1 เม.ย. 2021 เวลา 02:09 • สุขภาพ
“ภาวะติดจอ” กับ “5 โรคฮิตทางโซเชียลมีเดีย” ที่คุณต้องรู้เท่าทัน
ลองเช็คดูว่าตรงกับอาการที่คุณเป็นไหม?
จริงอยู่ที่เรานั้นผูกพันกับหน้าจอมานาน ตั้งแต่ทีวีขาวดำเรื่อยมา แต่ว่าเราแทบจะไม่เคยได้ยินปัญหาติดจอโทรทัศน์หรือว่าคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะมาก่อนเลยใช่ไหมล่ะ นั่นก็เพราะหน้าจอดังกล่าวนั้นมีบทบาทแค่เป็นเครื่องมือทำงาน หรือให้ความบันเทิงกับเราแค่บางช่วงบางเวลาเท่านั้น
1
แต่ว่าในยุคสมัยแห่งเทคโนโลยีของข้อมูลแบบ “Big Data” อย่างในปัจจุบันนั้น “หน้าจอ” สมาร์ทโฟนได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเราอย่างมาก
สมาร์ทโฟนเข้ามามีบทบาทอย่างมากในปัจจุบัน
ผูกพันกับสมาร์ทโฟนทั้งวัน เริ่มตั้งแต่เป็นนาฬิกาปลุกในตอนเช้า แจ้งข้อมูลข่าวสาร บอกเส้นทางจราจร ทำธุรกรรมทางการเงินในระหว่างวัน ฯลฯ ไม่อ้อมค้อมถ้าจะบอกว่า แอพพลิเคชั่นหลากหลายที่ชื่นชอบในสมาร์ทโฟนนั้นพร้อมจะอยู่เคียงข้างคุณไปจวบจนเข้านอน
เชื่อว่าหลายคนนั้นเป็นดังรูปบ่อยครั้ง
หนึ่งในความชื่นชอบข้างต้นของสมาร์ทโฟน “แอพพลิเคชั่นโซเชียลมีเดีย” ดูจะมีบทบาทในชีวิตประจำวันของใครหลายคนมากโข “Facebook” “Twitter” ฯลฯ หรือแม้แต่ “Blockdit” ที่เรากำลังใช้อยู่ในตอนนี้ ถือเป็นช่องทางที่ทำให้เรารู้สึกมีส่วนร่วมในสังคม ทำให้เรารู้สึกมีคุณค่าเมื่อข้อความ หรือบทความของเราได้รับการส่งต่อหรือกดไลค์
แอพพลิเคชั่นโซเชียลมีเดียนั้นมีให้เลือกหลากหลาย
อัลกอริธึ่มของโซเชียลมีเดียจะส่ง “ข้อมูล” ที่ทำนายว่าเราน่าจะสนใจมาโผล่ใน “Newsfeed” เสมอ เพื่อให้เราได้เห็น และมีส่วนร่วม ซึ่งบริษัทผู้พัฒนาแพลตฟอร์มเหล่านี้ก็พยายามคิดค้นการทำให้คน “ติด” โซเชียลมีเดียเพิ่มมากขึ้นอยู่ตลอดเวลานั่นเอง
ซึ่งมันก็ได้ผลจริง ๆ นะครับ เมื่อดูจากการใช้งานโซเชียลมีเดียในปัจจุบัน จะเห็นได้ว่าการใช้โซเชียลมีเดียนั้นสูงเพิ่มมากขึ้นทุกปี และอัตราการใช้งานสมาร์ทโฟนก็เพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามตัวเช่นกัน
เรากำลังอยู่ในยุคสังคมออนไลน์ที่แทบทุกคนต้องมีสมาร์ทโฟน คุยกับเพื่อนผ่านเฟซบุ๊กหรือไลน์แทนการคุยโทรศัพท์ หรือตัวตนจริง ๆ สไลด์หน้าจอเพื่อรับข่าวสารรอบตัวแบบไม่ให้ตกยุค และพฤติกรรมแบบนี้แหละที่หอบเอาปัญหาสุขภาพจากความอินเทรนด์ที่ว่ามาถึงตัวแบบยกเซตโดยไม่รู้ตัว
 
เรามาดูกันครับว่า 5 โรคฮิตของคนโซเชียลมีเดียนั้นมีอะไรกันบ้าง
1. โรคซึมเศร้าจากเฟซบุ๊ก (Facebook Depression Syndrome)
ถึงกับหัวตกกันเลยทีเดียว
หลายคนอาจสงสัยว่า เล่นเฟซบุ๊กมีเพื่อนตั้งมากมาย แล้วจะเหงา เป็นโรคซึมเศร้าได้อย่างไร แต่อาการนี้เกิดขึ้นได้จริงนะครับ เพราะเมื่อเราติดอยู่แต่หน้าจอ คุยอยู่แต่กับคนในโลกออนไลน์ ก็กลายเป็นการเพิกเฉยต่อคนในโลกความจริงไป โดยปริยาย แถมหลายคนใช้เฟซบุ๊กเป็นเครื่องระบายความรู้สึกมากขึ้น ยิ่งว้าเหว่ เหงา เดียวดาย มากเท่าไหร่ก็จะยิ่งโพสต์มากขึ้นเท่านั้น
โดย ‘ธาม เชื้อสถาปนศิริ’ นักวิชาการสถาบันวิชาการสื่อสาธารณะ (สวส.) ได้เขียนบทความให้ความรู้เรื่อง “โรคซึมเศร้าจากเฟซบุ๊ก” ไว้อย่างน่าสนใจว่า ทางวารสารการแพทย์กุมารเวชศาสตร์ สหรัฐอเมริกา ได้ทำการศึกษาเรื่องนี้ และพบว่า คนที่ถูกเพื่อน ๆ ปฏิเสธหรือเป็นที่รังเกียจในโลกเฟซบุ๊ก จะเป็นอันตรายมากกว่าถูกปฏิเสธในโลกแห่งความจริง และหลายรายอาจเกิดปัญหาโรคซึมเศร้าตามมา
1
นั่นก็เพราะเฟซบุ๊กนั้นได้สร้างความเป็นจริงเทียม (artificial reality) ขึ้นมา จากการโพสต์แต่เรื่องดี ๆ เก็บงำเรื่องร้าย ๆ แย่ ๆ เอาไว้ เราจึงเห็นแต่คนที่มีชีวิตสมบูรณ์แบบในโลกเสมือนจริงเต็มไปหมด ซึ่งเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับตัวเอง ความรู้สึก "ไร้ค่า" จึงเกิดขึ้น
3
ถ้าคุณกำลังรู้สึกแย่ ขาดความมั่นใจสุด ๆ เวลาส่งคำร้องไปขอเป็นเพื่อนแล้วไม่ได้รับการตอบรับกลับมา แล้วเก็บมาคิดว่าทำไมทุกอย่างจึงไม่เป็นไปตามที่ต้องการ นั่นแหละสัญญาณการมาถึงของโรคซึมเศร้าจากเฟซบุ๊กล่ะ
2
2. ละเมอแชท (Sleep-Texting)
เมาขี้หูขี้ตา พิมพ์ตอบเฉย!!!
ถือเป็นโรคใหม่ที่เกิดขึ้นจากการคลั่งไคล้การใช้สมาร์ทโฟนอย่างหนัก ซึ่งถือได้ว่าไม่ธรรมดาเลยทีเดียว เพราะเจ้าโรคที่ว่านี้มันสามารถตามไปหลอกหลอนคุณได้ แม้ว่าจะเข้านอนไปแล้วก็ตาม สาเหตุก็มาจากพฤติกรรมติดสมาร์ทโฟนเกินกว่าเหตุนั่นเอง กล่าวคือเมื่อสมองยึดติดกับโทรศัพท์อยู่ทุกขณะจิตแม้กระทั่งเวลานอน หากมีเสียงข้อความเข้ามา ร่างกาย และระบบประสาทจะตอบสนองด้วยการหยิบมือถือขึ้นมา แล้วพิมพ์ข้อความตอบกลับไปทันที ซึ่งผู้ใช้จะอยู่ในสภาวะกึ่งหลับกึ่งตื่น เป็นเหตุให้เมื่อตื่นขึ้นมาแล้ว จะจำอะไรไม่ได้เลย ซึ่งแน่นอนว่าข้อความที่พิมพ์ไปโดยไม่รู้ตัวนั้น ไม่สามารถจับใจความได้ พฤติกรรมแบบนี้นอกจากจะเสี่ยงต่อความเข้าใจผิดต่อบุคคลที่ได้ส่งข้อความไปหาแล้ว ปัญหาสำคัญที่ตามมาก็คือ ร่างกายจะอ่อนแอจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ อาจทำให้เกิดโรคอ้วน ภาวะซึมเศร้า ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเรียนหรือว่า การทำงานโดยตรงได้เลยนะ
3
3. โรควุ้นในตาเสื่อม
อื้อหื้อ อุปกรณ์ไอทีเต็มเลย!!!
