30 มี.ค. 2021 เวลา 23:00 • ความคิดเห็น
ชนชั้นบนถนนเมืองกรุง
นโยบายส่วนใหญ่ด้านจราจรดูจะเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่รถยนต์เป็นหลัก คนขับรถยนต์ส่วนตัวยังได้รับเครดิตในสังคมมากกว่าผู้ใช้ระบบขนส่งรูปแบบอื่น
จักรยานยนต์ถูกให้ความสำคัญลดหลั่นลงมาจากรถยนต์ ต้องชิดซ้ายตลอดทั้งที่ถนนก็เหมือนกับสนามรถวิบาก ไหนจะฝาท่อที่บางจุดลึกจนโช๊คแทบแตก ขอบระหว่างเลนที่ไม่ราบเรียบทำให้รถล้มได้หากเปลี่ยนเลนไวเกินไป ไหนจะรถเมล์ รถตู้ รถแท็กซี่ ที่เข้าออกแบบไม่ค่อยส่งสัญญาณ ฉวัดเฉวียนยิ่งกว่าแมลงปอที่บินล้อฝน
เวลาตั้งด่านตรวจจักรยานยนต์ก็ดูจะโดนหาเรื่องมากที่สุด และผ่อนปรนน้อยที่สุด ขณะที่รถเก๋งหรูๆ ไม่ค่อยถูกเรียกให้เห็นเท่าไหร่ในชีวิต กลัวเจอตอหรือไงไม่ทราบ ? คนรวยก็ทำผิดกฎหมายได้นะครับ
หนักกว่าจักรยานยนต์ ก็จักรยานนี่แหละครับ!
ช่องทางเฉพาะที่ทำให้ (และมีน้อยมากอยู่แล้ว) ก็เจอรถจอดบ้าง รถอื่นมาวิ่งทับบ้าง
พอปั่นช้าก็ชอบทำเหมือนกดดันกัน ขับมาจี้ บีบแตรใส่ เหมือนหมั่นไส้รถเล็ก ๆ พวกนี้เสียเต็มประดา แต่ถ้าเร่งแซงออกจากเลนซ้าย บางทีก็ถูกหาว่าขับรถกินเลน ทำตัวเป็นอภิสิทธิ์ชน ทั้งที่ถ้าเร่งดี ๆ ทำความเร็วต้นได้สูงพอที่รถยนต์ในกทม.จะตามไม่ทันด้วยซ้ำ
ถ้ามองรถยนต์คือชนชั้นหนึ่ง
จักรยานยนต์ก็เป็นชนชั้นสอง
จักรยานเป็นชนชั้นสาม
รถเข็น/ซาเล็งเป็นชนชั้นสี่
แต่ในจักรยานเองก็ยังมีวัฒนธรรมการแบ่งชนชั้น มีจักรยานแม่บ้าน จักรยานรปภ. จักรยานจีน จักรยานญี่ปุ่น จักรยานยุโรป หรือแม้แต่มาจากที่เดียวกันก็ยังมีชนชั้นของแบรนด์อีก
นักเขียนคนนึงเคยกล่าวไว้ (ผมลืมชื่อไปแล้ว) ว่า "ถนนคือสังคมหนึ่งที่เห็นภาพชัดเจน ถ้าสังคมในถนนเป็นอย่างไร มันก็เป็นภาพสะท้อนของสังคมจริงตรงนั้น"
#share_the_road

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา