพัน และชาวอะบอริจินซึ่งอยู่ในออสเตรเลียมานาน ก็เริ่มที่จะค่อยๆ สูญหาย เนื่องจากโรคระบาด เช่น ไข้ทรพิษ ซึ่งคร่าชีวิตชาวอะบอริจินไปเกินครึ่ง
นอกจากนั้น เมื่อชาวอังกฤษเข้ามาในออสเตรเลียมากขึ้น ทำให้ทรัพยากรเริ่มจะไม่เพียงพอ ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างชาวอะบอริจินซึ่งอยู่มานานแล้ว กับชาวยุโรปที่เพิ่งจะเข้ามา ทำให้เกิดสงครามในเวลาต่อมา
ในปีค.ศ.1793 (พ.ศ.2336) อาณานิคมอังกฤษในออสเตรเลียเริ่มแผ่ขยาย และในยุค 1850 (พ.ศ.2393-2402) คนอีกกว่า 500,000 คนก็ได้มายังออสเตรเลีย ภายหลังจากมีข่าวการพบทองคำ
ออสเตรเลียในยุค 1850 (พ.ศ.2393-2402)
การที่คนจำนวนมากเข้ามาในออสเตรเลีย ทำให้จำนวนประชากรเพิ่มขึ้นอย่างมาก ทำให้เศรษฐกิจเติบโต รวมทั้งการเพาะปลูกและอุตสาหกรรมก็เติบโตตามไปด้วย
1
อีกข้อก็คือ อังกฤษได้ยกเลิกการส่งนักโทษเข้ามาในออสเตรเลียตั้งแต่ค.ศ.1868 (พ.ศ.2411) เนื่องจากมีคนทั่วๆ ไปได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในออสเตรเลีย
ในปีค.ศ.1900 (พ.ศ.2443) แต่ละพื้นที่ในออสเตรเลีย ก็ได้ทำการโหวตให้จัดตั้งสมาพันธรัฐออสเตรเลีย และในวันที่ 1 มกราคม ปีถัดมา ออสเตรเลียก็ได้ปกครองตนเองอย่างสมบูรณ์แบบ หากแต่การเมืองและวัฒนธรรมของออสเตรเลียก็ยังคงผูกติดกับอังกฤษ อีกทั้งออสเตรเลียยังเข้าร่วมกับอังกฤษในสงครามโลกทั้งสองครั้ง
แต่เมื่อออสเตรเลียต้องผจญศัตรูสำคัญ อังกฤษก็ไม่ได้ให้การช่วยเหลือแต่อย่างใด
1
ศัตรูที่ว่าคือ “นกอีมู”
1
นกอีมู
ในปีค.ศ.1932 (พ.ศ.2475) จำนวนนกอีมูในออสเตรเลียเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สร้างความเสียหายให้ผลผลิตในไร่ของเกษตรกรจำนวนมาก
เหล่าเกษตรกรได้เรียกร้องให้ “จอร์จ เพียร์ซ (George Pearce)” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ช่วยเหลือ ช่วยกำจัดเจ้านกพวกนี้ ซึ่งเพียร์ซก็ตกลงที่จะช่วย
จอร์จ เพียร์ซ (George Pearce)
กองทหารปืนใหญ่ออสเตรเลียได้มุ่งหน้าสู่ชนบท พร้อมด้วยปืนกลเล็ก เตรียมพร้อมจะจัดการกับนกอีมูให้สิ้นซาก
หากแต่ภารกิจที่ดูไม่น่ายากเย็นอะไร กลับยากกว่าที่คาดไว้มาก
นกอีมูนั้นเคลื่อนไหวได้รวดเร็ว ปืนกลก็ไม่สามารถยิงได้ในระยะไกล และถึงแม้กองทหารจะดักซุ่มโจมตี แต่ภายหลังจากที่ยิงนกอีมูไปได้เพียง 12 ตัว ปืนก็เกิดปัญหา ยิงไม่ออก
สงครามนกอีมู (Emu War)
ท้ายที่สุด กองทัพก็ต้องเสียกระสุนปืนไปกว่า 10,000 นัด ในขณะที่ฆ่านกอีมูได้เพียง 1,000 ตัว และผู้ที่ชนะในสงครามนี้ก็คือนกอีมู
1
ชาวนาชาวไร่ได้ขอร้องให้กองทัพเข้ามาปราบปรามนกอีมูอีกครั้ง หากแต่กองทัพก็ปฏิเสธ ไม่ขอสู้กับนกพวกนี้อีกต่อไป
ในวันนี้ ออสเตรเลีย เป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นลำดับที่ 13 ของโลก และเป็นประเทศชั้นนำประเทศหนึ่ง
ในปีค.ศ.2020 (พ.ศ.2563) ออสเตรเลียต้องผจญกับวิกฤตไฟไหม้ป่าครั้งใหญ่ ทำให้มีคนเสียชีวิตเกือบ 500 คน สัตว์ป่าตายราวๆ 1,000 ล้านตัว
1
ไฟป่าในออสเตรเลีย (Bushfires in Australia)
เป็นอีกหนึ่งประเทศที่น่าจะอยู่ในใจใครหลายๆ คน
โฆษณา