ในทุกวันนี้ตามปกติเราก็ใช้งานดวงตากันหนักอยู่แล้ว และถ้าต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการเพ่งข้อความในจอสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ก็ยิ่งทำให้ดวงตาของเราก็ทำงานหนักเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวได้เลย ซึ่งถ้าปล่อยไปนาน ๆ อาการมองเห็นเงาดำ ๆ เป็นเส้น เป็นวง หงิกงอ คล้ายหยากไย่ ลอยไปลอยมา ก็อาจจะมาเยี่ยม ได้ ซึ่งถ้าเจอแบบนี้ต้องรีบไปหาหมอแล้วล่ะ เพราะว่านี่คือสัญญาณของ "โรควุ้นในตาเสื่อม” นั่นเอง
จะบอกว่าจริง ๆ แล้วโรคนี้มักจะพบในผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่นะครับ เพราะใช้งานดวงตามานานจนเสื่อมโทรมไปตามวัย แต่ที่น่าตกใจก็คือในปัจจุบันนั้น พบว่าคนอายุน้อย ๆ ป่วยเป็นโรคนี้เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งสาเหตุหลักก็มาจากการแชททั้งวัน จ้องจอทั้งคืน เล่นเกม ใช้คอมพิวเตอร์ติดต่อกันนาน ๆ นี่เอง พอรู้สึกปวดตาก็คิดว่าคงไม่เป็นอะไรมาก ซึ่งพอมารู้ตัวอีกทีก็เป็นโรคดังกล่าวแล้วนั่นเอง
1
4. โนโมโฟเบีย (Nomophobia)
แบบนี้ถ้ำกระบอกก็ไม่น่าเอาอยู่!!!
ง่าย ๆ เลยนี่คือโรคหวาดกลัวการไม่มีมือถือใช้ในการติดต่อสื่อสารครับ “Nomophobia” นั้นมาจากคำว่า "no-mobile-phone phobia" ซึ่งนี่จัดเป็นโรคทางจิตเวชประเภทหนึ่ง ในกลุ่มวิตกกังวล
คิดดูว่าถ้าเราอยู่ในที่ที่ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ ไม่มีสัญญาณอินเทอร์เน็ต หรือจู่ ๆ แบตเตอรี่โทรศัพท์ดันหมด แล้วเรารู้สึกหงุดหงิด กระวนกระวาย แสดงว่าอาการโนโมโฟเบียมาเยือนแล้วล่ะ ในบางคนที่เป็นมาก ๆ อาจมีอาการเครียด ตัวสั่น เหงื่อออก คลื่นไส้กันได้เลยนะทำเป็นเล่นไป ซึ่งอาการจะหนักเบาขนาดไหนนั้นแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล
อาการที่เห็นได้ชัดเจนก็เช่น หยิบสมาร์ทโฟนขึ้นมาเช็คอยู่ตลอดเวลา ติดการส่งข้อความ และการโพสต์ข้อความผ่านสังคมออนไลน์ในรูปแบบต่าง ๆ ว่างเป็นไม่ได้ ต้องสร้างสเตตัส เช็กอิน โพสต์รูป ฯลฯ
1
ตื่นนอนปุ๊บเช็กมือถือปั๊บ ห่างจากมือถือไม่ได้ หรือใช้เวลาพูดคุยกับเพื่อนในโลกออนไลน์มากกว่าเพื่อนที่อยู่ตรงหน้า ก็ยิ่งชัดเจน ที่สำคัญก็ไม่เคยปิดมือถือเพราะกลัวพลาดการอัพเดทเรื่องราวต่าง ๆ นั่นเอง
จากการสำรวจในปัจจุบันพบว่าทั่วทั้งโลกนั้นมีคนเป็นโรคนี้กันเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะผู้หญิงนั้นจะเป็นมากกว่าผู้ชาย
5. สมาร์ทโฟนเฟซ (Smartphone face)
1
เล่นมากหน้าโย้ยแล้วจะหาว่าไม่เตือน
เป็นโรคที่เกิดจากการก้มลงมอง และจ้องไปที่สมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตมากจนเกินไป เหตุนี้เองจึงทำให้เกิดการยืดของเส้นใยอิลาสติกบนใบหน้า ทำให้แก้มบริเวณกรามเกิดการย้อยลงมา ส่วนกล้ามเนื้อบริเวณมุมปากจะตกไปทางคาง ที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะการนั่งก้มหน้ามองสมาร์ทโฟนเป็นเวลานาน จึงทำให้เกิดการเกร็งกล้ามเนื้อบริเวณคอ และเพิ่มแรงกดบริเวณแก้ม ทำให้เกิดอาการดังกล่าวขึ้นมา ในบางรายใบหน้าอาจดูผิดแปลกไปจากเดิมได้เลย
2
วิธีแก้ไขการติดโซเชียลมีเดียที่คุณสามารถทำได้
1. ขั้นแรกคุณต้องยอมรับก่อนว่าตัวเองนั้นติดการใช้โซเชียลมีเดีย ถ้ารู้ตัวว่าต้องคอยเข้าแอพพลิเคชั่นพวกนี้ในทุกวัน อย่างน้อยวันละ 6 ชั่วโมง รู้ตัวไว้เถอะว่าคุณน่ะติดโซเชียลมีเดียเข้าแล้วล่ะ
ตื่นมาก็ควานหาละ อย่างติดแน่นอน!!!
2. จำกัดเวลาเล่น โดยจะเล่นวันละกี่ชั่วโมงก็ว่ากันไป จากนั้นค่อย ๆ ลดลงมาเรื่อย ๆ ตามความเหมาะสม เพียงเท่านี้ก็จะไม่ติดอยู่กับหน้าจอมือถือทั้งวันอย่างเมื่อก่อนแล้วล่ะ
ไม่เล่นบ้างก็ได้นะ
3. หางานอดิเรกใหม่ ๆ ทำ เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจของตัวเอง เช่น ออกกำลังกาย ทำสวน อ่านหนังสือ ฯลฯ บางทีคุณอาจจะเพลินจนลืมท่องโซเชียลมีเดียไปเลยก็ได้นะ
ออกกำลังกายบ้างนะ จะได้หุ่นเป๊ะ!!!
4. อย่าจดจ่อมากนัก จะเห็นได้ว่า โซเชียลมีเดียเปรียบเสมือนกับดาบสองคม หากคุณไม่จำกัดการเล่นให้เหมาะสม หรือหมกมุ่นกับมันมากเกินไป คุณก็จะทุกข์ใจมากกว่ามีความสุข นอกจากจะจำกัดการเล่นแล้ว ก็อย่าลืมหันมาสนใจคนในชีวิตจริงบ้างนะ
คุยกันตรง ๆ ก็ได้มั้ง!!!
5. ก่อนนอน ควรปิดมือถือเสียบ้าง เพื่อที่คุณจะใช้เวลาในการพักผ่อนได้อย่างเต็มที่นั่นเอง และกรณีพบปัญหาทางสุขภาพให้รีบปรึกษาแพทย์ เพื่อเข้ารับการรักษาที่ถูกต้องต่อไป
ปิดมือถือบ้างนะ จะได้นอนหลับฝันดี
สุดท้ายนี้ไม่ว่าคุณจะคลั่งไคล้การใช้โซเชียลมากแค่ไหน คุณก็ต้องหันกลับมาใส่ใจสุขภาพของตัวเองควบคู่ไปด้วย อย่าลืมว่าเทคโนโลยีเหล่านี้ล้วนมีทั้งข้อดี และข้อเสีย ดังนั้นแล้วการอยู่กับมันอย่างพอดีจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ สำหรับใครบางคนการปรับพฤติกรรมให้ใช้งานโซเชียลน้อยลงอาจจะเป็นเรื่องยาก แต่ถ้าค่อย ๆ ปรับ ค่อย ๆ เปลี่ยนไปทีละนิด เชื่อว่าสามารถใช้ชีวิตอย่างสมดุลได้อย่างแน่นอน
ทั้งนี้ยืนยันว่าบทความของผมไม่ใช่คำตอบ หรือบทสรุปที่ดีที่สุด ทุกคนควรใช้วิจารณญาณส่วนตัวในการรับข้อมูลนะครับ
1
ขอบคุณทุกการตอบรับ ไม่ว่าจะเป็นการติดตาม ไลค์ คอมเมนท์ หรือว่าแชร์ ทุกกำลังใจสำคัญสำหรับผมเสมอ
ขอบคุณครับ
แล้วพบกันใหม่ในโพสต์หน้า
สวัสดีครับ
ขอบคุณที่มา
โฆษณา